วิวาทะจำลองระหว่างดไว้ท์ วอลโด กับเฮอร์เบอร์ต เอ.ไซมอนเกี่ยวกับการบริหารในเชิงรัฐประศาสนศาสตร์

        Dwight Waldo เป็นนักวิชาการสายรัฐศาสตร์ (ตั้งแต่ปี ค.ศ.1913-2000) เป็นผู้ให้คำนิยามของการบริหารภาครัฐสมัยใหม่  เขาเป็นผู้ต่อต้านแนวคิดระบบราชการที่เน้นเทคนิคหรือวิทยาศาสตร์ และรัฐบาลที่เน้นใช้คำว่าการจัดการภาครัฐแทนที่จะเป็นรัฐประศาสนศาสตร์
       จากตำราของเขาที่ชื่อว่า "Administrative State" (รัฐบริหาร) เขาเป็นนักวิชาการที่มีแนวคิดในการโหมกระแสรัฐประศาสนศาสตร์อย่างท้าทายในยุคนั้น  ประการแรกเขามีทัศนะว่ารัฐประศาสนศาสตร์
ปลอดจากค่านิยม (หมายถึงเน้นข้อเท็จจริง),ไม่เล่นพรรคเล่นพวก, เป็นสาขาสังคมศาสตร์ทีให้คำสัญญาว่าจะทำให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   ประการที่สองเป็นเรื่องสำคัญมาก เขาโต้แย้งว่านักวิชาการสายบริหารได้รับแรงขับเคลื่อนจากปรัชญาทางการเมือง  ประเด็นปัญหาสำคัญของปรัชญาทางการเมืองก็คือ
       1. โดยธรรมชาติมนุษย์ต้องการมีชีวิตที่ดีกว่า (Good Life) เป็นวิสัยทัศน์ที่ต้องการสังคมที่ดี
       2. กฎเกณฑ์ของการปฏิบัติ หรือวิธีการปฏิบัติที่จะต้องมีการตัดสินใจร่วมกัน
       3. ปัญหานั้นก็คือว่าใครควรเป็นคนถือกฎนี้
       4. คำถามก็คือว่าอำนาจรัฐควรจะแบ่งแยกหรือตัดส่วนออกไป
       5. คำถามก็คือว่าจะรวมศูนย์อำนาจ หรือกระจายอำนาจ
       6. หรือมีคุณธรรมที่สอดคล้องต่อเอกภาพแห่งรัฐและระบบสหพันธรัฐ
       จากวาทกรรมจึงมีคำถามจาก ไซมอน  (Simon) ว่า "คุณมีความคิดเห็นประการใดเกี่ยวกับการบริหาร
ของรัฐบาลประชาธิปไตยสมัยใหม่"
       วอลโด  ตอบว่า "การบริหารมักถูกเรียกร้องให้เป็นแก่นสำคัญของรัฐบาลประชาธิปไตยสมัยใหม่ และเรียกร้องให้ช่วยแสดงความสมเหตุสมผลของหลักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ทั้งหลาย    นอกจากจะเรียกร้องในเรื่องคุณธรรม ยังหมายถึงว่าทฤษฎีประชาธิปไตยจะต้องเกี่ยวข้องกับการบริหาร และทฤษฎีการบริหารจะต้องเกี่ยวข้องกับการเมืองแบบประชาธิปไตย  ปรัชญาการเมืองแฝงเร้นในนักวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ ไม่ได้มีความเพียรพยายามที่จะช่วงชิงประชาธิปไตย แต่หมายถึงการรักษาประชาธิปไตยให้อยู่ในครรลองด้วย  อย่างน้อยข้าพเจ้ามีทัศนะว่าแนวคิดประชาธิปไตยและความวุ่นวายยุ่งเหยิงของประชาธิปไตยจะต้องนำกลับไปสู่ทฤษฎีทางการบริหาร   นักวิชาการสายบริหารจะต้องตระหนักว่าหลักการสำคัญที่เรียกว่า "ประสิทธิภาพ" ไม่ใช่การมีค่านิยมที่เป็นกลาง และมิใช่ประสิทธิภาพที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่สบายใจด้วยหลักการประชาธิปไตยซึ่งจะต้องตระหนักในจุดนี้   ในบทความ American Political Science Review ได้แยกแยะให้เห็นการวิพากย์การบริหารของ เฮอร์เบอร์ต เอ.