ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การวัดผลความสำเร็จของประเทศชาติตามทัศนะของ ไมเคิ้ล พอร์ตเตอร์ "จีดีพีมิใช่วิถีทางที่่ดีที่สุดในการวัดความสำเร็จของประเทศชาติ"



         


         เมื่อแปดสิบปีที่ผ่านมานานแล้ว   มาตรการวัดผลองค์รวมครั้งแรกของรายได้ประชาชาติของประเทศ ซึ่งต่อมาเรียกว่า "ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (Gross Domestic Product)" นำมาเผยแพร่ และพัฒนาขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อไซมอน คูซเน็ตซ์ในรายงานต่อกรรมาธิการสภาคองเกรสในการวัดผลงานกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระหว่างมีภาวะดีเปรสชั่น    จีดีพีจึงได้มีการนิยามว่าเป็นวการวัดผลความก้าวหน้าประชาติ   ความเติบโตของจีดีพีบอกเราว่าประเทศกำลังปรับปรุงไปอย่างไร? และจีดีพีต่อหัวได้เป็นมาตรการวัดผลที่เฉพาะเจาะจงของมาตรฐานการดำรงชีพ
         อย่างไรก็ตาม เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากที่มีมากขึ้นเริ่มตั้งคำถามว่าจีดีพีเป็นคำตอบที่เพียงพอต่อการวัดผลความสำเร็จของประเทศชาติได้จริงหรือ   ยิ่งกว่านั้นหลังจากวิกฤติการเงินในปี ค.ศ. 2008  นักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อโยเซฟ สติลิทซ์, อมาตยา เซ็น และยีน-พอล ฟิตุสซีได้เปิดเผยรายงานเอกสารเรื่อง "เครื่องมือวัดผลการดำรงชีวิตที่ผิดพลาด"  ซึ่งให้ทัศนะว่า "หากเรามีเครื่องมือวัดผลที่ผิดพลาด เราก็ยังคงดิ้นรนไปสู่ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง"
          คุสเน็ตส์ โดยความคิดของเขาเองทำให้เกิดความกระจ่างชัดว่าจีดีพีเป็นเพียงแว่นส่องที่จำกัดในการมองประเมินความก้าวหน้าจากผลงาน  "สวัสดิการแห่งรัฐ" ซึ่งเขาเขียนในปี ค.ศ.1934 เป็นสิ่งที่หายากในการอ้างถึงจากเครื่องมือวัดผลรายได้ประชาชาติ"    การดำรงชีพของพวกเราสะท้อนถึงทรัพย์สินในสังคม,สิ่งแวดล้อมและชุมชน ไม่เพียงแต่เป็นทรัพย์สินทางเศรษฐกิจเท่านั้น   ความสุขและการเติมเต็มยังคงเป็นปัจจัยอีกหลายอยาง  เช่นสุขภาพ,การเข้าถึงความรู้,ชุมชนที่มีจิตใจเอื้ออารี และโอกาสสำหรับความสำเร็จของบุคคล
          จีดีพีไม่ใช่สิ่งเลวร้าย   แต่มันเป็นเพียงการวัดในสิ่งที่วัด และสิ่งที่วัดยังอยู่ในวงแคบ  ความสับสนในสังคมที่เป็นผลมาจากอาหรับสปริงในความมั่งคั่งมากมาย  ประเทศอาหรับเป็นสัญญาลักขณ์ในการวัดผลเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวในการวัดผลควมสำเร็จทางสังคมที่ยังไม่เพียงพอ   ความไม่สงบและการประท้วงในบราซิล ประเทศที่มีการยอมรับว่ามีความเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้บอกเราในสิ่งนี้เช่นกัน 
           ข้อบกพร่องของจีดีพี และความจำเป็นต่อการแสวงหาเครื่องมือวัดที่ได้กว่าในการยอมรับอย่างกว้างขวาง   จากดัชนี้พัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติคือก้าวย่างสำคัญเกือบ 25 ปีที่ผ่านมา แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวชี้วัดที่จำกัด   ตัวชี้วัดหนึ่งก็คือจีดีพี และสิ่งที่มองไม่เห็นคือความยั่งยืนในสิ่งแวดล้อม   ดัชนีชี้วัดการพัฒนามนุษย์คือแนวทางที่ยังไม่สมบุรณ์ต่อสิ่งท้าทายทางสังคม และโอกาสของประเทศนั้นไม่ว่าคนรวย,คนจน และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น   ซึ่งเป็นสิ่งที่เผชิญหน้าในศตวรรษที่ 21 
