ทิศทางการปฏิรูประบบสหกรณ์ไทย โดย ศจ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ทิศทางการปฏิรูประบบสหกรณ์ไทย โดย ศจ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ที่ผ่านมาบทบาทของสหกรณ์ลดน้อยถอยลง แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี พ.ศ.2540 ได้กำหนดให้รัฐบาลให้การส่งเสริมระบบสหกรณ์ แต่รัฐบาลที่ผ่านมาไม่ใคร่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบสหกรณ์มากนัก
การที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้รัฐบาลส่งเสริมระบบสหกรณ์เช่นเดียวกัน จึงไม่ได้เป็นหลักประกันว่า ระบบสหกรณ์จะได้รับความสนใจจากฝ่ายรัฐบาล ดังนั้นระบบสหกรณ์จึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัวและพัฒนาตนเองให้สามารถแข่งขันกับภาคธุรกิจอื่น ๆ ได้ โดยผมขอเสนอแนวทางปฏิรูประบบสหกรณ์ดังนี้
ทำให้สหกรณ์เป็นกระแสหลักของการพัฒนาประเทศ
โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งและอำนาจต่อรองของกระบวนการสหกรณ์ รวมทั้งสร้างเครือข่ายกับนักการเมือง ข้าราชการ นักวิชาการ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน สื่อสารมวลชน และองค์กรต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนอุดมการณ์และการดำเนินงานของสหกรณ์ รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนเพื่อทำให้สมาชิกสหกรณ์ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการจูงใจให้ประชาชนเข้าเป็นสมาชิกของสหกรณ์
ตลอดจนผลักดันและพัฒนาให้กระบวนการสหกรณ์มีบทบาทและฐานะทั้งในเชิงกฎหมายและการยอมรับจากสังคมเทียบเท่ากับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นช่องทางในการเสนอแนะนโยบายและมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบาย และการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ รวมทั้งพัฒนาบทบาทในการเสนอความเห็นต่อสาธารณะในประเด็นเชิงนโยบายที่มีผลกระทบต่อกระบวนการสหกรณ์
พัฒนากิจการสหกรณ์ให้มีความทันสมัย
นำระบบและเครื่องมือในการบริหารธุรกิจมาประยุกต์ใช้ในสหกรณ์เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันกับภาคธุรกิจ พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินการ ใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน แสวงหาหรือจ้างผู้มีประสบการณ์ในการเป็นผู้บริหารธุรกิจมาให้คำปรึกษา
สหกรณ์ออมทรัพย์หลายแห่งอาจร่วมมือกันเพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินของชุมชนในชนบท เป็นทางเลือกของบริการทางการเงินในชุมชนเมืองพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและระบบการชำระเงินเพื่ออำนวยความสะดวกในการออมเงิน การขอสินเชื่อ การโอนเงิน การชำระค่าบริการ ตลอดจนการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ และสินทรัพย์ การเชื่อมต่อเครือข่ายการให้บริการ สมาชิกสามารถใช้บริการ (ออมเงิน ถอนเงิน และโอนเงิน) จากสหกรณ์อื่นที่ตนไม่ได้เป็นสมาชิกหรือสถาบันการเงินอื่น ๆ ได้
สร้างมาตรฐานด้านต่าง ๆ ของกระบวนการสหกรณ์ (ISO สหกรณ์)
การดำเนินงานที่ขาดมาตรฐานเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สหกรณ์หลายแห่งยังอ่อนแอและขาดความน่าเชื่อถือ การสร้างมาตรฐานของกระบวนการสหกรณ์ หรือ ISO สหกรณ์ เป็นมาตรการสำคัญในการช่วยพัฒนาสหกรณ์ในภาพรวม นอกจากนี้ระบบสหกรณ์ควรมีการพัฒนา cooperative governance หรือ good governance เพราะการรวมตัวกันของสมาชิกสหกรณ์ที่เข้มแข็ง ควรเกิดขึ้นจากพื้นฐานความร่วมมือและความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างสมาชิก
