บทความ

องค์ประกอบสำคัญในการสร้างชุมชนคนเก่ง โดยอาดี แกสเกล

          สื่อทางสังคมให้โอกาสอย่างมากมายสำหรับทีมงานทรัพยากรมนุษย์สำหรับการทำงานให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น และเป็นส่วนสำคัญพื้นฐานของสิ่งที่เรียกว่าเป็นชุมชนคนเก่ง   ชุมชนคนเก่งเป็นสถานที่ที่เป็นสิ่งส่งเสริมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย, มีบุคคลที่มีคุณสมบัติในการจัดหาตัวแทนบริษัทในการพัฒนาต่อท่ออย่างยั่งยืนสำหรับการแสวงหาแหล่งบุคคล, การสรรหา,การฝึกอบรมและพัฒนา   การมีชุมชนคนเก่งที่เข้มแข็งมีผลต่อการแบ่งส่วนของการจัดการความเก่งของคุณคุณได้อย่างมากมายและดูดี   มันช่วยให้คุณวางแผนกำลังคน, จัดการกับชื่อเสียงของนายจ้าง, พัฒนาความเหมาะสมในเชิงวัฒนธรรมอย่างเข้มแข็งเหมาะสมและผดุงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับศิษย์เก่า อย่างไรก็ตาม  ในฐานะที่เป็นชุมชนใดก็ตาม มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ช่วยสร้างชุมชนความเก่งของคุณเท่าทีีทำได้    ในที่นี้มีอยู่ 5 ประการที่ผู้เขียนมีความมั่นใจว่าจะสร้างผลผลิตในชุมชนคนเก่ง          1. มีเป้าประสงค์ชัดเจน  เข้าใจในสิ่งที่คุณต้องการบรรลุความสำเร็จในชุมชนของคุณ          2. มีห้องประชุมที่แสดงออก  สื่อทางสังคมจำเป็นต้องมีส่วนในการยอมรับวัฒนธรรมองค์การของคุณสำหรับแผนริเริ่มดังเช

กลอนสามท่อน "แนวคิดรัฐประหาร"

          รัฐประหารแบบไทยไทย  ประเทศใหนไม่มีเหมือน  สะกิดเตือนคนไทย      แปดสิบปีที่ผ่านไป           เกิดแล้วไซร้สิบแปดครั้ง    ไม่เห็นครั้งใดดี      มีแต่เดินถอยหลัง            ทั่วโลกทั้งติฉิน                ทั่วแผ่นดินร้อนระอุ      ก่อให้เกิดแตกแยก           แผ่นดินแตกเป็นก๊ก           ต่างหยิบยกโจมตี           ด้วยวิธีแยบยล           อุบายกลแยบคาย             เพื่อยื้อแย่งอำนาจ      ต้องหาความชอบธรรม     เพื่อหาทางทำลาย            ด้วยมุ่งหมายไม่ดี      โดยเบื้องหน้าดูดี            แต่หลังฉากเปลี่ยนสี          และย่ำยีคนไทย      ทำให้ชาติล้าหลัง            คอยฉุดรั้งก้าวไป              คนส่วนใหญ่ยากจน           รัฐประหารนั้นเกิดขึ้น   ทุกวันคืนเป็นอยู่               เพราะมีผู้คุมอำนาจ      คอยกำกับรัฐบาล            มุ่งเผาผลาญความดี          และป้ายสีหาเรื่อง      วางกับดักต่อเนื่อง           คอยคุยเขื่องทับถม           มุ่งคอยล้มรัฐบาล      อาจเป็นการยึดอำนาจ      ประชาราษฎร์ข่มขืน          คนถือปืนคุมเกมส์           รัฐประหารแบบเนียน   โดยคิดเขียนวางแผน         ด้วยว