            ความต้องการที่สำคัญนำไปสู่การพัฒนาของดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม  สิ่งที่พิเศษมากที่สุด และเป็นความพยายามที่มีความทะเยอทะยานนำไปสู่ความก้าวหน้าทางสังคมได้อย่างก้าวหน้า   ดังนีความก้าวหน้าของสังคมหมายถึงความก้าวหน้าของสังคมตามมิติกว้าง ๆ สามประการคือ ประเทศมีความสามารถในการทำให้พอใจกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ของประชาชนในประเทศหรือไม่? ประเทศมีสถาบันและสถานการณ์ในแนวทางที่อนุญาติให้พลเมืองและชุมชนปรับปรุงคุณภาพชีวิตได้หรือปล่าว?  และประเทศมีการเสนอสิ่งแวดล้อมที่พลเมืองแต่ละคนมีโอกาสเข้าถึงศักยภาพอย่างเต็มที่หรือปล่าว?
           เมื่อเราจินตนาการเกี่ยวกับผลงานของนักวิชาการ  ดัชนีความก้าวหน้าของสังคมใช้ข้อมูลที่หาได้อย่างดีที่สุดต่อการวัดผลงานของประเทศชาติในขอบเขตที่กว้างขวางสามประการ  การใช้ตัวชีว้ดที่วัดผลที่ได้มา เช่นความคาดหวังในชีวิต,การอ่านออกเขียนได้ และอิสรภาพในการเลือก มากกว่าการใส่ปัจจัยนำเข้าเช่นขนาดของการใช้จ่ายของรัฐบาล หรือการให้กฎหมายผ่านสภา   ปีนี้ ดัชนี้จะวัดผลความก้าวหน้าของสังคม 129 ประเทศที่แสดงถึงประชากรที่มีมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของโลก
            ดัชนีความก้าวหน้าทางสังคมมีจุดประสงค์เพื่อมองเห็นภาพกว้างที่สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และการกำหนดขอบเขตที่มีลำดับสำคัญในการปรับปรุง    สำหรับสหรัฐอเมริกา  แสดงให้เห็นสิ่งที่กำลังล้มเหลวของระบบการดูแลสุขภาพ  การขาดการดุแลเรื่องสิ่งแวดล้อม, การขาดความปลอดภัยส่วนบุคคล และการขาดการปฏิบัติงานที่มีความแจ่่มใสในพลเมืองทุก ๆคนในยุคดิจิตอล
            เป็นสาเหตที่เครื่องวัดดัชนีความก้าวหน้าทางสังคมวัดผลได้ทางสังคมมากเกินไป  โดยไม่รวมเอาตัวชี้วัดจากเศรษฐกิจ  เราจึงสามารถทดสอบเป็นครั้งแรกในความสัมพันธ์ระหว่างจีดีพีต่อหัว และความก้าวหน้าทางสังคม  ซึ่งเมื่อก่อน ข้อสันนิษฐานมีความสัมพันธ์กับการปรับปรุงความก้าวหน้าของสังคม แต่การเชื่อมโยงยังห่างไกลจากสิ่งที่เป็นอัตโนมัติ   สำหรับระดับของจีดีพีที่คล้ายคลึงกัน  ตัวอย่างเช่น   คอสตราริก้า จะมีความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าอัฟริกาตอนใต้ในแง่ความก้าวหน้าของสังคม
           จีดีจึงมีความต่้อเนื่องในการวัดผลอย่างสำคัญของความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันเราได้วัดผลความก้าวหน้าทางสังคมในวิถีทางที่คุสเน็ตส์และภาวะร่วมสมัยของเขาได้มีจินตนากรที่ว่างเปล่า ในขณะที่เราได้ฉลองความสำเร็จในวันนี้ในการวัดผลประเทศชาติมาอย่างยาวนานหลายปีแล้ว  เราสามารถที่ปรารถนาได้มากขึ้น  ความสามารถในการวัดความกินดีอยู่ดีของประเทศชาติมีการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาจนทุกวันนี้  และจะเป็นตัวเร่งความก้าวหน้าที่จะเกิดขึ้นตามมา
           สรุป ตัวแปรสำคัญในการวัดผลความสำเร็จของประเทศชาติมิใช่อยู่ที่ผลผลิตมวลรวมประชาชาติเท่านั้น แต่ยังมีตัวแปรอีกหลายตัว  โดยเฉพาะด้านจิตใจที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ได้ในสิ่งที่ปรารถนาสังคมให้การยอมรับ,การปรับปรุงคุณภาพชีวิต, สิ่งแวดล้อมที่ดี, ความมีน้ำใจของสังคม และความรับผิดชอบต่อสังคมไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน

จากศาสตราจารย์ไมเคิ้ล พอร์ตเตอร์ ที่สถาบันฮาร์วาร์ด และผู้อำนายการสถาบันเพื่อกลยุทธ์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