กระบวนการสหกรณ์ควรพัฒนามาตรฐานโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น การพัฒนาสหกรณ์ต้นแบบ การพัฒนาเป็นระบบแฟรนไชส์ของสหกรณ์ (โดยไม่แสวงหากำไร) การจัดทำดัชนีชี้วัดคุณภาพของสหกรณ์ด้านต่าง ๆ การจัดทำการตรวจสอบและประเมินคุณภาพสหกรณ์และจัดอันดับสหกรณ์ และสร้างเงื่อนไขในการจัดสรรงบประมาณและการให้รางวัล โดยพิจารณาจากดัชนีต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น
นอกจากนี้ สหกรณ์ทั้งระบบควรมีการพัฒนามาตรฐานการให้บริการให้เป็นระบบเดียวกันสามารถเชื่อมโยงบริการร่วมกันได้ง่าย การพัฒนาฐานข้อมูลรวมเกี่ยวกับการรับบริการของสมาชิกหรือเครดิตบูโรของระบบสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์สามารถตรวจสอบความเสี่ยงของสมาชิกแต่ละคนได้ (โดยเฉพาะครูที่กู้เงินจากสหกรณ์หลายแห่ง)รวมทั้งการพัฒนามาตรฐานการกำกับดูแลเพื่อให้สหกรณ์มีความมั่นคงและความน่าเชื่อถือ
สนับสนุนการพัฒนาสหกรณ์ตามจุดแข็งของแต่ละสหกรณ์
ในภาวะเศรษฐกิจที่สหกรณ์ต้องเผชิญการแข่งขันกับภาคธุรกิจและธุรกิจจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการแข่งขันกับธุรกิจการค้าสมัยใหม่ ธุรกิจบริการสินเชื่อที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank) สหกรณ์ไม่ควรแข่งขันแบบตรงไปตรงมากับธุรกิจเหล่านี้ เพราะสหกรณ์จะแข่งขันได้ยาก เนื่องจากสหกรณ์เปรียบเหมือนธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่สามารถต่อกรกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ อันเกิดจากมีเงินทุนน้อยกว่า ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้อยกว่า และขาดแคลนเทคโนโลยี
ฉะนั้น สหกรณ์ควรปรับกลยุทธ์การแข่งขันให้เหมาะสมกับสภาวะการแข่งขันและสภาพของสหกรณ์แต่ละแห่ง โดยสหกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้วจะได้รับการพัฒนาให้เป็นสหกรณ์แบบครบวงจร (universal cooperatives) ที่ทำธุรกิจหลากหลายประเภท ส่วนสหกรณ์อื่นที่มีขนาดเล็กควรมีการพัฒนาตามจุดแข็งของสหกรณ์แต่ละแห่ง (specialized cooperatives) และพยายามหาช่องว่างการตลาด (niche market) ที่แตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
สร้างนวัตกรรมของสหกรณ์
ในโลกที่กำลังพัฒนาไปสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ การดำเนินชีวิตและการแข่งขันทางธุรกิจต้องพึ่งพานวัตกรรมมากขึ้น เพราะประชาชนมีความสนใจและต้องการบริโภคข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนสินค้าและบริการที่มีองค์ประกอบของนวัตกรรมมากขึ้น ขณะที่องค์ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หากสหกรณ์ขาดการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม อาจทำให้ระบบสหกรณ์สูญหายไปในที่สุด
ดังนั้น กระบวนการสหกรณ์ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของสหกรณ์ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้หลักการสหกรณ์ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมอย่างครบวงจร และการประยุกต์ใช้หลักการสหกรณ์ในสถานประกอบการ สถานศึกษา รวมทั้งการสนับสนุนให้มีมหาวิทยาลัยสหกรณ์หรือสถาบันการศึกษาวิจัยด้านสหกรณ์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยให้สหกรณ์เป็นศูนย์กลาง เช่น วิศวกรรมสหกรณ์ บัญชีสหกรณ์บริหารธุรกิจสหกรณ์ การเงินสหกรณ์ เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ เป็นต้น
ยกระดับสหกรณ์ให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน
อุดมการณ์ของสหกรณ์ไม่ใช่เพียงการตลอบสนองความต้องการในเชิงเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รวมถึงการตอบสนองความต้องการในเชิงการเมืองและสังคมด้วย ดังนั้นการพัฒนาการทำงานของสหกรณ์ควรคำนึงถึงการบริการที่ครอบคลุมความต้องการด้านอื่น ๆ ของสมาชิกด้วย และบูรณาการการดำเนินงานของสหกรณ์ให้สามารถตอบสนองเป้าหมายทั้งในเชิง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยร่วมมือกับภาคธุรกิจและภาคสังคม
