ประเทศไทยถูกครอบงำด้วยระบบการเมืองที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย


วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


          การครอบงำทางการเมืองไทย มีมาเป็นเวลามากกว่า 60 ปี ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ของประเทศไทยไม่ได้มีสิทธิทางประชาธิปไตยมานาน แต่เมื่อสังคมไทยเจริญด้วยข้อมูลข่าวสาร ทำให้การเข้าถึงความรู้ข้อมูลข่าวสารมีมากขึ้น  ซึ่งการครอบงำนั้นเหมือนกับกะลาภิวัฒน์สังคมไทย ทำให้ประชาธิปไตยไม่สามารถเป็นของประชาชนไทยส่วนใหญ่   และทำให้ผลประโยชน์ของชาติตกทอดไปสู่บุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจยึดโยงกับระบบย่อยต่าง ๆ ของสังคม   จะเห็นว่าการแสดงออกของผู้มีความรู้ แต่ไม่เข้าใจปัญหาสังคม จึงมักมองข้ามบุคคลที่เสียเปรียบสังคมเสมอ นั่นก็คือมักมองแบบอัตวิสัย แต่ไม่เข้าใจภาวะวิสัย จึงสะท้อนบุคลิกที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง หรือพวกชอบไต่เต้าทางสังคมที่เป็นระบบอุปถัมภ์ โดยไม่นิยมระบบคุณธรรม  ซึ่งปัจจุบันระบบอุปถัมภ์ครอบงำไปหมดทั้งระบบราชการ และระบบธุรกิจ เพียงแต่ระบบธุรกิจดีกว่าทางภาคราชการ เพราะต้องการคนเก่งไปทำงาน  แต่การเป็นคนดึมาทำงานอาจไม่ประสบความสำเร็จ หรือพาให้ชาติอยู่รอดได้ กล่าวคือต้องเป็นทั้งคนเก่ง และคนดี แต่คำว่าดีไม่ใช่การผูกขาดความคิดเฉพาะกลุ่มบุคคลของสังคม และเนื่องจากความดีเป็นเรื่องนามธรรมเป็นสิ่งที่วัดจับต้องไม่ได้   หากเราจะเอาคนดีมากไปปกครองประเทศก็ไม่สามารถทำความเจริญได้ เช่นให้พระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิับัติชอบมาปกครองประเทศก็ไม่สามารถนำพาให้ชาติไปรอดได้     ดังนั้นการพูดเรื่องคุณธรรมความดีเป็นเรื่องวาทะกรรมที่พูดแล้วไม่เห็นวิสัยทัศน์ของคนที่จะมาเป็นผู้นำ  ผู้ที่ไม่มีวิสัยทัศน์ก็ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้   ดังนั้นการบริหารหรือการปกครองทั่วโลกเขาวัดกันที่ประสิทธิภาพ (efficiency), ประสิทธิผล (effective) และ คุณภาพ (Quality) รวมทั้งการบริการที่รวดเร็ว (high speed delivery)   หากดูทั่วโลกแล้วคงไม่มีประเทศใหนในโลกแอบอ้างเรื่องคุณธรรม เพราะจริง ๆ แล้วมนุษย์ต่างมีความดีความชั่วทุกตัวคนอยู่แล้ว เพียงแต่มีความดี หรือทำประโยชน์ให้บ้านเมืองหรือประชาชนดีกว่ากัน และในทางปรัชญามีข้อถกเถียงกันมากและหาข้อสรุปไม่ได้ว่าความดีคืออะไร แต่การทำประโยชน์บ้านเมืองต่างหาก และประชาชนได้รับผลดีจากการบริหารปกครองต่างหาก   โดยสรุปการแอบอ้างความดีจึงเป็นวาทะกรรมของนักเผด็จการที่อิงแอบเพื่อทำลายอำนาจของประชาชนมากกว่า และสร้างความลุ่มหลงเสพย์ติดความคิดผิด ๆ ให้กับสังคมไทย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