การวิเคราะห์ swot analysis
การวิเคราะห์ swot analysis
1. เทคนิค Swot analysis ถูกค้นพบโดยอัลเบอร์ต ฮัมฟรี่ย์
ที่นำเอาแผนงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในปี ค.ศ.1960 และ 1970
2. เขาใช้ข้อมูลจากฟอร์จูน 500
บริษัทเพื่อหาสาเหตุว่าทำไมการวางแผนของบริษัทจึงล้มเหลว
3. จากผลงานวิจัยระบุถึงพื้นที่สำคัญที่เป็นวิกฤติต่อการวางแผนบริษัทและเครื่องมือที่นำไปใช้ในการสำรวจในแต่ละพื้นที่วิกฤติเรียกว่าเป็น Soft analysis
4. อัลเบอร์ต ฮัมฟรี่ย์
และทีมวิจัยต้นแบบได้นำไปใช้ในประเภทดังต่อไปนี้ “อะไรคือสิ่งที่ดีในปัจจุบันคือความพึงพอใจ,
ดีในอนาคตคือโอกาส,ไม่ดีในปัจจุบันคือความผิดพลาด,และเลวร้ายในอนาคตคือปัญหาคุกคาม
5. ในปี ค.ศ.1964 ในที่ประชุม F ในคำว่า “SOFT” ถูกเปลี่ยนเป็น W และดังนั้น จึงก่อให้เกิด “SWOT Analysis เท่าที่รู้ในปัจจุบัน และจึงนำมาใช้อยู่จนทุกวันนี้
6. SWOT Analysis ประกอบด้วย
S = Strongness W = Weakness
O = Opportunity T = Threath
7. SWOT Analysis คือเครื่องมือในการวางแผนเพื่อนำไปใช้ในความเข้าใจจุดแข็ง,จุดอ่อน,โอกาส
และปัญหาคุกคามที่เกี่ยวข้องกับแผนงานและธุรกิจ
8. SWOT Analysis ทำให้กลุ่มและบุคคลจัดการกับปัญหาทุกวี่วันและมองไปที่กลยุทธ์แบบเดิม
ๆจากแนวคิดใหม่
9. SWOT Analysis ถูกนำไปใช้เป็นกรอบความคิดเพื่อการจัดองค์การและการใช้ข้อมูลและข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการวิเคราะห์สถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก
10.
จุดแข็งคือลักษณะของธุรกิจหรือทีมที่ให้ผลประโยชน์ต่อคนอื่นในอุตสาหกรรม
11.
จุดแข็งคือทัศนะเชิงบวก,สิ่งที่สัมผัสได้
และลักษณะที่ไม่สามารถสัมผัสได้ ภายในองค์การ
12.
จุดแข็งคือลักษณะที่เป็นประโยชน์ขององค์การหรือความสามารถขององค์การซึ่งได้แก่สมรรถนะมนุษย์,ทรัพยากรการเงิน,สินค้าและบริการ,
ค่านิยมลูกค้าและความจงรักภักดีต่อตราสินค้า
13.
ตัวอย่างจุดแข็งขององค์การได้แก่
ทรัพยากรการเงินที่อุดมสมบูรณ์, ตรายี่ห้อทีติดตลาด,
มีเศรษฐกิจในแง่ขนาด,
มีต้นทุนการผลิตต่ำลง,มีการจัดการที่เหนือชั้นกว่า,มีทักษะการตลาดที่เป็นเลิศ,มีการกระจายห่วงโซ่อุปทานที่ดี,
มีความผูกพันต่อบุคลากรที่ยิ่งใหญ่
14.
จุดอ่อน
คือที่ตั้งขององค์การไม่เอื้อประโยชน์ต่อคนอื่น,
การหันเหองค์การจากความสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายและส่งผลต่อความเติบโตขององค์การที่เป็นแก่นแกน ,ปัจจัยที่ไม่ได้ตอบสนองมาตรฐานที่กำหนดภายในองค์การ
15.
