บทความ

การเปรียบเทียบภาวะผู้นำ กับนักเผด็จการทรราชย์

ภาวะผู้นำและนักเผด็จการ          การวิเคราะห์ตามความเชื่ออาจแสดงว่าผู้นำและทรราชย์มีการแบ่งปันคุณลักษณะหลายอย่าง ทรราชย์มักดูทีแรกว่าเข้มแข็งและเป็นผู้นำที่ดี    บางที่มีความคลาดเคลื่อนในการอธิบายเหตุผลว่าทรราชย์ส่วนมากบรรลุถึงตำแหน่งภาวะผู้นำ    แต่ตารางนี้สามารถช่วยให้เรามองเห็นความแตกต่างและหลีกเลี่ยงความสำคัญผิดในการยอมรับอำนาจตามตำแหน่งของทรราชย์โดยไม่ได้มีการตรวจสอบ ภาวะผู้นำ (leadership) ทรราชย์ (Tyrants) มีวิสัยทัศน์ โดยยึดถือความชัดเจน,ที่น่าสนใจ, คิดอ่านออกได้ดี และมีวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์เพื่ออนาคต โดยมุ่งเน้นสนับสนุนความคิดที่กว้างขวาง  มีวิสัยทัศน์แต่ติดยึดในความคิดคับแคบ มีมุมมองที่แคบ มีความมุ่งมั่น ยืนหยัดต่อการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและไม่สะทกสะท้านต่ออุปสรรค และความพ่ายแพ้ กระด้าง, ขี้เหนียว,ไม่ยอมเสียสละ,เข้มงวดเกินไป,ใจไม่เปิด,ไม่มีเหตุผล และดื้อรั้น การมีอิทธิพลต่อผู้อื่น, สื่อสารอย่างเห็นอกเห็นใจในการข้องเกี่ยวกับบุคคล การมีอิทธิพล, มีบารมี,ท่าทางดูมีเสน่ห์, การข้องเกี่ยวกับบุคคล มีความกรุณาปรานี, ยังคงผูกพันแล

"ทฤษฎีภัยพิบัติ ตอนที่สอง"

              จุดกำเนิดทฤษฎีภัยพิบัติ      สิ่งแจ้งชัดปรับปรุงหนึ่งเก้าหกศูนย์      และนำเสนออย่างเกื้อกูล              ที่เพิ่มพูนนำใช้หนึ่งเก้าเจ็ดสอง      ชื่อเรนทอมนักคณิตศาสตร์           เขาสามารถเขียนตำรามาทดลอง      ชื่อเสถียรภาพโครงสร้างของ         การเกี่ยวข้องแหล่งกำเนิดในไบเบิ้ล               ทอมหวังจะทำนายที่เกี่ยวดอง ทำนายของพฤติกรรมในระบบ      ความสับสนที่ซับซ้อนมาบรรจบ      เพื่อประสบระดับเชิงปฏิบัติ      โดยอีซี.ซีแมนปีเจ็ดศูนย์               ความยืดหยุ่นนำใช้อย่างยืนหยัด      ด้วยวิธีการคุ้นเคยเข้าใจชัด            การเคร่งครัดพยากรณ์พฤติกรรม              ของระบบซับซ้อนในวิวัฒน์    ปรากฎชัดได้แก่แลกเปลี่ยนหุ้น      สองการรบกวนแหล่งกำเนิดคุณ       สามสิ่งหนุนเปลี่ยนแปลงชีวภาพ      สี่พฤติกรรมเชื่อมโยงเหมือนสะพาน  เน้นรากฐานใช้ทฤษฎีทราบ      ในทฤษฎีของทอมไม่หยามหยาบ     ต้องเข็ดหลาบเพราะใช้ไม่ได้ผล              ขั้นตอนกระบวนการสิ่งซึมซาบ มาจากคราบหลักวิชามาตกแต่ง      คือวิชาบริหารการเปลี่ยนแปลง         และหลักแห่งพัฒนาองค์การ      ในรูปแบบการเปลี่ยนแปลงนั้

