การเปรียบเทียบกรอบแนวคิดของมาร์กซ์และรุสโซ่
การเปรียบเทียบกรอบแนวคิดของมาร์กซ์และรุสโซ่
จัง-จ๊าค รุสโซ่
และคารล์มาร์กซ์เคยแบ่งปันด้วยความไม่มั่นใจเกี่ยวกับแผนเสรีภาพที่เรียกร้องจากนักทฤษฎีทางการเมืองโดยจอห์น
ล๊อค และโทมาส ฮ็อบส์
จากความไม่แน่ใจเป็นผลมาจากแหล่งที่มาของความคิดที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
สำหรับรุสโซ่แล้ว ปัญหาก็คือเรื่องที่เกี่ยวข้องเฉพาะทางการเมือง
ปัญหาของปัจเจกชนแบบเสรีชนและยินยอมว่าส่วนประกอบของเจ้าของการกำหนดให้มีรัฐบาล ทางเลือกของแนวคิดรุสโซ่เน้นที่การมีส่วนรวมที่เป็น
“เจตน์จำนง” ข้อวิพากย์ของมาร์กซ์เป็นเรื่องที่ใช้ความรุนแรกมาก
โดยสรุประบบเศรษฐกิจเป็นปัญหาและเป็นการโค่นล้มระบบชนชั้นทางเศรษฐกิจที่รัฐประชาธิปไตยจะสามารถบรรุลความสำเร็จได้
การนำไปสู่เป้าหมายปลายทางแห่งตรรกะเช่นนั้นโดยที่รัฐที่แท้จริงจะสูญสลายไปเพราะว่าทำให้ลักษณะทางเศรษกิจและการเมืองล่มสลาย
สำหรับบทความนี้จะได้นำเสนอสิ่งที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง
สัญญาประชาคมของรุสโซ่
โทมาส
ฮ๊อบส์และจอห์น ล๊อคทั้งสองคนจุดความคิดในลักษณะที่คล้ายคลึงกันแต่ขัดแย้งกัน
ท้งในด้านสัญญาประชาชาคมและรูปแบบความคิด
สัญญาประชาคมของฮ๊อบส์ได้รับการถ่ายทอดว่ามีเหตุผลกลใดที่,มนุษย์ในฐานะที่เห็นแก่ตนเองยอมให้มีการยกเลิกรัฐแห่งสงครามเพื่อการปกป้องอธิปไตย ในหลักการที่มีชื่อเสียงของฮ๊อบส์
การดำรงชีวิตในรัฐโดยธรรมชาติเป็นลักษณะโดดเดี่ยว,น่ารังเกียจ,โหดเหี้ยมและมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน
ในอีกทำนองหนึ่งล๊อคได้สาธยายว่ารัฐโดยธรรมชาติมีความโดดเดี่ยวน้อยกว่า สำหรับแนวคิดของล๊อค
“กฎของธรรมชาติบังเกิดขึ้นเพื่อช่วยให้ยับยั้งพฤติกรรมของมนุษย์
แต่ล๊อคยังเชื่อว่าความสามารถของมนุษย์ในการค้าขายและการแลกเปลี่ยนของต่อของนำไปสู่การสร้างเงินทอง
ซึ่งครั้งหนึ่งเงินทอง และการได้เงินทองมาอย่างยากเย็นแสนเข็ญได้กลับเป็นคุณลักษณะที่แพร่หลายของสังคม,
รัฐบาลยังคงต้องการได้รับการส่งเสริมให้ปกป้องทรัพย์สินและผลประโยชน์ที่เป็นเงินทอง
ในแต่ละกรณีปัจเจกชนยินยอมยินยอมยกเลิกเสรีภาพให้กับรัฐโดยธรรมชาติเพื่อหันมาเชื่อฟังอธิปไตย
รุสโซ่เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่หลายประการที่ยังมองว่าเป็นความเดือดร้อนในลักษณะทัศนะของล๊อค
และฮ๊อบส์ซึ่งก่อรูปแนวคิดตั้งแต่แรก
รุสโซ่ได้เขียนว่าถึงทัศนะของฮ๊อบที่ว่าทำให้คนเราไม่มีอะไรมากกว่า”ฝูงสัตว์”
และที่ว่ามนุษย์ไม่ว่าใครก็ตามตั้งใจที่จะดำรงชีวิตภายใต้อธิปไตยของฮ๊อบส์ซึ่งเป็นเรื่องที่ประหลาดสิ้นดี
