การล๊อบบี้,การติดสินบนและการคอรัปชั่น

             การล๊อบบี้และคอรัปชั่นเป็นเรื่องผลประโยชน์สาธารณะ และมีงานวิจัยที่มีมากมาย คำถามจึงมีว่าทำไมภาคธุรกิจจึงนิยมเลือกวิธีการล๊อบบี้ หรือการติดสินบน  และความสำคัญของการเลือกสรรวิธีการยังหาคำตอบชัดเจนไม่ได้
             มีคำนิยามที่ว่าการล๊อบบี้คือรูปแบบของการสนับสนุนรณรงค์ และมีการล๊อบบี้ข้ามประเทศ หรือการใช้อิทธิพลโดยผ่านปัจจัยอื่น ๆ ในลักษณะที่เป็นกิจกรรมมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขกฎหมายหรือนโยบายที่มีอยู่ในขณะนั้น    ในขณะที่การติดสินบนเป็นความพยายามที่จะเข้าถึงกฎหมายหรือนโยบายที่กำลังนำมาใช้อยู่ในปัจจุบัน
             บริษัทในประเทศที่กำลังพัฒนามักจ่ายค่าสินบนเพื่อลดข้อจำกัดของกฎระเบียบ   ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วมักมีใจโอนเอียงที่จะล๊อบบี้รัฐบาลให้ช่วยแก้กฎหมายที่จะมีผลกระทบต่อพวกเขา
             การติดสินบนและการล๊อบบี้ที่แตกต่างกันในมิติสำคัญ ประการแรกการล๊อบบี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระเบียบในหลายประเทศ    ในขณะที่การติดสินบนไม่ใช่  ประการที่สองการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบเป็นผลมาจากการล๊อบบี้ซึ่งจะมีผลกระทบต่อทุกบริษัททั้งหมด   ในขณะที่การติดสินบนเป็นลักษณะเรื่องที่เกี่ยวข้องเฉพาะธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง    ประการที่สามรัฐบาลมีแนวโน้มเอียงจะแก้กฎระเบียบซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันมากกว่าการติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐเพียงคนเดียว  ผลกระทบของการล๊อบบี้มีความถาวรมากกว่าการติดสินบน     ข้าราชการไม่สามารถผูกมัดในการร้องขอสินบนในอนาคตได้     ทั้งนี้การทุจริตดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้ในศาลในบริษัทที่เกี่ยวข้องกันกับเจ้าหน้าที่จำนวนมากตลอดเวลา  แม้ว่านโยบายและนักการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   สมมติฐานที่สำคัญก็คือความสามารถของรัฐบาลในการผูกพันมีความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลเพียงคนเดียว
             วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการล๊อบบี้ ได้มีการทบทวนวรรณกรรมโดย Austin Smith
(1997) และ Grossman และ Heliman (2002) ได้ริเริ่มในการจัดประเภทกลุ่มผลประโยชน์ (Olsen, 1925) จากวรรณกรรมมีมุมมองถึงการล๊อบบี้มีอิทธิพลต่อการเลือกสรรนโยบายในสภาพแวดล้อมของผลประโยชน์ที่มีการแข่งขันกัน   ซึ่งมีอิทธิพลต่อฐานะผู้กำหนดนโยบายในทางปฏิบัติ หรือการช่วยผู้สมัครที่ชอบพอกันพิเศษให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง   ตามทัศนะของ Grossman & Heliman (2002) ในเรื่องระดับอุตสาหกรรมหนึ่ง ๆที่สามารถมีอิทธิพลต่อนโยบายขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งขององค์การทางการเมือง และลักษณะของอุตสาหกรรม   ผู้เขียนได้ติตตามกรอบความคิดโดยแม้ว่าการรวมตัวในรูปแบบต่าง ๆได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนทางลัดไปสู่การล๊อบบี้ที่มีประเภทของกลุ่มอิทธิพลที่แตกตางกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง