ผู้นำอาเซียนตามทัศนะของเดฟ อูลริช และโรเบอร์ต ซัตตัน

   เดฟ อูลริช (Dave Ulrich)และโรเบอร์ต ซัตตัน (Robert Sutton)ในบทความที่ชื่อว่า What Effecitve Leader in Asia Know and Do กล่าวถึงภาวะผู้นำของเอเซียใน 70 กว่าปีที่ผ่านมามีความล้มเหลวทางเศรษฐกิจจากการมีภาวะผู้นำที่ล้มเหลวซึ่งได้แก่
ก. การมองแยกส่วนออกจากสังคมโดยรวม ซึ่งหมายถึงการพายเรือแบบไม่มีหางเสือในการไม่ได้เชื่อมโยงกับการให้การบริการ
ข. ไม่ได้อุทิศตัวเองอย่างเพียงพอกับการว่าจ้าง,การเป็นเจ้าภาพ,และการนำที่มีผลจากรายงานโดยตรง
ค. ไม่รับฟังความคิดใหม่ ๆ ด้วยการยินยอมตามอิทธิพลของผู้อื่น
ง. แสวงหาคำแนะนำและความคิดเห็นเพียงแต่บุคคลที่เห็นด้วยกับผู้บริหาร และรับฟังข่าวดีของพวกเขา
จ. มีแนวโน้มเอียงที่จะเอาใจตนเองเป็นที่ตั้ง และเห็นแก่ตัวมากกว่าบริการคนอื่น และการมองคนอื่นเป็นศูนย์กลาง
ฉ. ปฏิบัติงานโดยมองผลระยะสั้น ๆ เช่นกำหนดเป้าหมายเป็นไตรมาสมากกว่าการสร้างแรงดลใจที่ใช้ความยั่งยืนในระยะยาว
ช. ไม่ได้อุทิศเวลาเพื่อสร้างความเข้าใจในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ
ซ. ย้ำเน้นการบริโภค ในการเปรียบเทียบกับผู้อื่นมากกว่าการผลิต และการแสวงหาความสำเร็จในผู้อื่น
ฌ. ไม่สามารถอ่านใจผู้บริหารได้ โดยที่เขาจะดำเนินการตามแผนด้วยตนเอง, มีทัศนะการมองโลกในแง่ร้าย
ญ. มีทัศนคคติที่คิดว่าผู้บริหารนั้นทำอะไรถูกต้องและขาดความอ่อนน้อมถ่อมตนและความเคารพในความคิดของผู้อื่น


สิ่งที่กระตุ้นหรือฟื้นฟูความเป็นผู้นำตามแนวคิดของเดฟ อูลริช เกิดจากบริบททางธุรกิจ 11 ประการที่ทำให้เอเซียก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ได้แก่
ก. เอเซียกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในโลกธุรกิจ ซึ่งในปี 2010 เอเชียมีเศรษฐกิจโดยรวมสูงกว่ายุโรป,อเมริกา ซึ่งพิจารณาจากจีดีพีพบว่ามีอัตราร้อยละ 22.8 ในขณะที่สหรัฐมีจีดีพี 19.7 และยุโรปมีจีดีพี 21.4
ข. เอเซียมิใช่เอเซีย ซึ่งหมายถึงบทบาทการเป็นผู้นำในบริบทเอเซียมีช่องว่างระหว่างเพศในการทำงานระดับผู้บริหารพบว่าผู้บริหารในญุี่ปุ่นซึ่งแกรนท์ ทอรตัน อินเตอร์เนชั่นแนลวิจัยพบว่าประมาณร้อยละ 25 ของสตรีครองตำแหน่งผู้บริหารอาวุโส แต่ของจีนมีสตรีครองตำแหน่งผู้บริหารอาวุโสมากกว่าร้อยละ 80
ค. เน้นรับคนเก่งเข้าทำงานในระดับผู้บริหารและมีการลงทุนในการสรรหาและการฝึกอบรมโดยจ่ายค่าตอบแทนที่สูงมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนเป็นการไล่ล่าคนเก่งมาทำงาน
ง. ความคาดหวังจากคนเก่ง ในปัจจุบันมิได้ให้ความสำคัญกับความจงรักภักดี แต่ให้ความสำคัญกับผู้นำประชาธิปไตยมากกว่าผู้นำแบบบงการหรือเผด็จการ มีความยืดหยุ่นเวลาในการทำงาน,ให้โอกาสการทำงาน, ในปัจจุบันของไทยบุคลากรส่วนใหญ่ชอบผู้นำแบบปรึกษาหารือมากกว่าผู้นำแบบอำนาจนิยม
จ. มีการเคลื่อนย้ายบุคคลจากชนบทสู่เมืองอันเนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐาน และการศึกษา,การขนส่งมากขึ้น
ฉ. มีวัฒนธรรมที่ให้การเคารพตามสายการบังคับบัญชา บุคลากรไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นตรงไปตรงมากับผู้บริหาร และไม่กล้าวิพากย์วิจารณ์กับเจ้านายหรือริเริ่มสร้างสรรค์ มักมีลักษณะคล้อยตามมากกว่า หรือสไตล์เยสแมน
ช. ความร่วมมือในอาเซียน มีการสนับสนุนร่วมกัน และรวมตัวกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน เป้าหมายมักมาจากคนมีอำนาจเหนือกว่า และไม่ส่งเสริมการการแสดงความคิดเห็น หรือความเห็นต่างทำให้การพัฒนาเป็นไปได้ยากขึ้น
ซ. การประเมินผลงานโดยบริษัทยังอยู่ในวงแคบ ๆ ในหมู่ผู้ถือหุ้น มีการนำเอาแนวคิดตะวันตกมาใช้ในวงแคบ เลือกใช้เฉพาะที่จำกัดแต่ยังขาดองค์ประกอบที่สมบูรณ์
ฌ. ส่วนผสมทางธุรกิจ ซึ่งไม่เน้นเฉพาะอุตสาหกรรม แต่เน้นงานบริการ และการพัฒนาซอฟท์แวร์ และการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่ก้าวหน้าในการนำของอาเซียน
ญ. เน้นความสัมพันธ์ หรือคอนเนคชั่นมากกว่าเน้นความเชี่ยวชาญทางเทคนิค เช่นในการมีความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ
ฎ. รูปแบบธุรกิจที่มี 3 รูปแบบได้แก่ ธุรกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของ, ธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ และธุรกิจที่บริษัทนานาชาติเป็นเจ้าของ รูปแบบธุรกิจของอาเซียน ทำให้อาเซียนมีการปรับตัวตามกระแสขององค์การที่เปลี่ยนไป


สิ่งที่ผู้นำอาเซียนตามทัศนะของเดฟ อูลริช และโรเบอร์ต ซัตตัน ควรจะมี ได้แก่
ก. การส่งเสริมการปฏิบัติที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
ข. เน้นการนำกลยุทธ์ไปใช้อย่างแท้จริง กลยุทธ์ที่ไม่ได้ลงมือทำก็เหมือนไม่มีกลยุทธ์นั่นเอง
ค. ผู้นำต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมให้สอดคล้องต่อวัฒนธรรมของอาเซียน,มีความยืดหยุ่น,คล่องแคล่วและมีความสามารถในการตอบสนองลูกค้าได้ดี
ง. การปกครองของผู้บริหารภาครัฐโดยผ่านการตัดสินใจ ซึ่งหมายถึงสิ่งที่จำเป็นต้องตัดสินใจคืออะไร? ใครเป็นผู้ตัดสินใจ ? และจะตัดสินใจอย่างไร?
จ. การสร้างแรงดลใจในการส่งเสริมความร่วมมือ ส่งเสริมความผูกพันในการทำงานหนัก และส่งเสริมคุณค่าให้กับบุคลากรภายในหน่วยงานและลูกค้าตลอดจนผู้ถือหุ้น
ฉ. สามารถจัดการความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม ส่งเสริมให้บุคลากรทำงานร่วมกันเป็นทีม, มีความสามารถในการสร้างผลผลิต และงานสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยการพัฒนาและการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผล
ช. การพัฒนาอาชีพ สามารถจัดการอาชีพส่วนบุคคล สร้างความสมดุลย์ระหว่างความเชี่ยวชาญที่ลึกซึ้งและความสามารถในการมองแบบกว้างไกล เป็นทั้งนักชำนาญการเฉพาะ และนักรอบรู้กว้างขวาง
ฌ. การสร้างผู้นำ มีความจำเป็นในการสร้างผู้นำอาเซียนในคนรุ่นต่อไป สามารถจัดการกับอนาคตได้ ไม่ใช่แค่ปัจจุบัน จะต้องมีการวางแผนสืบสานตำแหน่งผู้นำที่มีความฉลาดและดีที่สุดให้อยู่กับบริษัทได้นาน ๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