"สุภาษิต นักเผด็จการ" ตอนที่สอง

"ที่ใดที่ประชาชนเกรงกลัวรัฐบาล ที่นั่นมีเผด็จการทรราชย์, ที่ใดที่รัฐบาลเกรงกลัวประชาชนที่นั่นมีเสรีภาพ" ―โทมัส เจฟเฟอร์สัน "ไม่มีเผด็จการทรราชย์ใดที่เลวร้ายมากกว่าการบังคับคนให้ชดใช้ในสิ่งที่เขาไม่ต้องการเพียงแต่เพราะเขาคิดว่าว่ามันคงจะเป็นดีสำหรับเขา"―โรเบอร์ต เอ.ไฮนล "หากเผด็จการทรราชย์และการกดขี่เกิดขึ้นมาในแผ่นดินนี้ ก็จะเป็นหน้ากากของการต่อสู้กับศัตรูกับชาวต่างชาติ"  - เจมส์ เมดิสัน "ประชาธิปไตยไม่มีอะไรมากไปกว่ากฎของมวลชน,  เมื่อคนทั้งหมด 51 เปอร์เซ็นต์อาจจะถือสิทธิ์เหนือกว่าคนอีก 49 เปอร์เซ็นต์   - โทมัส เจฟเฟอร์สัน "การไม่ยอมให้ข้อมูลข่าวสาร (ปกปิดข้อมูล) คือสาระสำคัญของนักเผด็จการ  การควบคุมการไหลของข้อมูลข่าวสารคือเครื่องมือของความเป็นเผด็จการ"  - บรู๊ซ โควิลล์ "การเป็นขบถต่อเผด็จการทรราชย์คือการเชื่อฟังต่อพระเจ้า"  - โทมัน เจฟเฟอร์สัน "ประชาธิปไตยที่สร้างหรือเตรียมการอย่างดีสำหรับความเป็นสมัยใหม่,  สงครามวิทยาศาสตร์ต้องฉุดรั้งการเป็นประชาธิปไตย  ไม่มีประเทศใด ๆสามารถเตรียมการได้อ

"ตัวอย่าง กลอนสามท่อน เรื่องการปรองดอง"

             การปรองดองเมื่อครั้งก่อน   ไม่อาจผ่อนผันความร่วมมือ  เพราะยึดถืออัตตาตั้ง     แต่ปรองดองครั้งหลัง                   กลับระวังมากกว่าก่อน        ไม่อาจทำใจได้เช่นเดิม     หากเรามุ่งส่งเสริม                       สามัคคีของชาติไทย          ดำรงไซร้ความเที่ยงธรรม     ต้องยอมถอยคนละก้าว                ยอมแพ้กันบ่างเป็นไร          ส่วนรวมไทยได้ประโยชน์              นึกถึงคนไทยทั่วหล้า          ชาวประชาเป็นสุข              เพื่อปลุกฟื้นคืนชีพ     เศรษฐกิจไทยเร่งรีบ                    เป็นประทีบความหวัง          ความชิงชังคืนกลับ     มาเริ่มรักผองไทย                       มีไมตรีเมตตา                   ทั่วอาณามีสุข     เริ่มคลี่คลายหายทุกข์                  ที่ล้มลุกเริ่มเดิน                 บางคนเหินสู่นภา              สามัคคีกันไว้น้องพี่            เหมือนก่อนเก่าเคยเป็น       อย่าเพียงมุ่งเล็งเห็น     ฝักไฝ่แก่อำนาจ                         เกียรติยศเงินตรา                พาให้จิตหมองมัว     เร่งแก้ไขตนเอง                         ไม่ข่มเหงคนไทย               เพื่อได

กลอนตัวแบบการเปลี่ยนแปลง (Change Model)

รูปภาพ
              ตัวแบบหรือสมการการเปลี่ยนแปลง    แนวคิดแห่งนักวิชาการที่มีชื่อ    ชื่อริชาร์ด,รูเบ็นท่านยึดถือ                       นามระบือทั่วหล้าปฐพี    กีชเช่อร์นำแนวคิดมาประมวล                   เพื่อทบทวนเครื่องมืออย่างถ้วนถี่    เพื่อสร้างภาพประทับใจเป็นอย่างดี            สู่วิถีเงื่อนไขขององค์การ            ขั้นตอนพัฒนาองค์การนี้                 สมการที่เปลี่ยนแปลงที่เห็นได้    เป็นขั้นตอนสำคัญอย่างยิ่งใหญ่                 นำมาใช้พัฒนาในองค์การ    ได้มีการแพร่หลายตลอดเวลา                   เพื่อนำพาตอบสนองความต้องการ    แก่นายจ้างมุ่งหวังดำเนินงาน                    นำเป็นฐานข้อตกลงกับคนงาน            เพื่อความก้าวหน้างานบริหาร            เข้าใจการเชื่อมสัมพันธทั้งสองข้าง   ในระหว่างการมีส่วนร่วมของลูกจ้าง             กลับแนวทางความสำเร็จขององค์การ   ความเคลื่อนไหวมีส่วนร่วมการเปลี่ยนแปลง   รวมจัดแจงจัดจ้างที่ปรึกษา   ทั้งภายในภายนอกองค์การนา                    แสวงหาแนวต้านการเปลี่ยนแปลง             เมื่อย้อนยุคความคิดยุคเก่าหนา        นักวิชาเฟรดเดอริคเจ้าความ

กลอน "ก้อนน้ำแข็งของการจัดการการเปลี่ยนแปลง" (Change Management)

รูปภาพ
                      ก้อนน้ำแข็งการจัดการการเปลี่ยนแปลง    ถ้อยแถลงความคิดของครูเกอร์          ทำให้มองเห็นเด่นชัดเมื่อเจอะเจอ                 สิ่งเสนอสามารถโต้แย้งได้          ในสาระการเปลี่ยนแปลงขององค์การ             ที่กล่าวขานคืออุปสรรคไซร้          บนสุดก้อนน้ำแข็งเขากล่าวไว้                      ประเด็นในต้นทุน,และเวลา                ยังหมายรวมถึงคุณภาพใน                    อยู่ภายใต้การจัดการเป็นประเด็น          สิ่งภายใต้ก้อนน้ำแข็งที่เล็งเห็น                    มีดังเช่นสองมิติอันได้แก่          การจัดการเปลี่ยนแปลงและติดตาม               ที่เรียกนาม "การจัดการ"ดังกล่าวแท้          ท้้งทางด้านการรับรู้,ความเชื่อแล                  และเกี่ยวแก่อำนาจรวมการเมือง                อุปสรรคที่เกิดขึ้นที่ควรแก้                     ที่แน่แท้คืออะไรชวนสงสัย          และจัดการติดตามผลอย่างมีนัย                   เกี่ยวเนื่องในสองประเด็นดังกล่าวนี้          หนึ่ง ชนิดของการเปลี่ยนแปลงเช่น                สิ่งที่เป็นของแข็งล้วนแล้วมี          คือข่าวสารข้อมูล,กรรมวิ

กลอน มิติแห่งการเปลี่ยนแปลง

               แนวคิดมิติแห่งการเปลี่ยนแปลง      ถ้อยแถลงโดยวิป,แพททิกิว       ในความคิดสามมิติต้องรีวิว                    ที่เป็นคิวเปลี่ยนแปลงตามจำนง       หนึ่ง มิติเนื้อหา นั้นอ้างถึง                        สิ่งคำนึงวัตถุเป้าประสงค์       และเป้าหมายที่กำหนดอย่างบรรจง           เพื่อดำรงคงไว้อย่างยั่งยืน                สอง มิติกระบวนการ ที่มุ่งตรง        รณรงค์ด้วยการติดตามผล       สาม มิติบริบท ในวังวน                          ล้วนระคนภายในนอกสิ่งแวดล้อม      วิปและแพททิกิวย้ำเน้นว่า                        ในคุณค่ามิติที่เพียบพร้อม      มีอิทธิพลต่อเนื่องและยินยอม                   ที่แวดล้อมสามมิติเชื่อมโยงกัน                การติดตามผลเปลี่ยนแปลงไม่อ้อมค้อม ต้องถนอมใช้แนวใหม่และสะสม      ทั้งติดตามซ้ำซากไม่ขื่นขม                      ต้องระดมเปลี่ยนแปลงอย่างกล้าแกร่ง      เป็นผลลัพธ์ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง                  ในท่ามกลางเนื้อหาสิ่งเปลี่ยนแปลง      ว่า อะไร เปลี่ยนแปลงอย่างแข็งแรง             ที่จัดแจงวัตถุประสงค์,เป้าประสงค์                รวมเป้าหมายเกี่ยว