ระบบราชการ: ปัญหาและวิธีการขจัดปัญหาในหน่วยงาน

      จากแนวคิดของนักวิชาการชื่อ Jaap de Jonge ให้ทัศนะแนวคิดในการลดแนวคิดระบบราชการที่มีอิทธิพลต่อหน่วยงาน โดยส่งเสริมวัฒนธรรมที่เน้นปฏิบัติจริง และวัฒนธรรมที่เน้นนวัตกรรม  โดยกำหนดบัญญัติ 10 ประการตามลำดับในการขจัดแนวคิดระบบราชการมาใช้ในหน่วยงาน ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดนี้ล้าสมัยแล้ว มีดังนี้
     1. รู้สิ่งที่ต้องการทำให้สำเร็จ  ระบบราชการเน้นกระบวนการและละเลยผลลัพธ์สุดท้ายที่ควรจะเป็น คุณตั้งใจจะมุ่งไปในทิศทางใหน  หางานกิจวัตรที่สั้นที่สุดที่จะไปสู่ทิศทางนั้น มากกว่าทำสิ่งที่ยุ่งยากสับสน
     2. รู้ถึงลำดับความสำคัญ  มุ่งทำงานที่สำคัญมากที่สุด ซึ่งไม่เสียเวลาไปกับงานเอกสารกองโต หรือการประชุมไม่บ่อยเกินไป จัดลำดับความสำคัญที่จำเป็นต้องทำและสำคัญ
     3. ขจัดงานเอกสารให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้  ใช้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลแทน
     4. ลดขั้นตอนกระบวนการ  ลดงานกิจวัตรที่ทำให้เสียเวลา เพื่อให้งานต่าง ๆรวดเร็วขึ้น
     5. ส่งเสริมเพิ่มพลังอำนาจบุคลากร ให้อำนาจที่ขีดวงเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
     6. อย่าเลื่อนการตัดสินใจ การตัดสินใจของผู้บริหารที่ล่าช้าในขณะที่งานล้นมือ ทำให้งานติดขัด
เป็นคอขวด และกลายเป็นดินพอกหางหมู
     7. มีข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต้องเตรียมพร้อม หากขาดข่าวสารข้อมูลมีผลต่อการตัดสินใจล่าช้า
     8. เน้นการลงมือทำ ไม่แช่งานหรือดองงานเอาไว้ เพื่อให้งานเดินไปอย่างรวดเร็ว  ลดขั้นตอนที่ล่าช้า
     9. รับบุคลากรที่เน้นลงมือปฏิบัติมากกว่ามองในด้านบุคลิกภาพอย่างเดียว  แบบท่าดีทีเหลว  แต่มีลักษณะทำงานฉับไว ทันสถานการณ์ ทำงานอย่างชาญฉลาดมากกว่าทำงานมากสำเร็จน้อย

    10. ให้รางวัลทันที ให้รางวัลสำหรับผู้ลงมือทำสำเร็จ เป็นลำดับแรกเพื่อเป็นตัวอย่าง


สำหรับนักวิชาการบางท่านได้เสริมความคิดได้แก่
     ก. เน้นสร้างความพึงพอใจลูกค้า และความสามารถในการทำกำไรให้กับธุรกิจ
     ข. สร้างการมีส่วนร่วมในการทำงาน และเพิ่มพลังอำนาจในทุกระดับชั้นในองค์การ
  
ในส่วนปัญหาของระบบราชการไทย ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานภาครัฐ และต่อภาพพจน์รัฐบาลได้แก่
    ก. การทำงานที่ล้าช้า อืดอาด ยืดยาด ในด้านการอนุมัติ, การรับรอง,การอนุมัติเงินงบประมาณ, การมีขั้นตอนหรือสายการบังคับบัญชาที่ยาวเกินไป
    ข. พฤติกรรมการทำงานที่ไม่บริการ เช่นติดต่อยาก, โทรศัพท์รับช้า, หรือวางสายโทรศัพท์โดยยังสื่อสารไม่รู้เรื่อง, การรับสินบนหรือฉ้อราษฎร์บังหลวง ฯลฯ
    ค. พฤติกรรมที่มีค่านิยมว่าข้าราชการเป็นใหญ่เหนือราษฎร ทำให้การรับใช้ประชาชนไม่ดี หรือไม่เต็มใจรับใช้  แต่ประชาชนต้องมาขอร้อง, ไหว้วอน ทำให้เสียเวลาของประเทศชาติ

                              --------------------------------

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