ระเบียบวิธีวิจัย (การออกแบบวิจัย การเลือก subject, การเก็บข้อมุล,การวิเคราะห์ข้อมูล

ระเบียบวิธีวิจัย
                  การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษา "กลยุทธ์ป้องกันเครือข่ายกลุ่มอิทธิพลที่นำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่น : ศึกษาภาคเศรษฐกิจ 4 ภาค"   การวิจัยนี้เป็นการพิจารณาถึงกลยุทธ์ในการป้องกันการรวมกลุ่มของผู้มีอิทธิพลในรูปแบบต่าง ๆ เช่นกลุ่มผลประโยชน์, กลุ่มล๊อบบี้ยีสต์, กลุ่มพวกพ้องเป็นใจ (favoritism) ฯลฯ  เพื่อแสวงหากลยุทธ์ในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้การทุจริตคอรัปชั่นน้อยลง

การออกแบบงานวิจัย
                เป็นการศึกษาวิจัยเพื่อใช้ในการพรรณนา โดยใช้การวิจัยที่เลือกประเด็นของภาคเศรษฐกิจทั้งหมด 4 ภาคคือการทุจริตในพลังงาน, การศึกษา,การคมนาคม, รวมถึงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นปัญหาสำคัญของแต่ละภาคเศรษฐกิจที่เป็นปรากฎการณ์หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฎในสังคมหรือสื่อมวลชนต่าง ๆ ถึงปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น  โดยใช้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาคเศรษฐกิจนั้น ๆ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ในภาคสนาม และการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาบูรนาการอย่างเป็นระบบ

ประชากรกลุ่มเป้าหมาย
                ประชากรกลุ่มเป้าหมายคือผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ที่มีความชำนาญและใกล้ชิดข้อมูลในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ และผู้ชำนาญการเฉพาะด้านที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

การเก็บรวบรวมข้อมูล
               ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ในการเก็บข้อมูลจากภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์และการสังเกตุจากพื้นที่จริง และการใช้วิธีจัดกลุ่มสนทนา หรือกลุ่มสัมมนาอภิปรายเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องและมีความเข้าใจในภาคเศรษฐกิจเพื่อรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริง และนอกจากนี้อาจจำเป็นต้องมีการวิจัยเชิงปริมาณที่จำเป็นในการวิเคราะห์เป็นบางเรื่องเท่านั้น  เพื่อนำไปสุ่การรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empiricism)  ในการสัมภาษณ์จึงต้องมีการทำเค้าโครงคำถามสัมภาษณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่องานวิจัย    นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ,งานวิจัย,บทความ,วารสาร,วิทยานิพนธ์,และดุษฎีนิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้

การวิเคราะห์ข้อมูล
              เมื่อได้ทำการสัมภาษณ์เจาะลึก และการศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารดังกล่าวแล้ว รวมถึงข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ จึงมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบยัน (Triangle Analysis) เพื่อแสวงหาประเด็นที่เป็นข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ และแม่นตรงในการพิสูจน์ยืนยันข้อเท็จจริง เพื่อนำข้อมูลมาตีความและสรุปประเด็นต่าง ๆ ในด้านการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ (ถ้ามี)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