ในวาทกรรมเกี่ยวกับจุดกำเนิดของความไม่เท่าเทียมกัน
รุสโซ่ให้ทัศนะว่าฮ๊อบส์มีท่วงทีในการปฏิบัติให้เป็นไปตามที่สังคมต้องการให้เป็นไป ความชั่วร้ายของสังคมเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายในการให้เป็นไป
สัญญาประชาคมของล๊อคยังคงแสดงให้เห็นถึงปัญหาเพราะว่ามันกำหนดให้มีการปกป้องสิทธิในทรัพย์สินปัจเจกชนในศูนย์กลางของความต้องการสำหรับการมีรัฐบาล
ในสิ่งที่บางครั้งเรียกว่าเป็นเรื่องสับสนอย่างสำคัญมากที่สุดในทฤษฎีทางการเมือง รุสโซ่ให้ทัศนะในสัญญาประชาคมที่ว่า “มนุษย์เกิดมามีอิสระเสรี,
และทุกหนแห่งคนเรามีสายโซ่สัมพันธ์”
สำหรับเหตุผลของรุสโซ่ความสับสนคือวิธีการยอมรับโซ่สัมพันธ์กับรัฐบาลภายใต้รัฐโดยธรรมชาติของเสรีภาพ เค้าโครงความคิดของรุสโซ่คือการปรับปรุงการปฏิรูปรัฐบาลที่สามารถมองเห็นถึงความชอบธรรม
“จงนำพาคนเราในฐานะที่พวกเขาเป็นอยู่และเช่นเดียวกับกฎหมายที่เขาควรจะปฏิบัติตาม
คำตอบของรุสโซ่ต่อความสับสนก็คือเจตจำนงทั่วไป ซึ่งในจิตใจของเขายินยอมให้มนุษย์มีอิสรภาพมากที่สุดในขณะเดียวกับก็สงวนรักษาความคล้ายคลึงกับรัฐบาลหลายประการ
สิ่งเบื้องต้นของเจตจำนงทั่วไปตามทัศนะของรุสโซ่ดูประหนึ่งวาจะคล้ายคลึงกับทัศนะของฮ๊อบส์และสัญญาประชาคมของล๊อค ในสามกรณีทั้งหมด
มนุษย์ย่อมสูญเสียอิสรภาพและยินยอมให้มีการปกครองโดยรัฐ
รุสโซ่เน้นเฉพาะกลไกน้อยลงโดยที่ประชาชนละทิ้งรัฐโดยธรรมชาติ เพียงแต่พูดว่า “มนุษย์บรรลุถึงจุดหมาย” ในขณะที่รัฐไม่สามารถดำรงรักษาซึ่งเป็นรัฐโดยธรรมชาติอีกต่อไป
แต่มันเป็นความแตกต่างโดยพื้นฐานอันเนื่องจากการมีส่วนร่วมและการแสดงออกของชุมชนในบทบาทตามเจตจำนงทั่วไปตามทัศนะของรุสโซ่ ประการแรกปัจเจกชนยอมสูญเสียอิสรภาพตามที่รุสโซ่กล่าวไว้
เพื่อสิ่งที่ดีงามทั้งหลาย
ไม่เพียงเพื่อการปกป้องปัจเจกชน
มันเป็นความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลในการให้ตัวเขาเองทั้งหมด และด้วยการกระทำเช่นนี้ เป็นการให้ตนเองแก่สิ่งที่ไม่มีตัวตน ประการที่สองเจตจำนงทั่วไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการมีส่วนร่วมอย่างมหาศาลในสิ่งที่เป็นประโยชน์ของพลเมือง
กฎหมายบัญญัติขึ้นในสภาทั่วไปของผู้ที่อาศัยในท้องถิ่นซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับลงมติทั่วไปเกี่ยวกับวิธีการเคลื่อนไหวไปข้างหน้า
ดังนั้นกฎหมายถูกบังคับโดย”อนาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง” โดยไม่บัญญัติกฎหมาย
แต่บริหารกฎหมาย
ดังนั้นรุสโซ่จึงได้ป้องกันการต่อต้านการละเมิดซึ่งยังมีการแพร่หลายในระบบดังเช่นทัศนะของ
ฮ๊อบส์
