การวิเคราะห์ Swot Analysis ระหว่างแนวคิดประชาธิปไตยแบบรากหญ้า กับแบบอนุรักษ์นิยม

            การเมืองไทยได้มีการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง ได้กำเนิดขึ้นมาตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฏร์โดย ดร.ปรีดี พนมยงค์ปรารถนาจะให้มีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่การเมืองการปกครองที่ผ่านมากลุ่มชนชั้นแนวอนุรักษ์นิยมได้เข้าครอบครองและกลายเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์มาเป็นเวลานาน ยามใดที่ประชาชนได้มีผู้นำที่มาช่วยเหลือให้มีความเข้มแข็งหรือมีการพัฒนาดีขึ้นเมื่อใด ยามนั้นฝ่ายอนุรักษ์นิยมฝ่ายขวาก็จะไม่ชื่นชอบ แต่จะสร้างวาทะกรรมที่หลอกลวงประชาชนให้คลั่งไคล้รูปแบบเก่า ๆ โดยไม่ได้หันมามองสิ่งใหม่ ๆ ที่จะพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น ทั้งนี้เป็นการรักษาความได้เปรียบในชนชั้น  และอภิสิทธิ์ต่าง ๆที่มีอยู่อย่างมากมาย แม้แต่กระทั่งกระบวนการกฎหมายก็ไม่มีมาตรฐานเพราะกลายเป็นกฎหมายชนชั้น  ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมที่คนชั้นกลางจำนวนมากก็ลุ่มหลงและอยากมีอภิสิทฺธิ์เหมือนกับคนชั้นสูง  ซึ่งไม่ได้มองไปยังชนชั้นล่าง   สำหรับความแตกต่างระหว่างประชาธิปไตยแบบก้าวหน้าของคนส่วนใหญ่ กับประชาธิปไตยแบบล้าหลังโบราณ มีความแตกต่างอย่างไร
ทัศนะความคิด
      ประชาธิปไตยของกลุ่มก้าวหน้า                ประชาธิปไตยของกลุ่มอนุรักษ์นิยมล้าหลัง
    ก.ศรัทธาหลักการประชาธิปไตย รักความเสมอภาค      ก. ศรัทธาต่อการปกครองแบบเก่ารักษาความ
      เสรีภาพ,ภราดรภาพ,รักความยุติธรรม                  เป็นชนชั้นผู้ได้เปรียบในสังคม
     ข. นโยบายช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส                 ข. นโยบายช่วยเหลือกลุ่มคนชั้นกลาง,นายทุน
     ค. ให้ความรู้สึกเท่าเทียม,ไม่แบ่งชั้น                ค. ชอบแบ่งชั้น,ไม่เห็นอกเห็นใจคนยากจน
     ง. มีชีวิตอยู่กับความจริงที่ลำบากค่นแค้นในชนบท      ง. มีชีวิตอยู่กับสิ่งหรูหรา หรือสังคมเมือง  
          จุดแข็ง (Strongness)                           จุดแข็ง (Strongness)
    ก. ชีวิตอยู่กับความจริง,จนจริง,ลำบากจริง            ก. ชีวิตอยู่กับสิ่งที่เป็นสัญญาลักขณ์,ความเชื่อ
                                                            ในแบบแผนประเพณี
    ข. มีพลังอำนาจจากประชาชนส่วนใหญ่               ข.มีพลังอำนาจจากตัวช่วยเพื่อครอบงำเอา
                                                                                              เปรียบ เช่นศาล,รัฐธรรมนูญ,กฎหมาย,คุก
    ค. ต้องการการเปลี่ยนแปลง,ความก้าวหน้าในชีวิต        ค. รักษาความก้าวหน้าเฉพาะชนชั้นตนเอง
                                                                                              ไม่ต้องการเห็นความเท่าเทียม ต่อต้านการ
                                                                                                เปลี่ยนแปลง
    ง. มองชีวิตแบบวิทยาศาสตร์                        ง. มองชีวิตแบบตามกรอบโบราณประเพณี

         จุดอ่อน (Weakness)                                   จุดอ่อน (Weakness)
    ก. ความยากจน,ขาดการศึกษาชั้นสูงเป็นส่วนใหญ่        ก. ฐานะดีโดยส่วนใหญ่,มีการศึกษาดี
    ข. ต้องการพึ่งผู้นำที่ให้การช่วยเหลือ                  ข. ต้องการพึ่งผู้นำแบบอูปถัมภ์,ผูกขาด
    ค.ไม่มีเครื่องมือในการต่อสู้ (มือเปล่า)                ค. การต่อสู้มักใช้วิธีรุนแรง
    ง. ไม่มีกลโกงหรืออุบาย,ไม่โกหก                    ง. โกหก,ใช้เล่ห์เพทุบาย
         ปัญหาคุกคาม (Threath)                              ปัญหาคุกคาม (Threath)
    ก. มีปัญหาที่ตัวแทน,ผู้นำถูกคุกคาม,รุกไล่            ก. ตัวแทนไม่ได้รับเลือกตั้งเบื่อหน่ายกับ
                                                                                               การไม่มีอำนาจ,ต้องการหน้าตา
    ข. ระบบประชาธิปไตยถูกโค่นล้มทั้งผู้นำและระบบ       ข. ไม่ได้อำนาจตามครรลองประชาธิปไตย
                                                                                                ต้องการรักษาอำนาจชนชั้น
    ค. ระบบการเมืองถูกล้มอำนาจ                      ค. ได้อำนาจไม่ชอบธรรม ก็ถูกเรียกร้องขับไล่ 
โอกาส (Opportunity)                                     โอกาส (Opportunity)
    ก. โอกาสเกิดจากการมีประชาธิปไตย                 ก. โอกาสเกิดจากระบบเผด็จการใช้อำนาจ
    ข. โอกาสเกิดจากการเปลี่ยนแปลง                   ข. โอกาสเกิดจากการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                                                                                               เช่นต่อต้านการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญที่มีอคติ
                                                                                               ตัวบุคคล 
ค. สร้างความเข้าใจกับชนชั้นกลางในเมือง                  ค. บั่นทอนความเชื่อถือเนื่องจากใช้โอกาส                                                                                            ที่ไม่ชอบธรรม เช่นการโค่นล้มประชาธิปไตย 


       สรุป การเมืองไทยเป็นการต่อสู้ หรือขัดแย้งระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ ระหว่างประชาธิปไตยแบบเทียม  ๆกับประชาธิปไตยของประชาชน เป็นการต่อสู้แบบแนวคิดเผด็จการกับประชาธิปไตย ซึ่งจะสังเกตได้จากบุคลิกภาพ,ความเชื่อ,ค่านิยม,ความคาดหวัง, ทัศนะการมองโลกประชาธิปไตย ฯลฯ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมความคิดที่ถูกปลูกฝังมา เช่นวัฒนธรรมแบบอำมาตย์ขุนนาง ก็จะมีความเชื่อการแบ่งชั้น, การต้องเชื่อฟังคนมีอำนาจแบบไม่มีการโต้แย้ง เพราะถืออำนาจสำคัญกว่าความยุติธรรม ถือชนชั้นที่เหนือกว่ามากกว่าความเป็นธรรมตามนิติธรรม หรือจริยธรรมทางการเมือง เป็นต้น        

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