ตัวอย่างจุดอ่อนขององค์การได้แก่
การมีทรัพยากรที่จำกัด,มีงบประมาณการวิจัยและพัฒนาค่อนข้างต่ำ,มีสายผลิตภัณฑ์ที่แคบ,มีการกระจายห่วงโซ่อุปทานที่อ่อนแอ,มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า,มีผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี่ที่ล้าสมัย,
มีภาพพจน์การตลาดที่ไม่ดี,มีทักษะการตลาดที่ไม่ดี,มีทักษะการจัดการที่อ่อนแอ,มีบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนต่ำกว่าเกณฑ์
16.
โอกาสได้แก่ โอกาสที่จะทำกำไรที่ดีกว่าในสภาพแวดล้อม,
ปัจจัยดึงดูดภายนอกที่แสดงถึงเหตุผลสำหรับองค์การเพื่อการอยู่รอดและพัฒนาขึ้น.
สถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ขององค์การในการวางแผน
และดำเนินกลยุทธ์ที่สามารถทำให้มีกำไรมากขึ้น
17.
องค์การควรจะระวังและตระหนักถึงโอกาสและรู้เท่าทันเหตุการณ์ทีเกิดขึ้น,
โอกาสอาจเกิดขึ้นจากตลาด,อุตสาหกรรม/รัฐบาล และเทคโนโลยี
18.
ตัวอย่างโอกาสสำหรับองค์การได้แก่ความเติบโตของตลาดที่รวดเร็ว,
มีคู่แข่งที่น่าพอใจ,การค้นพบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการค้นพบใหม่,การเปลี่ยนแปลงความต้องการและรสนิยมลูกค้า,
เศรษฐกิจที่เติบโต,การลดกฎระเบียบของรัฐ,ความตกต่ำสำหรับสินค้าทดแทน
19.
ปัญหาคุกคามคือ องค์ประกอบภายนอกในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุในความยุ่งยากของธุรกิจ,
ปัจจัยภายนอกที่นอกเหนือการควบคุมองค์การซึ่งกำหนดภารกิจขององค์การหรือการดำเนินการภายใต้ความเสี่ยง,
สภาพการณ์ในสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เสี่ยงอันตรายต่อความเชื่อถือได้และความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจองค์การ
20.
ปัญหาคุกคามรวมเอาถึงสิ่งลวงตาเมื่อเกี่ยวข้องกับจุดอ่อน ปัญหาคุกคามจึงไม่สามารถควบคุมได้
เมื่อเกิดปัญหาคุกคามความมั่นคงและความอยู่รอดต่อผู้ถือหุ้น
21.
ตัวอย่างปัญหาคุกคามได้แก่
การเข้ามาแข่งขันของคู่แข่งต่างประเทศ,การนำผลิตภัณฑ์ทดแทนใหม่ ๆ
,ความเสื่อมของวัฏจักรผลิตภัณฑ์,การเปลี่ยนแปลงความต้องการและรสนิยมลูกค้า,กลยุทธ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทคู่แข่ง,การเพิ่มกฎระเบียบของรัฐบาล,การเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง
22.
วัตถุประสงค์ของ SWOT analysis คือ
จุดแข็งได้แก่กลยุทธ์, ข้อบังคับและการควบคุม,ผลงาน
จุดอ่อนได้แก่กลยุทธ์, ข้อบังคับและการควบคุม,ผลงาน
โอกาสขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป,สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม,คู่แข่งที่สำคัญ
ปัญหาคุกคามเป็นการวิเคราะห์ของสภาพแวดล้อมทั่วไป,สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม,คู่แข่งที่สำคัญ
23.
SWOT Analysis คือการใช้ประโยชน์จากลักษณะต่าง ๆ จากทัศนะดังต่อไปนี้
คือผู้ดำรงตำแหน่ง, หน่วยธุรกิจ (Business Unit), บริษัท (Company)
SWOT Analysis (ก)ใช้ประโยชน์จากผู้ดำรงตำแหน่งต่อเมื่อหัวหน้างานของเขามีประเด็นปัญหากับผลที่ได้ของงาน,
(ข) เมื่อเขาได้รับมอบหมายงานใหม่ (ค) เมื่อเขาได้เผชิญหน้ากับเป้าหมายที่เผชิญหน้า
(ง) เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งแสวงหาการปรับปรุงผลงานในขณะที่ปฏิบัติงาน
24.