แต่ยังคงปฏิบัติกับทุกคนอย่างเสมอภาคกัน โดยไม่มีบุคคลใดมีอิทธิพลมากกว่าคนอื่น
ๆ แนวคิดของรุสโซ่จึงเป็นทางเลือก
“ประชาธิปไตยทางสังคม”มากกว่าแนวคิดปัจเจกชนนิยมของล๊อคที่ปกป้องผลประโยชน์ของชนกลุ่มน้อยที่ครอบครองทรัพย์สิน
การเชื่อมโยงระหว่างความคิดของมาร์กซ์และรุสโซ่ไม่เป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้ง แต่ก็ไม่เป็นที่ปรากฏ สำหรับรุสโซ่ ด้วยเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ว่า
“เจตน์จำนงทั่วไป”มีการปรับปรุงในแนวคิดของรัฐบาลดังที่ได้กล่าวมาที่ว่ามันเป็นความพยายามที่จะยับยั้งผลกระทบของความมั่งคั่งและทรัพย์สินเอกชน
สำหรับทัศนะของฮ๊อบส์สงครามเป็นเพียงเหตุผลบางส่วนของธรรมชาติมนุษย์และการแสวงหาความสุข แต่รุสโซ่ยังเชื่อว่าสงครามและความวุ่นวายทางการเมือง
เป็นผลมาจากความขัดแย้งที่เหนือสิ่งต่าง ๆ
และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน
คำตอบของรุสโซ่ต่อปัญหาก็คือการตอบสนองทางการเมือง
ประชาธิปไตยโดยตรงและการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นไม่เพียงแต่เป็นแนวคิดทางเลือกแบบหัวรุนแรงของมาร์กซ์
ทางเลือกแนวคิดรุนแรงของมาร์กซ์
คาร์ล
มาร์กซ์ยอมรับปรัชญาทางการเมืองอย่างมาก
ไม่เพียงแต่มาร์กซ์กำหนดแนวคิดวัตถุนิยมเป็นศุนย์กลางของทฤษฎีของเขา
แต่เขายังคงมีบทบาทชนชั้นทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ของชนชั้นต่อประชาธิปไตย ผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของมาร์กซ์ก็คือคำประกาศคอมมูนิสต์
ได้บรรยายถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างชนชั้นเศรษฐกิจสองชนชั้นคือนายทุนกับกรรมาชีพ
นายทุนเป็นผู้ครอบครองทุนและกรรมาชีพเป็นบุคคลที่ได้ค่าจ้างแรงงาน
จะมีการดิ้นรนต่อสู้กับอีกชนชั้นหนึ่งจนกระทั่งมีการโค่นล้มนายทุนด้วยการปฏิวัติอันรุนแรง
คำประกาศของคอมมิวนิสต์เป็นแนวทางแบบพิมพ์เขียวสำหรับการปฏิวัติ
แต่ยังคงพรรณนาในรายละเอียดของทฤษฎีของมาร์กซ์ในการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์
และนำไปสู่การปฏิวัติ
สำหรับทัศนะของมาร์กซ์ ตลอดประวัติศาสตร์ก็คือ
“การต่อสู้ดิ้นรนทางชนชั้น” มาร์กซ์ให้ทัศนะจากยุคดั้งเดิมของประวัติศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากการขัดแย้งระหว่างชนชั้นทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีอัศวินชาวโรมันและทาส ขุนนางที่ดินและทาสติดที่ดิน และสำหรับทัศนะของมาร์กซ์ สังคมนายทุนใหม่
ในขณะที่ชนชั้นนายทุนได้มีการปรับปรุงจากสังคมขุนนางที่ดิน มาร์กซ์ยังมีคงเชื่อว่านายทุนได้นำ
