ความคิดที่แตกต่างนำไปสู่ทางเลือกในการแก้ปัญหา และเกิดความคิดสร้างสรรค์ดีกว่าความคิดแบบเออออห่อหมก
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยม ผู้ใหญ่หรือครูบาอาจารย์หลายคนยังมีบุคลิกที่ยึดถือความคิดเห็นตนเองเป็นใหญ่ จะชอบคนที่ยอมตาม ทำให้ผู้เรียน และผู้ตามในสังคมมักใช้วิธีว่า "เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไมกัด หรือพูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ประกอบกับระบบการศึกษายังไม่ใช้ระบบการสอนที่เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ครูอาจารย์มักชอบผู้เรียนที่เรียบร้อยหรืออยู่แบบเงียบ ๆ ไม่แสดงความคิดเห็น ซึ่งบุคลิกเช่นนี้ถูกกล่อมเกลาให้ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และการสอนไม่ได้สอนแบบให้ผู้เรียนรู้จักคิด บุคลิกแบบนี้หล่อหลอมให้ขาดความเป็นผู้นำ เพราะขาดความกล้าหาญในการแสดงออก และต้องยอมตามผู้อื่นอย่างไม่สงสัย หรือไม่เคยตั้งคำถามใด ทำให้คนไทยจำนวนมากไม่ค่อยชอบการค้นคว้า หรือศึกษาด้วยตนเอง กลายเป็นการทำรายงานที่นิยมก๊อปปี้ หรือว่าจ้าง เช่นการทำค้นคว้าอิสระ หรือวิทยานิพนธ์ จึงมีการว่าจ้า่งกันอย่างดาดดื่น ทำให้คนไทยจำนวนมากที่จบการศึกษาขาดความรู้อย่างแท้จริง และขาดการสังเกตเรียนรู้ และไต่ถาม ซึ่งผิดกับครูผู้สอนในโ่ลกตะวันตกเขาจะสอนให้เด็กคิดเป็น, ทำเป็น สอนให้มีทักษะความคิด (Critical Thinking) เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้การศึกษาไทยคุณภาพการศึกษาเริ่มลดต่ำลง ประกอบกับสังคมไทยนิยมระบบอุปถัมป์ ในการรับสมัครเข้าทำงาน ไม่ได้คัดคนมีคุณภาพเข้าทำงาน หรอเข้ามาทำงานก็ขาดการพัฒนาการฝึก่อบรมที่สร้างทักษะในการทำงานหรืออาชีพ
เหตุเช่นนี้การคิดต่างในสังคมไทยจึงเกิดขึ้นอย่างมาก เช่นในการประชุมต่างๆ จะพบ่ว่าลูกน้องจะเกรงใจหัวหน้า หรือผู้บริหาร ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง วัฒนธรรมเช่นนี้ทำให้การปรับตัวเพื่อเป็นผู้นำค่อนข้างต่ำ ผู้บริหารหลายคนขาดความเป็นผู้นำ กลายเป็นผู้ที่มีความคิดคล้อยตาม หรือบางคนก็อาจก้าวร้าวเพราะความขัดข้อง วัฒนธรรมความคิดต่างถูกมองว่าคนที่เห็นต่างเป็นศัตรู หรือเป็นคู่แข่งไปเลย แต่ก่ลับมองว่าคนที่เออออห่อหมกเป็นคนดี ไม่แสดงความเห็นขัดใจผู้ใหญ่ ทำให้คนมีอำนาจอาจได้ใจ และกลายเป็นวัฒนธรรมครอบงำไปเลย ยิ่งในการบริหารมหาวิทยาลัยที่การบริหารยังขาดประสิทธิภาพในการสรรหาผู้นำองค์การทางการศึกษาที่เป็นแบบมืออาชีพ ก็จะยิ่งมีการบริหารค่อนไปทางเผด็จการ การบริหารจึุงกลายเป็นการบริหารแบบตามใจผู้บริหาร ผู้น้อยไม่ต้องมีปัญหา หรือแสดงความคิดเห็น ทำให้องคฺ์การขาดมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา เพราะไม่มีความคิดใหม่ ๆ ความคิดจึงถูกรวมศูนย์ไปที่ผู้บริหารเพียงไม่กี่คน สังคมไทยจึงพบทั่วไปว่ามีลักษณะเกรงใจคนมีอำนาจ และไม่เคยสงสัยว่าวิธีการได้อำนาจมาอย่างไม่ถูกต้องก็ไม่่มการสงสัย ทำให้การคดโกง ทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาในเชิงบริหาร แต่การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่นมักมีการพูดบ่อย ๆ แต่ท้ายที่สุดปัญหานี้ก็ไม่หมดสักที เพราะระบบการบริหารในหน่วยงานขาดการปฏิรูป หรือสังคายนา หรือการระดมสมองแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ไม่ค่อยพบเห็น จะมีแต่การกำหนดนโยบายจากเบื้องบนเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็พบว่าเมื่อเข้ามาเป็นนักบริหารก็มักจะดีตอนแรก