SWOT Analysis เป็นประโยชน์สำหรับหน่วยธุรกิจต่อเมื่อ
(ก)ทีมไม่ได้ตอบสนองต่อเป้าหมาย (ข)
เมื่อความต้องการบริการลูกค้าได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น (ค)เมื่อมีการดำเนินหน่วยธุรกิจใหม่เมื่อจะดำเนินธุรกิจ,
เมื่อผู้นำทีมใหม่ได้รับการแต่งตั้งจากหน่วยธุรกิจ
25.
SWOT Analysis มีประโยชน์ต่อบริษัทเมื่อรายได้,ต้นทุน,และค่าใช้จ่ายและเป้าหมายไม่สามารถบรรลุได้,
เมื่อส่วนแบ่งตลาดกำลังลดลง,เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ,เมื่อมีการลงทุนธุรกิจใหม่
26.
SWOT Analysis มีประโยชน์และไม่ได้มีข้อจำกัดเป็นองค์การที่แสวงหากำไร SWOT Analysis อาจนำไปใช้ในสถานการณ์ตัดสินใจเมื่อวัตถุประสงค์ปลายทางของรัฐเป็นสิ่งที่น่าพึงปรารถนา
อย่างไรก็ตามยังนำไปใช้ตัดสินใจในองค์การที่ไม่เน้นกำไร,
หน่วยงานรัฐบาลและปัจเจกชน SWOT Analysis อาจนำไปใช้ในการวางแผนก่อนวิกฤติ
และการจัดการวิกฤติเชิงป้องกัน, SWOT Analysis อาจนำไปใช้ในการส่งเสริมคำแนะนำในระหว่างการศึกษาและการสำรวจที่ทำงานได้
27.
จุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์ SWOT Analysis
เพื่ออธิบายปัจจัยภายในและภายนอกที่สำคัญต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ สิ่งต่าง
ๆเหล่านี้เป็นสายโซ่คุณค่าที่เป็นสิ่งเหมือนกัน
ข้อมูลสำคัญของกลุ่มวิเคราะห์ SWOT Analysis มีสองประเภทได้แก่
ปัจจัยภายใน คือจุดแข็งและจุดอ่อนภายในองค์การ
ปัจจัยภายนอก
ได้แก่โอกาสและปัญหาคุกคามจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ
28.
ปัจจัยภายในอาจมีทัศนะหมายถึงจุดแข็งหรือจุดอ่อนขึ้นอยู่ผลกระทบต่อวัตถุประสงค์องค์การ
29.
สิ่งที่แสดงถึงจุดแข็งด้วยวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอาจจะเป็นจุดอ่อนอีกวัตถุประสงค์หนึ่ง
30.
เป็นสิ่งสำคัญที่สังเกตว่าปัจจัยภายในคือภายในการควบคุมขององค์การ
เช่นการดำเนินการ, การเงิน,การตลาด และด้านอื่น ๆ
31.
ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจได้แก่ 4P’S เช่นเดียวกับบุคลากร,การเงิน,ความสามารถในการผลิต
และอื่น ๆ
32.
ปัจจัยภายนอกคือสิ่งที่อยู่นอกการควบคุมองค์การ
เช่นปัจจัยทางการเมือง,และเศรษฐกิจ,เทคโนโลยี,การแข่งขัน และอื่น ๆ
ปัจจัยภายนอกอาจได้แก่เรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาค,การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี,ตัวบทกฎหมาย,การเปลี่ยนแปลงสังคมวัฒนธรรม,
เช่นเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงในเวทีตลาด หรือในตำแหน่งแข่งขัน
33.
SWOT Analysis คือก้าวสำคัญในการปรับปรุงกลยุทธ์องค์การ
34.
การทดสอบความสามารถภายในบริษัททั้งจุดแข็งจุดอ่อน
และสภาพแวดล้อมภายนอก โอกาสและปัญหาคุกคามองค์การช่วยส่งเสริมกลยุทธ์ที่ป้องกันก่อนปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งท้าทายองค์การ
35.
มี 4 เสี้ยวของวงกลมใน SWOT Matrix ด้วยเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ระยะสั้น องค์การควรมุ่งเน้นอย่างน้อยหนึ่งหรือสองเสี้ยวของวงกลม
สำหรับระยะยาวก็สามารถแนะนำได้ว่าได้แก่เป้าหมายที่กำลังเกิดขึ้นในแต่ละเสี้ยววงกลมเพื่อส่งเสริมความสมดุลย์
36.
เสี้ยวที่ 1 จุดแข็งและโอกาส
เป็นเสี้ยวที่องค์การกำหนดกลยุทธ์โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งเพื่อว่ามันสามารถทำให้ได้โอกาสที่ดีที่สุดที่กำหนดด้วยตนเอง
สิ่งนี้สำคัญเพราะว่ามันเป็นโอกาสที่อาจนำเสนอได้ในช่วงระยะเวลาอันสั้น
37.
เสี้ยวที่ 2 จุดอ่อนภายในที่เกี่ยวข้องกับโอกาสภายนอก
ช่วยให้องค์การกำหนดกลยุทธ์โดยการใช้จุดแข็งเพื่อลดหรือขจัดปัญหาคุกคามองค์การที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบัน
38.
เสี้ยวที่ 3 จุดแข็งภายในที่เกี่ยวข้องกับปัญหาคุกคามภายนอก
ช่วยให้องค์การกำหนดกลยุทธ์โดยเปิดโอกาสเส้นทางโดยลดจุดอ่อนที่นำเสนออยู่ในปัจจุบันนี้
39.
เสี้ยวที่ 4 จุดอ่อนภายในที่เกี่ยวข้องกับปัญหาคุกคามภายนอก
ช่วยให้องค์การกำหนดกลยุทธ์เพื่อบรรเทาเบาบางหรือหลีกเลี่ยงปัญหาคุกคามอันเป็นผลมาจากจุดอ่อนของตนเองในองค์การ
40.
การสร้างกลยุทธ์ การวิเคราะห์
SWOT Analysis โดยตัวของมันเองไม่มีความหมายหากไม่ถอยหลังไปทั้งหมด
มีแผนปฏิบัติการที่นิยามเป็นอย่างดี
ซึ่งทำงานได้ดีที่สุดเมื่อส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทั้งหมดหรือในบริบทหรือสถานการณ์
กลยุทธ์อย่างง่าย ๆ สามารถนิยามโดยใช้แบบจำลอง 4A’s ได้แก่
ก.
Aim คือจุดประสงค์หรือวัตถุประสงค์
ข.
Assess คือประเมินคือการทบทวน swot ในตัวของมันเอง
ค.
Activate คือระบุจุดแข็งหรือเครื่องวัดความสำเร็จและใช้ประโยชน์ได้
ง.
Apply คือประยุกต์คือลงมือกระทำ
41.
TOW Analysis คือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขั้นพื้นฐานของจุดแข็ง,จุดอ่อน,ปัญหาคุกคาม,โอกาสในฐานะเป็น
SWOT Analysis อย่างไรก็ตามในการวิเคราะห์ TOW Analysis ปัญหาคุกคาม และโอกาสถูกทดสอบก่อน
และจุดอ่อนจุดแข็งถูกทดสอบทีหลัง หลังจากกำหนดรายชื่อปัญหาคุกคาม,โอกาส,จุดอ่อนและจุดแข็ง ผู้บริหารต้องทดสอบวิธีที่บริษัทได้ประโยชน์ของโอกาส
และมีปัญหาคุกคามน้อยที่สุดโดยขจัดจุดแข็งและเอาชนะจุดอ่อน
ดังนั้นคุณสามารถเห็นได้ทั้ง SWOT และ TOWS ซึ่งได้แก่ขั้นตอนพื้นฐานเหมือนกันและดังนั้นเป็นการผลิตผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตามผู้บริหารคิดถึงจุดแข็ง,จุดอ่อน,ปัญหาคุกคามและโอกาสซี่งอาจจะมีผลกระทบที่แตกต่างกันเกี่ยวกับทิศทางของการวิเคราะห์
สิ่งนี้เป็นเพราะว่ามุ่งเน้นปัญหาคุกคามและโอกาสครั้งแรกที่ช่วยเหลือนำไปสู่การอธิบายผลผลิตในสิ่งที่กำลังดำเนินไปในสภาพแวดล้อมภายนอก
ดังนั้นคุณไม่เพียงแต่เริ่มต้นโดยการเน้นคำอธิบายที่เป็นนามธรรมเกี่ยวกับบริษัทว่าดีหรือไม่ดี
42.