ตัวอย่างประการหนึ่งที่จะทำให้สหกรณ์สามารถแสดงบทบาทเป็นศูนย์กลางของชุมชนได้ คือ การพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นศูนย์ข้อมูลและเครือข่ายข้อมูลทางเศรษฐกิจ เพื่อแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลข่าวสารที่มีความสำคัญต่อการวางแผนและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสมาชิกสหกรณ์ และทำหน้าที่เป็นสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจแก่สมาชิก
การดำเนินการของสหกรณ์แต่ละแห่งควรมีการปรึกษาหารือและได้รับการสนับสนุนให้มีที่ปรึกษาในการวางยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงาน เช่น ควรได้รับการสนับสนุนจากใครในชุมชน ควรจัดตั้งสำนักงานสหกรณ์ที่จุดใดของชุมชน ควรดำเนินกิจกรรมอะไร ควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารออกไปในทิศทางใด เป็นต้นเพื่อผลักดันให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน ตลอดจนสนับสนุนด้านต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการตามแผนและยุทธศาสตร์นั้นจนสำเร็จ
เป็นกลไกจัดสรรสวัสดิการไปสู่แรงงานนอกระบบ
สมาชิกของสหกรณ์ส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่ทำงานอยู่นอกระบบ เช่น เกษตรกร คนขับรถแท็กซี่ พ่อค้าแม่ขายในชุมชน เป็นต้น ปัญหาของคนกลุ่มนี้ คือ การไม่สามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการของรัฐ โดยเฉพาะระบบประกันสังคม แต่จุดแข็งของสหกรณ์มีความใกล้ชิดกับสมาชิกสหกรณ์หลายแห่งมีกลไกจัดเก็บเงินออมและจัดสวัสดิการบางด้านแก่สมาชิกอยู่แล้ว
สหกรณ์จึงน่าจะเป็นตัวกลางที่เหมาะสมเชื่อมโยงระบบสวัสดิการสังคมมาสู่ประชาชนที่อยู่นอกระบบ กระบวนการสหกรณ์ควรมีการศึกษาร่วมกับภาครัฐ เพื่อออกแบบระบบสหกรณ์ให้เป็นช่องทางในการจัดสรรสวัสดิการสังคมไปสู่สมาชิก ประสานการทำงานกับระบบประกันสังคมและระบบสวัสดิการสังคมอื่น ๆ เพื่อทำให้สมาชิกที่เป็นแรงงานนอกระบบมีโอกาสเข้าถึงระบบสวัสดิการของรัฐได้มากขึ้น
สหกรณ์หลายแห่งยังสามารถร่วมกันพัฒนาระบบสวัสดิการให้แก่สมาชิกได้ การบริหารความเสี่ยงร่วมกันของสหกรณ์หลาย ๆ แห่ง ทำให้สหกรณ์แต่ละแห่งขยายบริการประกันความเสี่ยงต่าง ๆ ได้มากขึ้น อาทิ การประกันความเสียหายของผลผลิต ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เป็นต้น
การจัดตั้งธนาคารหรือกองทุนสหกรณ์ เพื่อเป็นกลไกในการรวบรวม ระดม จัดสรร และบริหารทรัพยากรทั้งจากภายในและภายนอกกระบวนการสหกรณ์ ทำให้มีทรัพยากรในการให้บริการและช่วยเหลือสมาชิกได้มากขึ้น
ดังนั้น ในสถานการณ์ที่สหกรณ์ต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นสหกรณ์จำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันโดยนำการบริหารสมัยใหม่มาใช้ นำเทคโนโลยีที่มีเหมาะสมมาประยุกต์ใช้กระบวนสหกรณ์ต้องได้รับการปฏิรูปทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงการพัฒนาบางด้าน ไม่ควรเป็นการรอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ควรเริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งภายในกระบวนการสหกรณ์ วางยุทธศาสตร์เพื่อกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมของสหกรณ์ในระบบเศรษฐกิจ แสวงหาความร่วมมือภายในและภายนอกกระบวนการสหกรณ์ นำบุคลากรที่มีวิสัยทัศน์และความสามารถในการบริหารจัดการ มาช่วยทำงาน ต้องการผู้นำที่มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการปฏิรูปสหกรณ์ และต้องการความร่วมมือของสมาชิกทุกคน
