แนวคิดของผู้นำจีนเกี่ยวกับการศึกษา ยุคเหวิน เจีย เป่า

             ทัศนะของจีนผืนแผ่นดินใหญ่มองว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญต่อความก้าวหน้าของประเทศทุกประเทศและต่อประชาชนทั้งหลาว      การจัดการศึกษาจึงเน้นการศึกษาที่เป็นระดับที่ยอดเยี่ยมสูงสุด และต้องส่งเสริมคนเก่งนระดับแนวหน้า  จึงจะสามารถสร้างประเทศที่เป็นแนวหน้าได้     จีนให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการศึกษาประชาชนจำนวนมาก เช่นการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ที่ทำในการศึกษาชนบทหรือในท้องถิ่น    คนฐานะยากจนมีโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมในการเข้าเรียน  แรงงานได้สร้างคนรุ่นใหม่เป็ฯคนวัยหนุ่มสาวที่ได้เรียนรู้ประสบการณ์และในเชิงวัฒนธรรม        การกำหนดนโยบายของโครงสร้างการศึกษาระดับกลาง และการปฏิรูปการศึกษาระยะยาว    การพัฒนาการศึกษาอย่างมีคุณภาพจึงมีการปรับปรุงผู้ที่มีความสามารถของประเทศชาติโดยรวม   ซึ่งเป็นส่ิ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ, ความก้าวหน้าทางสังคม และการมีชีวิตของพลเมืองที่ได้รับการปรับปรุง    การปฏิรูปการศึกษาสกระทำโดยคณะกรรมการกลางของพรรค  สร้างสังคมที่เท่าเทียมและนำไปสู่ความทันสมัย
              ประการที่สอง จีนมองว่าการพัฒนาการศึกษาต้องตอบสนองความต้องการคนเก่งเพื่อกระบวนการเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคมและการสร้างคนเก่ง    การพัฒนาชาติและความมั่งคั่งจะพิจารณาจากความสามารถของบุคคล  การสร้างบุคคลที่มีความสามารถเพื่อมารับใช้ชาติ   และต้องกำกับการพัฒนาเศรษฐกิจโดยมุ่งต่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่ เช่นเดี่ยวกับการปรับปรุงคุณสมบัติของกำลังแรงงาน    เราต้องเน้นการใช้ความพยายามต่อความก้าวหน้าของสังคมโดยรวม และการพัฒนาอย่างรอบด้านของประชาชน    ในขณะเดียวกันหากมองในแง่ระดับโลกแล้ว  วิทยาศาสตร์, เทคโนโลวยี และคนเก่งกลับมาเป็นปัจจัยของความได้เปรียบเชิงแข่งขัน
              ประการที่สาม การพัฒนาการศึกษาต้องสังเคราะห์กับความคาดหวังใหม่ของสาธารณะชนของการได้การศึกษาเพิ่มมากขึ้นและการศึกษาที่ดีกว่า    ในสังคมจีนตามทัศนะของผู้นำจีนมองว่าประชาชนปรารถนาที่จะมีคุณภาพในการดำรงชีวิตที่ดี และมีชีวิตทีี่ดีกว่าโดยผ่านการศึกษาที่มีความกระชับเหมาะสม  โดยผ่านการทำงานอย่างหนัก   ระบบการศึกษาของจีนได้แก้ปัญหาความยุ่งยากในการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน   เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลในการแสวงหาการเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพ  และมีทางเลือกในการศึกษาที่มีความหลากหลาย
         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