การจับคู่และการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ SWOT Analysis
-
เป็นการจับคู่โดยใช้การค้นหาความได้เปรียบเชิงแข่งขันโดยจับคู่จุดแข็งไปสู่โอกาส
-
การค้นหาตลาดใหม่เป็นตัวอย่างของกลยุทธ์ปรับเปลี่ยน
-
การปรับเปลียนคือกระบวนการประยุกต์กลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนจุดอ่อนหรือปัญหาคุกคามไปสู่จุดแข็งหรือโอกาส
-
ยิ่งกว่านั้น
หากปัญหาคุกคามหรือจุดอ่อนไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้แล้ว
องค์การก็ควรจะพยายามลดให้น้อยลงหรือหลีกเลี่ยงปัญหาคุกคาม
43.
SWOT Analysis สำหรับบริษัทวอลมาร์ท เช่น
จุดแข็ง คือมีตรายี่ห้อค้าปลีกที่มีพลัง
และมีชื่อเสียงที่ดี
ตอบสนองคุณค่าของเงิน,มีผลิตภัณฑ์อย่างกว้างขวาง, มีการจัดหาอย่างกว้างขวาง
มีการเติบโตตลอดปีที่ผ่านมา,
มีประสบการณ์ในการขยายงานระดับโลก,มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนระบบโลจิสติกส์นานาชาติ.
กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
จุดอ่อน
คือปัญหาการควบคุมอันเนื่องจากขนาดของร้านค้าปลีกของชำที่ใหญ่ที่สุดในโลก, ทั้ง
ๆที่ได้รับประโยชน์จาก IT แต่มันก็เผชิญขอบเขตที่เป็นจุดอ่อนอันเนื่องจากมีช่วงของการควบคุมมากเกินไป
และขาดการมุ่งเน้นที่ไม่เหมือนกับคู่แข่งอันเนื่องจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ตลอดจนภาคส่วนต่าง ๆ , บริษํทเป็นระดับโลก
แต่มีให้เห็นเพียงไม่มากในประเทศทั่วโลก
โอกาส คือการเข้าไป Take Over ,การเข้าไปร่วมหรือกำหนดพันธมิตรกลยุทธ์กับพ่อค้าปลีกระดับโลก, การมุ่งเน้นตลาดจำเพาะเช่นยุโรป, การมีโอกาสธุรกิจในอนาคตในการขยายตลาดผู้บริโภค
เช่นจีนและอินเดีย,
การแสวงหาทำเลที่ตั้งใหม่ และรูปแบบร้านค้าที่แตกต่างกัน
ปัญหาคุกคาม
การก่อให้เกิดปัญหาคุกคามทางการเมืองในประเทศท้องถิ่นที่วอลมาร์ทเข้าไปดำเนินการ,
การมีเป้าหมายเด่นชัดของการแข่งขัน,ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับโลกเนื่องจากเป็นห้างอันดับหนึ่งของโลก,
การแข่งขันอันเนื่องมีต้นทุนการผลิตลดลงเนื่องจากการจ้างเหมางานในภูมิภาคของโลกที่มีต้นทุนต่ำ,
การแข่งขันราคาซึ่งเป็นผลในเงินฝืดในบางแห่ง
-
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น