นวัตกรรมสังคมเพื่อส่งเสริมโลกที่สวยงาม



ความหมายของนวัตกรรมสังคม 

        นวัตกรรมสังคมคือการแก้ปัญหาสังคมที่มีความแปลกใหม่ให้เกิดผลดี,มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน หรือให้ดีกว่าการแก้ปัญหาในสถานการณ์ปัจจุบัน   คุณค่านี้ส่งเสริมเพิ่มพูนให้กับสังคมเป็นพื้นฐานมากกว่าให้ปัจเจกชนส่วนบุคคลเท่านั้น

ตัวอย่างนวัตกรรมสังคมที่ผ่านมา

        โรงเรียนภายใต้การบริจาคหรือ (charter schools)  มักเป็นกองทุนในระดับโรงเรียนประถมหรือมัธยมศึกษาที่ดำเนินงานโดยปลอดจากกฎระเบียบแบบที่นำไปใช้กับโรงเรียนรัฐบาล  ผู้บริหาร,ครูและครอบครัวมีโอกาสในการพัฒนาการสอนในเชิงนวัตกรรมได้

กิจการการค้าโรงงานที่ปล่อยก๊าซในเรือนกระจก

        แผนควบคุมมลพิษที่ใช้เพื่อตอบแทนเชิงเศรษฐกิจนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซในเรือนกระจก  ฝาครอบกำหนดให้มีการลดปัญหาการปล่อยก๊าซในเรือนกระจก และอนุญาติให้เป็นประเด็นปัญหาที่มีการร่วมแก้ปัญหาในเชิงธุรกิจ   ธุรกิจที่มีก๊าซเรือนกระจกสูงสามารถซื้อเครดิตจากธุรกิจที่มีการลดปัญหาก๊าซในเรือนกระจก  ตอลดเวลา ทำให้ลดการใช้อุปกรณ์ครอบได้

การค้าเสรี (Fair Trade)

       การเคลื่อนไหวที่มีการรวมตัวในการกำหนดมาตรฐานการค้าได้ดี เช่นกาแฟ,ช๊อคโคแลท,น้ำาล, และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ    โดยให้รับประกันกับผู้ค้าว่ามีการจ่ายค่าตอบแทนผู้ผลิตในค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ และตอบสนองต่อมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและสังคม  ขบวนการเคลื่อนไหวการค้าที่เป็นธรรมเป็นการปรับปรุงการดำรงชีพของชาวนา และส่งเสริมความยั่งยืนในสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมสังคมแตกต่างจากภาวะประกอบการสังคมและวิสาหกิจเพื่อสังคมอย่างไรบ้าง?

      แม้ว่าภาวะผู้กอบการเพื่อสังคมและวิสาหกิจเพื่อสังคมได้รับการแพร่หลายในการระดมทัศนะต่าง ๆเพื่อความพยายามปรับปรุงโลก, การเปลี่ยนแปลงสังคมที่สามารถเกิดขึ้นจากภายนอก    ความเปลี่ยนแปลงทั้งสองประการเหล่านี้มีสิ่งที่เป็นลักษณะเชิงบวก  แต่ทั้งสองยังไม่เพียงพอในการสร้างควาามเข้าใจและการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้  โดยข้อเท็จจริงแล้ว  นวัตกรรมสังคมเป็นพาหะที่ดีกว่า     นวัตกรรมสังคมเป็นการมุ่งเน้นใส่ใจในความคิดและแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับคุณค่าทางสังคม เช่นเดียวกับกระบวนการที่ผ่านความคิดและการแก้ปัญหาที่มีเกิดขึ้น  ไม่เพียงแต่เป็นตัวบุคคลและองค์การเท่านั้น

ตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคม 

      สังเกตได้จากวิธีการปฏิสนธิข้ามภาคภายใต้กลไกสำคัญสามอย่างที่ขับเขื่นนวัตกรรมสังคมร่วมสมัยดังนี้

      - การแลกเปลี่ยนความคิดและค่านิยม

      - การพัฒนาบทบาทและความสัมพันธ์ที่ยกระดับขึ้น

      - การบูรนาการทุนส่วนบุคคลกับแรงสนับสนุนจากการบริจาคและจากภาคสาธารณะ

       สิ่งสำคัญสูงสุด คือปัญหาที่สำคัญและยุ่งยากมากที่สุดไม่สามารถทำความเข้าใจได้ การปลอ่ยให้แก้ปัญหากันเองโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน,ภาคสาธารณะ และองค์การที่ไม่แสวงหากำไร

สรุป  การส่งเสริมนวัตกรรมสังคมต้องมาจากนโยบายภาครัฐเป็นผู้ส่งเสริม และกำกับเพื่อเป็นการแสดงถึงประเทศที่ให้ความสำคัญของนวัตกรรมสังคมที่เชื่อมโยงต่อสิ่งแวดล้อมโลก และความถูกต้องเป็นธรรมให้กับสังคมอันเป็นตัวอย่างที่ดี และสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุน,ผู้บริจาคทั่วโลก และภาพพจน์ที่ดีงามแก่นานาชาติ

 

แปลและเรียบเรียงจาก James A. Phills, Kriss Deiglmeier, Dale T. Miller จากวารสาร



Stanford Social Innovation Review.2008, Vol. 6, Issue 4


      

 








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