กลวิธีการเปลี่ยนแปลงองค์การทางการเมือง เพื่อความสัมฤทธิผล

         ปัจจุบันการเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวบทกฎหมายที่สำคัญสูงสุดในการปกครองประเทศ หากรัฐธรรมนุญที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เจือปนในสิ่งที่มิใช่ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ย่อมเกิดปัญหาในลักษณะของการเรียกร้องที่ไม่มีการสิ้นสุด ดังนั้นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในปกครอง จำเป็นต้องมีแนวทางตามที่ Kotter 1995 ที่ผู้นำมักละเลย,มองข้าม หรือประเมินต่ำกว่าความเป็นจริงนั้น ได้แก่
ปัจจัยที่ 1 ต้องมั่นใจว่าความต้องการเปลี่ยนแปลงของผู้นำบริหารนั้น จะต้องมีการพิสูจน์ และมีการสื่อสารชักชวนความต้องการการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ
ปัจจัยที่ 2 มีการจัดสรรแผนงาน, ผู้นำบริหารจะต้องปรับปรุงทางเลือกหรือกลยูทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ
ปัจจัยที่ 3 จะต้องสร้างแรงสนับสนุนและเอาชนะการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ผู้นำบริหารจะต้องสร้างแรงสนับสนุนภายในและลดแรงต่อต้านในการเปลี่ยนแปลงโดยผ่านการมีส่วนร่วมอย่างแพร่หลายในกระบวนการเปลี่ยนแปลง ในท่ามกลางปัจจัยอื่น ๆ ที่นำไปสู่ความสำเร็จ
ปัจจัยที่ 4 จะต้องสร้างความมั่นใจว่าแรงสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ความผูกพันของบุคคลหรือกลุ่มต่าง ๆภายในประเทศควรจะเป็นผู้ได้รับแชมเปี้ยนในฐานะที่ปัจจัย
เหตุแห่งการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่ 5 ต้องสร้างแรงสนับสนุนจากภายนอก ผู้นำบริหารต้องพัฒนา และทำให้มั่นใจว่าเป็นแรงสนับสนุนจากที่มองข้ามทางการเมือง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก
ปัจจัยที่ 6 การจัดสรรทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ มักจำเป็นที่ต้องใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียงในการสนับสนุนกระบวนการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่ 7 การเปลี่ยนแปลงจะต้องสร้างสรรค์ให้เป็นสถาบันและขยายผลการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่ 8 มีการนำเอาการเปลี่ยนแปลงอย่างพิสดาร ผู้นำบริหารต้องพัฒนาแนวทางเชิงบูรนาการ,มีความละเอียดต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อบรรลุถึงส่วนประสมของระบบย่อย

        สำหรับการเมืองและการปกครองไทย ยังยึดมั่นเหนี่ยวแน่นกับตัวบุคคลมากจนละเลยระบบที่ดีของการเมืองไทย เพราะการสร้างประชาธิปไตยที่ดีมิใช่การทำลายประชาธิปไตยและยัดเยียดสิ่งที่เป็นกติกาที่สังคมไม่ยอมรับเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการที่กลุ่มต่าง ๆ เคลื่อนไหวยังไม่มีความชัดเจน และยังไม่ยอมรับว่ากติกาต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นมาเกิดจากการมีอคติต่อตัวบุคคล แต่สิ่งสำคัญต้องเขียนกติกาที่เป็นประชาธิปไตยที่ไม่ได้ยึดเอาตัวบุคคลมาเป็นที่ตั้ง มาตรแม้นว่าจะเปลี่ยนรัฐธรรมนูญได้ แต่หากสภาพของระบบพฤติกรรมมนุษย์ยังไม่เข้าใจ หรือไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงก็ไม่สามารถขจัดปัญหาความขัดแย้งทางสังคมได้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นั้นต้องค่อย ๆแก้ไขไปทีละส่วน ๆ และผู้ต่อต้านทั้งหลายก็ไม่ควรที่จะเอาตัวบุคคลมาเป็นตัวกำหนดเป็นกติกาของสังคม แต่ควรวิพากย์วิจารณ์ว่าระบบมันมีช่องว่างอย่างไร? จะแก้ไขอย่างไร เมื่อแก้ไขที่ระบบแล้ว ก็ไม่ต้องไปห่วงกังวลในตัวบุคคล ซึ่งในเมื่อมาตรฐานการเมืองไทยนั้นเป็นมาตรฐานทีมีปัญหามาตั้งแต่ปี 2475 แล้ว หากจะแก้ไขควรเริ่มตั้งต้นกันใหม่ เพราะมันผิดพลาดมาเนิ่นานแล้ว ดังนั้นการนิรโทษกรรมที่ลบล้างอคติของคนไทย และการให้อภัยซึ่งกันและกัน จึงจำเป็นต้องมีการลบล้าง และผู้ที่กระทำความผิดอย่างแจ้งชัดก็ควรได้รับโทษตามกฎหมาย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