ไซมอน  ซึ่งวอลโดมองว่ามันมีความเป็นไปได้ของบริหารศาสตร์ (Science of Administration)  ซึ่งพอจะคิดได้ว่าการบริการ (มีข้อจำกัด) ในการเอาใจใส่เกี่ยวกับการตัดสินใจที่เน้นข้อเท็จจริงในฐานะที่ต่อต้านค่านิยม ซึ่งไซมอนมีความเห็นว่าการตัดสินใจภายใต้ข้อเท็จจริงมีความสำคัญต่อสัจจธรรมทางการบริหาร และจะต้องถูกชักนำอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่มุ่งตรงต่อเป้าหมายประสิทธิภาพโดยรวม   แต่วอลโดยเขาไม่เห็นด้วย   โดยเขาโต้แย้งว่าไซมอนนำเอาปัญหามาดัดแปลงโดยใช้หลักการแยกการเมืองออกจากการบริหารเพื่อการแบ่งงานของหน่วยงานเท่านั้น    ซึ่งไซมอนก็ตั้งคำถามว่า "ทำไม"    ซึ่งวอลโดยก็โต้ตอบว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการรักษาทฤษฎีการบริหารแบบดั้งเดิมนั่นก็คือเน้นเรื่องประสิทธิภาพ   ไซมอนก็ถามว่า "และประสิทธิภาพมันจะผิดพลาดอะไร"   โดยวอลโดมองว่าประสิทธิภาพไม่ใช่ของศักดิ์สิทธิ์ทางด้านวิชาการที่คัดค้านการเมือง  เพราะว่าการบริหารคือการเมือง ประสิทธิภาพโดยตัวของมันเองแล้วคือการเรียกร้องทางการเมืองต่างหาก    ซึ่งไซมอนถามว่าให้ยกตัวอย่างมา    วอลโดก็ตอบว่าใครหล่ะจะเป็นผู้ประเมินว่าเป็นประสิทธิภาพของใคร ของห้องสมุดหรือกระทรวงกลาโหม     ถ้าหากว่า.. ประสิทธิภาพหมายถึงสัดส่วนปัจจัยนำเข้า(input) และปัจจัยนำออก(output)   แต่มีทางเลือกหนึ่งก็คือปัจจัยนำเข้าและนำออกจะต้องประเมินทั้งสองอย่าง  แม้ว่าจะไม่มีอะไรเลยที่เป็นวัตถุประสงค์ที่จะโจมตีได้โดยทางเลือกที่เป็นข้อเท็จจริง    ในบรรดาทางเลือกเหล่านี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยกับการตัดสินใจเชิงค่านิยม ไม่ใช่เพียงข้อเท็จจริง   ดังนั้นประสิทธิภาพจึงยากที่จะมีค่่านิยมที่เป็นกลาง (value neutral) (Stone 2002 p. 65)      ส่วนไซมอนบอกให้วอลโดช่วยอ่านเนื้อหาส่วนที่เหลือในการปกป้องความคิดของคุณเอง      ซึ่งวอลโดให้ทัศนะว่าปัญหาสำคัญของทฤษฎีการบริหารตามหลักประชาธิปไตยในฐาะที่เป็นทฤษฎีประชาธิปไตยทั้งมวล ก็คือทำอย่างไรจึงจะไกล่เกลี่ยกันได้ (how to reconcile democracy) ซึ่งทำให้ไซมอนหายข้อข้องใจ
           จากอุธาหรณ์ของนักวิชาการที่มีชื่อเสียงทางการบริหาร นับว่าทั้งสองท่านเป็นกูรูทางการบริหารศาสตร์ และรัฐศาสตร์   เมื่อมามองการเมืองไทยที่มีการขัดแย้ง หรือทุ่มเถียงไม่มีวันจบ เพราะไปยึดติดกับวาทกรรมที่มีความคิดแตกต่าง แต่ไม่สามารถรอมชอมกันได้ เช่นการขัดแย้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งจะต้องมีการรอมชอมทางความคิดมากกว่าการเน้นเอาชนะตามความคิดเห็นของตนฝ่ายเดียว โดยไม่รับฟังเสียงประชาชน  แม้กระทั่งการมุ่งนิรโทษกรรมก็ไม่ได้ไถ่ถามประชาชนก่อน แต่เป็นเพียงผู้มีความคิดเห็นคนเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่เสี่ยงภัยต่อการนำไปใช้อย่างผิด ๆ ได้  เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่ของใครผู้ใดผู้หนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ประชาชนมีบทบาทสำคัญในการกำหนด และมิใช่การทำอย่างลวกแบบสุกเอาเผากิน ก็จะทำให้เกิดการขัดแย้งทางการเมืองได้   แม้ว่าจะไม่ติดยึดค่านิยมที่เป็นกลาง แต่ก็เป็นค่านิยมที่มุ่งตัวบุคคลมากกว่าหลักการ  และทำให้เป็นช่องว่างในการถูกโจมตีได้  จึงต้องแสวงหาสิ่งที่เป็นหนทางไกล่เกลี่ยกันได้  หรือการใช้พลังของประชาชนในการตัดสินใจด้วยซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา แต่ก็เป็นความชอบธรรมที่ดีที่สุด

     


 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