"ทฤษฎีภัยพิบัติ" (Catastrophe Theory) ตอนที่หนึ่ง

             ทฤษฎีภัยพิบัตินั้นหมายถึง      การคำนึงเยียวยาการกระทำ       ที่ต่อเนื่องโดยหลักคณิตนำ            ผลิตทำปรากฎผลไม่ต่อเนือง       เกี่ยวโยงทฤษฎีความสับสน (chaos theory)  แม้ว่าผลปรับปรุงแยกส่วนเรื่อง       แต่ปัจจุบันเห็นชัดอยู่เนืองเนือง       เป็นฟันเฟืองทฤษฎีความสับสน             แม้ว่าธรรมชาติต้องใช้ที่เกื่ยวเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องคณิตศาสตร์ใช้ศึกษา       แต่สาระทฤษฎีสับสนที่กล่าวมา       มุ่งนำพาเข้าใจการเปลี่ยนแปลง       และความไม่ต่อเนื่องในระบบ         มีการพบว่างานนั้นชงักแรง       จึงดำรงสถานภาพอย่างแข็งแกร่ง   หรือมุ่งแห่งผลลัพธ์จับประเด็น             หากระบบยึดพลังการเปลี่ยนแปลง มีผลแห่งปฏิกิริยากัน      เป็นหนทางดูดซับความเครียดพลัน   ยิ่งกว่านั้นเป็นโอกาสกลับแนวเดิม      หากพลังการเปลี่ยนแปลงนั้นเข้มแข็ง ทฤษฎีแห่งภัยพิบัติอาจแต่งเติม      อาจเกิดสภาพรักษาสถานภาพเดิม    ที่เพิ่มเติมต่อยอดในแนวใหม่             จึงไม่มีวิถีย้อนจุดเดิม             โดยไม่เสริมสร้างแต่งเติมให้ดีกว่า     จากตัวอย่างหลักการจินตนา            ขวดน้ำหนาวางบนโต๊ะที่ตั้งตรง  

กลอนเกี่ยวกับพฤติกรรมองค์การ ตอนที่ 10

          การจัดการโลกาภิวัฒน์งาน      สำหรับการบริหารในยุคใหม่    ประจักษ์ในธุรกิจนานาชาติไซร้        กระแสในธุรกิจเป็นหลักเขต    หากไม่ขยายการค้านอกชายฝั่ง        ยังมีหวังคนลงทุนในประเทศ    ได้เรียนรู้การแข่งขันไร้ขอบเขต        จำเบิ่งเนตรโลกาล้วนแข่งขัน           ความซับซ้อนตลาดโลกมีหลายเกรด  มีประเทศอิสรภาพเกิดขึ้นมาก    ก่อกำเนิดกลุ่มการค้าภูมิภาค            ได้มาจากกลุ่มน้าฟต้าและยูโร    รวมทั้งเอเปค,อาเซียน,เมอร์คูซอล    รวมกลุ่มก้อนความร่วมมืออย่างอักโข    ทั่วทั้งโลกรวมกลุ่มแลดูโก้               ทำโรด์โชว์เศรษฐกิจเป็นมิตรกัน           มีสัญญาณตลาดโลกล้วนเติบโต การโยกโย้ซับซ้อนและอำนาจ   ตอนปลายปีสองพันหนึ่งไม่คิดคาด     จีนประกาศเป็นสมาชิกโลกการค้า (WTO)   โดยส่งเสริมปกป้องเขตการค้า           กล่าวกันว่ามีจีน,อาเซียนหนา   กอปร์ด้วยสิงคโปร์,มาเลเซียนา          ทั้งใต้หล้าอินโดนีเซีย,ฟิลิปปินส์          และบรุไน,ไทยแลนด์ตามกันมา   แผนการค้าเสรีกับจีนใหญ่   ปีสองพันสิบสมาชิกเพิ่มใหม่              ประเทศในเวียดนาม,กัมพูชา   รวมทั้งลาว,พม่าคิดวางแผน              เพื

ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalitic Mechanism) ตอนที่สอง

            คอลลินหยิบยกตัวอย่างโดยมุ่งเข็ม  ในสามเอ็ม,กอร์,เอช.พี,มารีนคอร์ป     การศึกษาภาครัฐในเขตขอบ                  รวมคลุมคลอบรัฐบาลเข้าเกี่ยวข้อง     คอลลินนั้นถ่ายทอดและปรึกษา              ล้วนที่มาจากองค์กรตามครรลอง     คือบริษัทหินแกรนิตที่เกี่ยวดอง              ที่ทดลองจ่ายใบกำกับระยะสั้น            คำประกาศบริษัทในทำนอง            ว่าทั้งผองไม่พอใจเหตุผลใด    ไม่ต้องจ่ายตามใบกำกับไว้                     โดยลบในข้อความที่กล่าวนั้น     และบันทึกข้อความเกี่่ยวปัญหา               สำเนามาถึงตรวจสอบกัน     การชำระในช่วงเวลาสั้น                        วางแผนนั้นเพื่อคำนึงสิ่งเตือนภัย            จากตัวอย่างการริเริ่มที่แบ่งปัน         แนวคิดนั้นคือตัวเร่งกิริยา    เป็นประโยชน์แนวทางการนำพา               ที่ว่าหนาคือนำกลยุทธ์ใช้    และประสิทธิผลองค์การดี                       แนววิธีที่มีผลดีอย่างยาวไกล    นักบริหารต้องประยุกต์ไซร้                      ผลดีในพึงพอใจแก่ลูกค้า            ขั้นตอนในตัวเร่งของกลไก              กระบวนในที่สำคัญไปตามกฎ   หนึ่งอย่าเพิ่มหรือเป

แนวคิดตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalytic mechnism) ตอนที่หนึ่ง

          แนวคิดตัวเร่งปฏิกิริยา       เครื่องนำพาการจัดการอย่างเรียบง่าย    โดยนักคิดจิม คอลลินอธิบาย    องค์กรกลายเป้าหมายสู่ผลลัพธ์    บทความฮาร์วาร์ดบิวสิเนสริวิว   โดยรีนิวหัวเรื่องคณานับ    ในอำนาจตัวเปลี่ยนเป็นแรงขับ   เจ้าตำรับหนังสือกู๊ดทูเกรท (Good to great)           ตัวเร่งปฏิกิริยาแรงขับ        เชื่อมโยงกับสิ่งประสงค์และผลงาน    แปรสภาพจากสิ่งไร้ขอบเขต      หาใช่เหตุหนทางงานภาครัฐ    ไปสู่การเปลี่ยนแปลงอีกแบบหนึ่ง ควรคนึงอุปรากรณ์ต่อเติมตัด    จากไฝ่ฝันไปสู่ความจริงชัด       เป้าหมายจัดยิ่งใหญ่บรรลุได้           จากพื้นฐานงานวิจัยที่จำกัด คอลลินจัดห้าลักษณะแบ่งแยก   ระหว่างตัวเร่งปฏิกิริยาแทรก       ที่ผิดแผกจากเครื่องมือในแบบเก่า   หนึ่งตัวเร่งปฏิกิริยามุ่งกำหนด      ผลทั้งหมดปรารถนาไม่คาดเดา   ไม่เหมือนระบบ,วิธีการเก่า          ที่คลุกเคล้าระบบราชการ           แต่ตัวเร่งปฏิกิริยาเร้า         ให้ไต่เต้ายิ่งใหญ่ในองค์การ   ด้วยยินยอมบุคลาการทำงาน       ด้วยจัดการในสิ่งไม่คาดฝัน   เพื่อริเริ่มแผนงานการสรรค์สร้าง   เพื่อก้าวย่างออกจากต้นแบบกัน   สองตัวเร่งปฏิ

ความหมายของคำว่า "สองมาตรฐาน" (Double standard)

รูปภาพ
ความหมายของสองมาตรฐาน (Double standard)          ความหมายของคำว่าสองมาตรฐาน คือการนำเอาชุดของหลักการที่แตกต่างกันไปใช้กับสถานการณ์ที่เหมือนกัน หรือใช้กับบุคคลที่แตกต่างกันในสถานการณ์ที่เหมือนกัน  การตัดสินเชิงสองมาตรฐานอาจใช้ในรูปแบบของคำร้องในแนวคิดเฉพาะ (มักเป็นตัวอย่าง,คำ,วลี,ปทัสถาน,หรือกฎที่สมควรได้รับการยอมรับในการนำไปใช้โดยกลุ่มบุคคลเพียงกลุ่มเดียว  แต่ถูกพิจารณาว่าไม่สามารถยอมรับได้ หรือที่เรียกว่าตกเป็นผู้ต้องหาทางสังคม (taboo) เมื่อถูกนำไปใช้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง          แนวคิดของคำว่าสองมาตรฐานมีการนำมาใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ.1872 ในด้านโครงสร้างจริยธรรมที่แตกต่างระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง          ดังนั้น คำว่าสองมาตรฐานจึงเป็นคำอธิบายว่าคือลักษณะของอคติ, การลงโทษที่ไม่เป็นธรรมในเชิงจริยธรรม (ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ) เกี่ยวกับหลักการที่ว่าทุกคนมีเสรีภาพเท่าเทียมกัน คำว่าสองมาตรฐานมักเห็นได้จากความไม่ยุติธรรมเพราะว่าพวกเขาละเมิดหลักการของขอบเขตอำนาจศาลตามกฎหมายสมัยใหม่ ที่ว่าคู่ความควรอยู่ในสถานะที่เท่าเทียมตามกฎหมาย  สองมาตรฐานยังละเมิดหลักการของความยุติธรรม