“เงื่อนไขของการกดขี่แบบใหม่”มาใช้
ท่ามกลางรูปแบบใหม่
ๆ ดังกล่าวนี้
มาร์กซ์ให้ทัศนะว่านายทุนต้องไล่ล่าหาอาณานิคมของโลกทั้งหมดเพื่อแสวงหาตลาดใหม่ ตามทัศนะของมาร์กซ์ได้เชื่อมโยงว่า
“นายทุนต้องสร้างเครือข่ายทุกหนทุกแห่ง,
วางรากฐานทุกหนทุกแห่ง,สร้างการเชื่อมโยงในทุกแห่ง” ในการทำเช่นนั้น
นายทุนต้องสร้างพื้นฐานเพื่อการปฏิวัติที่จะบังเกิดขึ้น
โดยนายทุนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
แล้วจะกลายเป็นการขุดหลุมฝังตัวเอง
ยิ่งมีตลาดใหม่มากขึ้นเท่าใดที่มีการแสวงหาและนำสินค้าราคาถูกมาจำหน่าย
นายทุนก็จะส่งเสิรมให้มีการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพสำเร็จรูป
การมีความขัดแย้งระหว่างชนชั้นที่มีการต่อสู้คัดค้านเพื่อการปฏิวัติจะมีการส่งเสียงมากขึ้น
คำประกาศของมาร์กซ์ยังได้อธิบายถึงบทบาทรัฐบาล หรือรัฐ ในการแสดงบทบาทในเรื่องเศรษฐกิจ การกดขี่ของนายทุนที่แฝงเร้น
หรือถูกปกคลุมโดยสถาบันทางศาสนาและการเมือง
ยิ่งกว่านั้นการแข่งขันแบบเสรีของทุนนิยมได้รับแรงสนับสนุนและเข้าร่วมโดยสถาบันทางสังคมและการเมืองที่ปรับตัวต่อสิ่งที่มาร์กซ์ให้คำนิยามถึงโครงสร้างชั้นสูง ปัจจัยเศรษฐกิจและวิธีการผลิตมีพลานุภาพในการกวัดแกว่งทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้พิจารณา สิ่งนี้ได้แกศาสนา,กฎหมาย,ศิลธรรม,จริยธรรม
และรัฐ รัฐได้สะท้อนอย่างง่าย
ๆของชนชั้นเศรษฐกิจที่ทรงพลานุภาพมากที่สุด
ในปุจฉาของชาวยิว
จุดเด่นของทัศนะมาร์กซ์ถึงวิธีการแบบเทววิทยาในการโต้แย้งระหว่างคริสเตียน,ชาวยิว
และลัทธิเทวนิยมซึ่งเป็นเพียงความเชื่อ การวิพากย์ที่แท้จริงคือการเมือง
หรือเศรษฐกิจ
เพราะว่ารัฐมักจะสนับสนุนความเชื่อถือทางศาสนา
เฮเกลและบูเออร์เข้าใจผิดในทัศนะที่ความคลุมเครือต่อศาสนา เพื่อทำลาย
หรือขจัดศาสนาออกไป หรือบางประการที่มีการช่วยเหลือในการก่อสงคราม
เพียงแต่เป็นการปฏิบัติในการทำลายทรัพย์สินของเอกชนที่มาจากสังคมประชาธิปไตยที่กลับมาเป็นสัจธรรม
โดยสรุปต่อคำประกาศนั้น มาร์กซ์ได้เขียนว่า
“อำนาจของสาธารณะยังคงสูญเสียลักษณะทางการเมือง” และรัฐยังไม่ใช่จุดเด่นในสังคมอีกต่อไป มาร์กซ์มีความสับสนคลุมเครือในอุดมคติของชาวเยอรมัน
จากข้อเขียนของเขาที่ว่ารัฐเกิดขึ้นมาเพื่อปกป้องทรัพย์สิน และผลประโยฃน์ของนายทุน
(มาร์กซ์)
ในการโต้ตอบต่อความสับสนคลุมเคลือในแบบฉบับของทัศนะรุสโซ่ สำหรับมาร์กซ์สายโซ่ของรัฐยังคงปรากฏขึ้นอย่างช้า
ๆเพราะว่าลักษณะทางชนชันของรัฐยังไม่ปรากฏขึ้น
ดังนั้นถนนสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงได้การการทำลายชนชั้นทางเศรษฐกิจ ดังที่มาร์กซ์เขียนไว้ว่า
“ในที่แห่งหนใดของสังคมนายทุนเก่า ด้วยภายใต้ชนชั้นและปฏิปักษ์ชนชั้น เราจะมีการเกี่ยวข้องกันในการพัฒนาความมีเสรีของแต่ละบุคคลคือเงื่อนไขของการพัฒนาเสรีของคนทั้งหมด
สรุป
ภายใต้บทสนทนาของจุดกำเนิดของความไม่เท่าเทียมกัน
รุสโซ่ระบุว่าจุดกำเนิดของความไม่เท่าเทียมกันก็คือกฎหมายที่ให้
“อำนาจใหม่ต่อคนรวย” และในทำนองตรงกันข้าม “เป็นการทำลายสิทธิเสรีภาพโดยธรรมชาติ
และกำหนดกฎหมายทรัพย์สินและความไม่เท่าเทียมกันอยู่ชั่วกับปาวสาน
มาร์กซ์ให้ทัศนะถึงปัญหาทั้งหลายของสังคมมาจากพื้นฐานเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้น รุสโซ่และมาร์กซ์นำมาสู่ความเคียดแค้นในความคิดของนักปัจเจกชนแบบเสรีนิยมที่กระทำต่อพวกเขา ทั้งสองคนได้ศึกษาที่มุ่งเน้นในสิ่งที่ดีที่สุดต่อชุมชน
ไม่ใช่เป็นความสนใจในสิ่งไม่สำคัญของปัจเจกชนที่มีความมั่งคั่งเท่านั้น
อย่างไรก็ดีนักทฤษฎีทั้งสองคนค้นพบวิถีทางที่แตกต่างกันในการยับยั้งผลกระทบต่อความไม่เท่าเทียมกัน คำตอบของรุสโซ่คือการเมือง โดยผ่านการมีส่วนร่วมขนานใหญ่และความเท่าเทียมยังเป็นความเท่าเทียมของประชากรทั้งหมด ไม่มีกลุ่มผลประโยชน์ใด
ๆที่ได้เปรียบทางเศรษฐกิจที่สามารถควบคุมอยู่เพียงกลุ่มเดียว มาร์กซ์คิดว่าการเมืองยังคงเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา
เพียงการกระทำที่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนบุคคลและรัฐจะต้องเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริงจึงจะบรรลุผลสำเร็จลุล่วงไปได้
Marx, Karl. “On the Jewish Question.” The Marx-Engels
Reader. Ed. Robert Tucker.
New York: W.W. Norton Company, 1978.
Marx, Karl. “The German Ideology.” The Marx-Engels Reader.
Ed. Robert Tucker.
New York: W.W. Norton Company, 1978.
Marx, Karl. “The Communist Manifesto.” The Marx-Engels
Reader. Ed. Robert Tucker.
New York: W.W. Norton Company, 1978.
Rousseau, Jean-Jacques. The Social Contract. London: Penguin
Books, 1968.
Rousseau, Jean-Jacques. “Discourse on the Origin of
Inequality.” Political Philosophy:
The Essential Texts. Ed. Stephen Cahn. Oxford: Oxford
University Press, 2006.
[1] Rousseau’ and Marx’s argument is similar to Aristotle’s
Politics, where the deviant regimes rule for the interests of a very few.
แปลเรียบเรียงโดย Joseph M. Ellis Location:
Knoxville, Tennessee, United States จากบล๊อคทรัพยากรทางรัฐศาสตร์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น