ๆ แต่พออยู่ ๆ ไป ก็เริ่มมีปัญหา หรือมีการหาช่องโหว่ในการทุจริต ขาดความโปร่งใส และวิธีเอาตัวรอดแบบไทย ๆ คือพฤติกรรมแบบศรีธนญชัย คือเอาตัวรอดไปวัน ๆ หรือมีคารมที่เก่งในการเอาตัวรอด อย่างสุนทรภู่เคยเขียนกลอนไว้ว่า "รู้สิ่งใดไม่รู้สู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี" การเอาตัวรอดจึงเป็นอัตลักษณ์ของสังคมไทย และนับวันก็แก้ปัญหาได้ยาก การแก้ปัญหาจึงต้องสร้างจิตสำนึก และมีระบบการตรวจสอบท่ี่ดี แต่มิใช่วิธีหักด้ามพร้าด้วยเข่า หรือวิธีรุนแรงก็ยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ต้องแก้ไขด้วยระบบการศึกษาทุกระดับชั้น ที่สำคัญคนเป็นผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี และทำงานที่ถึงลูกถึงคน มองคนคิดต่างเป็นทรัพย์สิน แต่ไม่ควรมองเป็นหนี้สินนั่นเอง
เหตุเช่นนี้การคิดต่างในสังคมไทยจึงเกิดขึ้นอย่างมาก เช่นในการประชุมต่างๆ จะพบ่ว่าลูกน้องจะเกรงใจหัวหน้า หรือผู้บริหาร ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง วัฒนธรรมเช่นนี้ทำให้การปรับตัวเพื่อเป็นผู้นำค่อนข้างต่ำ ผู้บริหารหลายคนขาดความเป็นผู้นำ กลายเป็นผู้ที่มีความคิดคล้อยตาม หรือบางคนก็อาจก้าวร้าวเพราะความขัดข้อง วัฒนธรรมความคิดต่างถูกมองว่าคนที่เห็นต่างเป็นศัตรู หรือเป็นคู่แข่งไปเลย แต่ก่ลับมองว่าคนที่เออออห่อหมกเป็นคนดี ไม่แสดงความเห็นขัดใจผู้ใหญ่ ทำให้คนมีอำนาจอาจได้ใจ และกลายเป็นวัฒนธรรมครอบงำไปเลย ยิ่งในการบริหารมหาวิทยาลัยที่การบริหารยังขาดประสิทธิภาพในการสรรหาผู้นำองค์การทางการศึกษาที่เป็นแบบมืออาชีพ ก็จะยิ่งมีการบริหารค่อนไปทางเผด็จการ การบริหารจึุงกลายเป็นการบริหารแบบตามใจผู้บริหาร ผู้น้อยไม่ต้องมีปัญหา หรือแสดงความคิดเห็น ทำให้องคฺ์การขาดมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา เพราะไม่มีความคิดใหม่ ๆ ความคิดจึงถูกรวมศูนย์ไปที่ผู้บริหารเพียงไม่กี่คน สังคมไทยจึงพบทั่วไปว่ามีลักษณะเกรงใจคนมีอำนาจ และไม่เคยสงสัยว่าวิธีการได้อำนาจมาอย่างไม่ถูกต้องก็ไม่่มการสงสัย ทำให้การคดโกง ทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาในเชิงบริหาร แต่การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่นมักมีการพูดบ่อย ๆ แต่ท้ายที่สุดปัญหานี้ก็ไม่หมดสักที เพราะระบบการบริหารในหน่วยงานขาดการปฏิรูป หรือสังคายนา หรือการระดมสมองแก้ปัญหาโดยกลุ่ม ไม่ค่อยพบเห็น จะมีแต่การกำหนดนโยบายจากเบื้องบนเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็พบว่าเมื่อเข้ามาเป็นนักบริหารก็มักจะดีตอนแรก ๆ แต่พออยู่ ๆ ไป ก็เริ่มมีปัญหา หรือมีการหาช่องโหว่ในการทุจริต ขาดความโปร่งใส และวิธีเอาตัวรอดแบบไทย ๆ คือพฤติกรรมแบบศรีธนญชัย คือเอาตัวรอดไปวัน ๆ หรือมีคารมที่เก่งในการเอาตัวรอด อย่างสุนทรภู่เคยเขียนกลอนไว้ว่า "รู้สิ่งใดไม่รู้สู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี" การเอาตัวรอดจึงเป็นอัตลักษณ์ของสังคมไทย และนับวันก็แก้ปัญหาได้ยาก การแก้ปัญหาจึงต้องสร้างจิตสำนึก และมีระบบการตรวจสอบท่ี่ดี แต่มิใช่วิธีหักด้ามพร้าด้วยเข่า หรือวิธีรุนแรงก็ยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ต้องแก้ไขด้วยระบบการศึกษาทุกระดับชั้น ที่สำคัญคนเป็นผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี และทำงานที่ถึงลูกถึงคน มองคนคิดต่างเป็นทรัพย์สิน แต่ไม่ควรมองเป็นหนี้สินนั่นเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น