ที่ผ่านมาบทบาทของสหกรณ์ลดน้อยถอยลง แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี พ.ศ.2540 ได้กำหนดให้รัฐบาลให้การส่งเสริมระบบสหกรณ์ แต่รัฐบาลที่ผ่านมาไม่ใคร่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบสหกรณ์มากนัก
การที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้รัฐบาลส่งเสริมระบบสหกรณ์เช่นเดียวกัน จึงไม่ได้เป็นหลักประกันว่า ระบบสหกรณ์จะได้รับความสนใจจากฝ่ายรัฐบาล ดังนั้นระบบสหกรณ์จึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัวและพัฒนาตนเองให้สามารถแข่งขันกับภาคธุรกิจอื่น ๆ ได้ โดยผมขอเสนอแนวทางปฏิรูประบบสหกรณ์ดังนี้
ทำให้สหกรณ์เป็นกระแสหลักของการพัฒนาประเทศ
โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งและอำนาจต่อรองของกระบวนการสหกรณ์ รวมทั้งสร้างเครือข่ายกับนักการเมือง ข้าราชการ นักวิชาการ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน สื่อสารมวลชน และองค์กรต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนอุดมการณ์และการดำเนินงานของสหกรณ์ รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนเพื่อทำให้สมาชิกสหกรณ์ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการจูงใจให้ประชาชนเข้าเป็นสมาชิกของสหกรณ์
ตลอดจนผลักดันและพัฒนาให้กระบวนการสหกรณ์มีบทบาทและฐานะทั้งในเชิงกฎหมายและการยอมรับจากสังคมเทียบเท่ากับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นช่องทางในการเสนอแนะนโยบายและมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบาย และการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ รวมทั้งพัฒนาบทบาทในการเสนอความเห็นต่อสาธารณะในประเด็นเชิงนโยบายที่มีผลกระทบต่อกระบวนการสหกรณ์
พัฒนากิจการสหกรณ์ให้มีความทันสมัย
นำระบบและเครื่องมือในการบริหารธุรกิจมาประยุกต์ใช้ในสหกรณ์เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันกับภาคธุรกิจ พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินการ ใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน แสวงหาหรือจ้างผู้มีประสบการณ์ในการเป็นผู้บริหารธุรกิจมาให้คำปรึกษา
สหกรณ์ออมทรัพย์หลายแห่งอาจร่วมมือกันเพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินของชุมชนในชนบท เป็นทางเลือกของบริการทางการเงินในชุมชนเมืองพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและระบบการชำระเงินเพื่ออำนวยความสะดวกในการออมเงิน การขอสินเชื่อ การโอนเงิน การชำระค่าบริการ ตลอดจนการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ และสินทรัพย์ การเชื่อมต่อเครือข่ายการให้บริการ สมาชิกสามารถใช้บริการ (ออมเงิน ถอนเงิน และโอนเงิน) จากสหกรณ์อื่นที่ตนไม่ได้เป็นสมาชิกหรือสถาบันการเงินอื่น ๆ ได้
สร้างมาตรฐานด้านต่าง ๆ ของกระบวนการสหกรณ์ (ISO สหกรณ์)
การดำเนินงานที่ขาดมาตรฐานเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สหกรณ์หลายแห่งยังอ่อนแอและขาดความน่าเชื่อถือ การสร้างมาตรฐานของกระบวนการสหกรณ์ หรือ ISO สหกรณ์ เป็นมาตรการสำคัญในการช่วยพัฒนาสหกรณ์ในภาพรวม นอกจากนี้ระบบสหกรณ์ควรมีการพัฒนา cooperative governance หรือ good governance เพราะการรวมตัวกันของสมาชิกสหกรณ์ที่เข้มแข็ง ควรเกิดขึ้นจากพื้นฐานความร่วมมือและความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างสมาชิก
กระบวนการสหกรณ์ควรพัฒนามาตรฐานโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น การพัฒนาสหกรณ์ต้นแบบ การพัฒนาเป็นระบบแฟรนไชส์ของสหกรณ์ (โดยไม่แสวงหากำไร) การจัดทำดัชนีชี้วัดคุณภาพของสหกรณ์ด้านต่าง ๆ การจัดทำการตรวจสอบและประเมินคุณภาพสหกรณ์และจัดอันดับสหกรณ์ และสร้างเงื่อนไขในการจัดสรรงบประมาณและการให้รางวัล โดยพิจารณาจากดัชนีต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น
นอกจากนี้ สหกรณ์ทั้งระบบควรมีการพัฒนามาตรฐานการให้บริการให้เป็นระบบเดียวกันสามารถเชื่อมโยงบริการร่วมกันได้ง่าย การพัฒนาฐานข้อมูลรวมเกี่ยวกับการรับบริการของสมาชิกหรือเครดิตบูโรของระบบสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์สามารถตรวจสอบความเสี่ยงของสมาชิกแต่ละคนได้ (โดยเฉพาะครูที่กู้เงินจากสหกรณ์หลายแห่ง)รวมทั้งการพัฒนามาตรฐานการกำกับดูแลเพื่อให้สหกรณ์มีความมั่นคงและความน่าเชื่อถือ
สนับสนุนการพัฒนาสหกรณ์ตามจุดแข็งของแต่ละสหกรณ์
ในภาวะเศรษฐกิจที่สหกรณ์ต้องเผชิญการแข่งขันกับภาคธุรกิจและธุรกิจจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการแข่งขันกับธุรกิจการค้าสมัยใหม่ ธุรกิจบริการสินเชื่อที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank) สหกรณ์ไม่ควรแข่งขันแบบตรงไปตรงมากับธุรกิจเหล่านี้ เพราะสหกรณ์จะแข่งขันได้ยาก เนื่องจากสหกรณ์เปรียบเหมือนธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่สามารถต่อกรกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ อันเกิดจากมีเงินทุนน้อยกว่า ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้อยกว่า และขาดแคลนเทคโนโลยี
ฉะนั้น สหกรณ์ควรปรับกลยุทธ์การแข่งขันให้เหมาะสมกับสภาวะการแข่งขันและสภาพของสหกรณ์แต่ละแห่ง โดยสหกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้วจะได้รับการพัฒนาให้เป็นสหกรณ์แบบครบวงจร (universal cooperatives) ที่ทำธุรกิจหลากหลายประเภท ส่วนสหกรณ์อื่นที่มีขนาดเล็กควรมีการพัฒนาตามจุดแข็งของสหกรณ์แต่ละแห่ง (specialized cooperatives) และพยายามหาช่องว่างการตลาด (niche market) ที่แตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
สร้างนวัตกรรมของสหกรณ์
ในโลกที่กำลังพัฒนาไปสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ การดำเนินชีวิตและการแข่งขันทางธุรกิจต้องพึ่งพานวัตกรรมมากขึ้น เพราะประชาชนมีความสนใจและต้องการบริโภคข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนสินค้าและบริการที่มีองค์ประกอบของนวัตกรรมมากขึ้น ขณะที่องค์ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หากสหกรณ์ขาดการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม อาจทำให้ระบบสหกรณ์สูญหายไปในที่สุด
ดังนั้น กระบวนการสหกรณ์ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของสหกรณ์ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้หลักการสหกรณ์ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมอย่างครบวงจร และการประยุกต์ใช้หลักการสหกรณ์ในสถานประกอบการ สถานศึกษา รวมทั้งการสนับสนุนให้มีมหาวิทยาลัยสหกรณ์หรือสถาบันการศึกษาวิจัยด้านสหกรณ์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยให้สหกรณ์เป็นศูนย์กลาง เช่น วิศวกรรมสหกรณ์ บัญชีสหกรณ์บริหารธุรกิจสหกรณ์ การเงินสหกรณ์ เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ เป็นต้น
ยกระดับสหกรณ์ให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน
อุดมการณ์ของสหกรณ์ไม่ใช่เพียงการตลอบสนองความต้องการในเชิงเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รวมถึงการตอบสนองความต้องการในเชิงการเมืองและสังคมด้วย ดังนั้นการพัฒนาการทำงานของสหกรณ์ควรคำนึงถึงการบริการที่ครอบคลุมความต้องการด้านอื่น ๆ ของสมาชิกด้วย และบูรณาการการดำเนินงานของสหกรณ์ให้สามารถตอบสนองเป้าหมายทั้งในเชิง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยร่วมมือกับภาคธุรกิจและภาคสังคม
ตัวอย่างประการหนึ่งที่จะทำให้สหกรณ์สามารถแสดงบทบาทเป็นศูนย์กลางของชุมชนได้ คือ การพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นศูนย์ข้อมูลและเครือข่ายข้อมูลทางเศรษฐกิจ เพื่อแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลข่าวสารที่มีความสำคัญต่อการวางแผนและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสมาชิกสหกรณ์ และทำหน้าที่เป็นสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจแก่สมาชิก
การดำเนินการของสหกรณ์แต่ละแห่งควรมีการปรึกษาหารือและได้รับการสนับสนุนให้มีที่ปรึกษาในการวางยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงาน เช่น ควรได้รับการสนับสนุนจากใครในชุมชน ควรจัดตั้งสำนักงานสหกรณ์ที่จุดใดของชุมชน ควรดำเนินกิจกรรมอะไร ควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารออกไปในทิศทางใด เป็นต้นเพื่อผลักดันให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน ตลอดจนสนับสนุนด้านต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการตามแผนและยุทธศาสตร์นั้นจนสำเร็จ
เป็นกลไกจัดสรรสวัสดิการไปสู่แรงงานนอกระบบ
สมาชิกของสหกรณ์ส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่ทำงานอยู่นอกระบบ เช่น เกษตรกร คนขับรถแท็กซี่ พ่อค้าแม่ขายในชุมชน เป็นต้น ปัญหาของคนกลุ่มนี้ คือ การไม่สามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการของรัฐ โดยเฉพาะระบบประกันสังคม แต่จุดแข็งของสหกรณ์มีความใกล้ชิดกับสมาชิกสหกรณ์หลายแห่งมีกลไกจัดเก็บเงินออมและจัดสวัสดิการบางด้านแก่สมาชิกอยู่แล้ว
สหกรณ์จึงน่าจะเป็นตัวกลางที่เหมาะสมเชื่อมโยงระบบสวัสดิการสังคมมาสู่ประชาชนที่อยู่นอกระบบ กระบวนการสหกรณ์ควรมีการศึกษาร่วมกับภาครัฐ เพื่อออกแบบระบบสหกรณ์ให้เป็นช่องทางในการจัดสรรสวัสดิการสังคมไปสู่สมาชิก ประสานการทำงานกับระบบประกันสังคมและระบบสวัสดิการสังคมอื่น ๆ เพื่อทำให้สมาชิกที่เป็นแรงงานนอกระบบมีโอกาสเข้าถึงระบบสวัสดิการของรัฐได้มากขึ้น
สหกรณ์หลายแห่งยังสามารถร่วมกันพัฒนาระบบสวัสดิการให้แก่สมาชิกได้ การบริหารความเสี่ยงร่วมกันของสหกรณ์หลาย ๆ แห่ง ทำให้สหกรณ์แต่ละแห่งขยายบริการประกันความเสี่ยงต่าง ๆ ได้มากขึ้น อาทิ การประกันความเสียหายของผลผลิต ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เป็นต้น
การจัดตั้งธนาคารหรือกองทุนสหกรณ์ เพื่อเป็นกลไกในการรวบรวม ระดม จัดสรร และบริหารทรัพยากรทั้งจากภายในและภายนอกกระบวนการสหกรณ์ ทำให้มีทรัพยากรในการให้บริการและช่วยเหลือสมาชิกได้มากขึ้น
ดังนั้น ในสถานการณ์ที่สหกรณ์ต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นสหกรณ์จำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันโดยนำการบริหารสมัยใหม่มาใช้ นำเทคโนโลยีที่มีเหมาะสมมาประยุกต์ใช้กระบวนสหกรณ์ต้องได้รับการปฏิรูปทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงการพัฒนาบางด้าน ไม่ควรเป็นการรอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ควรเริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งภายในกระบวนการสหกรณ์ วางยุทธศาสตร์เพื่อกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมของสหกรณ์ในระบบเศรษฐกิจ แสวงหาความร่วมมือภายในและภายนอกกระบวนการสหกรณ์ นำบุคลากรที่มีวิสัยทัศน์และความสามารถในการบริหารจัดการ มาช่วยทำงาน ต้องการผู้นำที่มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการปฏิรูปสหกรณ์ และต้องการความร่วมมือของสมาชิกทุกคน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น