การประยุกต์หลักคิดเชิงยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

                ในการปกครองประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้นยังไม่ได้พัฒนาไปอย่างก้าวไกลนั้นหรือมีลักษณะการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน   จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศไทยในการแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น   โดยผู้เขียนขอเสนอทางออกโดยการประยุกต์ดังนี้
1. หลักพระพุทธศาสนา   ซึ่งมีสิ่งที่เป็นสัจธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรงค้นพบนั่นคืออริยสัจสี่ ซึ่งประกอบด้วย   ได้แก่
    ก.ทุกข์ คือสิ่งที่เป็นปัญหาที่ทำให้คนในชาติไม่สบายใจ และไม่มีความสุขได้แก่ การมองปัญหาหรือแนวทางแก้ไขปัญหาต่างกัน หรือการมีกรอบคิดที่ต่างกันในการแก้ปัญหา   หรือการมีความคิดต่างมุมมองแต่ไม่สามารถประสานความคิดได้ นั่นคือเรื่องของประชาธิปไตยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่ได้รับอำนาจอธิปไตย   แต่เกิดจากปัญหาการเมืองที่มุ่งโจมตีเรื่องผู้นำ หรือยึดหลักตัวบุคคลมากกว่าหลักการ
   ข. สมุทัย คือสาเหตุที่เกิดทุกข์ ก็คือเกิดความขัดแย้งของกลุ่มบุคคลที่มีเสื้อสีต่างกัน แต่มีลักษณะที่ขัดแย้งกันในแง่ผลประโยชน์  ทำให้กลุ่มคนได้ใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมก็ยิ่งทำให้ปัญหาเพิ่มมากขึั้น เพราะยังขาดความยุติธรรม หรือความเป็นธรรมที่เกิดขึ้น
   ค. นิโรธ คือการทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากสาเหตุใด  สาเหตุอาจเกิดจากการขัดแย้งในระหว่างผู้นำกันเอง และลงมาถึงระดับล่าง  ทำอย่างไรจึงจะพูดจาภาษาเดียวกัน หรือการยอมลดตัวเองเพื่อหาทางเชื่อมความสามัคคีของคนในชาติ  โดยยึดหลักกติกามากกว่าการยึดหลักตัวบุคคล หรือความชอบพอส่วนบุคคล ทำให้ขาดหลักการที่จะถือเป็นหลักได้  
  ง. มรรค คือหนทางไปสู่การแก้ปัญหาการเมือง ซึ่งหากหนทางที่ใช้เป็นแนวทางแก้ไขโดยการมุ่งหมายเอาชนะกันของคนในชาติ ท้ายที่สุดก็ทำให้ประชาชนต้องมาล้มตาย,บาดเจ็บ ทำให้ประเทศไทยขาดทุนในด้านทรัพยากร,ในด้านคุณค่าของคนไทยที่เคยรักษาสิ่งที่ดีงามไว้  นั่นคือต้องคิดดี, และเห็นชอบในสิ่งที่จะนำประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง, ระลึกชอบในสิ่งที่จะธำรงรักษาประเทศให้มีความมั่นคง และไม่นิยมใช้ความรุนแรง มุ่งหมายให้ประเทศมีความสงบ ปฏิบัติชอบ คือการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์คนไทยที่มีความรักสมัครสมานกันมากกว่าจะปฏิบัติต่อกันในการทำลายล้างกัน เป็นต้น
2. หลักการจัดการบ้านเมืองเชิงสมดุลย์ (Balanced Scorecard for Governance) ซึ่งมี 4 มิติ ที่นิยมนำไปใช้ในภาคธุรกิจ แต่ผู้เขียนขอนำมาปรับใช้กับทางการเมืองเพื่อให้การจัดการมีความสมดุลย์ ซึ่งได้แก่
    ก. มิติในด้านการเงิน (Financial Dimension) หมายถึงว่านักการเมืองไม่ว่าฝ่ายใด ๆ ควรล้มเลิกความคิดที่เข้ามาทำงานการเมืองเพียงเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง และใช้ประชาชนเป็นฝ่ายสนับสนุน ผลสุดท้ายก็อาจจะทำให้ประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องมาประจัญหน้ากัน เพราะมีแรงสนับสนุนจากทั้งสองฝ่าย   และไม่ควรมุ่งแสวงหาความร่ำรวยทางการเงินจากการเล่นการเมือง แต่ควรทำการเมืองเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการออกกฎหมายที่ให้คนธรรมดามาช่วยงานการเมืองได้ แต่มีความคิดที่ดีสามารถช่วยเหลือบ้านเมืองได้  แต่มิใช่การเมืองแบบลงทุนมุ่งหวังกำไร หรือกอบโกย จนเกิดปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น  หรือการใช้เงินหว่านเพื่อการหาเสียงทางการเมือง  ทำให้การบริหารขาดความสมดุล เพราะเป็นเรื่องของการได้เปรียบเสียเปรียบ ฝ่ายชนะก็อาจจะอ้างว่าได้รับการเลือกตั้งมา แต่ฝ่ายแพ้เมื่อลงทุนล้มเหลวก็จะกล่าวโทษว่าอีกฝายมีการซื้อเสียงมากกว่า  ซึ่งการกล่าวโทษนั้นอาจจะไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ เราไม่ได้กำหนดให้การสมัครการเมืองไม่ควรมีการใช้เงินซื้อเสียง หรือหากแก้ไขได้ยากก็ควรให้มีการศึกษา หรือการรณรงค์อย่างจริงจัง หรือการกำหนดกติกาที่ให้ภาครัฐเองเป็นผู้กำหนดงบประมาณในการจัดทำป้ายหาเสียง หรือการกำหนดสถานที่รณรงค์เลือกตั้งอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องใช้เงินซื้อเสียง    
    ข. มิติในด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Dimension) เป็นมิติของการให้โอกาสประชาชนได้มีการศึกษาประชาธิปไตยให้พัฒนาก้าวไกลมากขึ้น  การเมืองที่ผ่านมาจะมีการสร้างการเรียนรู้น้อยมาก แต่การเรียนรู้มักเกิดจากปัญหาขัดแย้งระหว่างกลุ่ม   ทำให้ทิศทางการพัฒนาการเมืองไปกันคนละทิศทาง ขาดเอกภาพในการเรียนรู้ประชาธิปไตยไปในทางเดียวกัน   ทั้งนี้ประเทศไทยเหินห่างต่อการให้ความรู้การเมืองประชาธิปไตยมานานจนทำให้ความเข้าใจที่ถูกต้องนั้นยังไม่ถึงแก่นแท้ของประชาธิปไตย  
   ค. มิติในด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Dimension)   หมายถึงพรรคการเมืองต้องมีการพัฒนาพรรคการเมืองไปสู่สถาบันการเมืองที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยอมรับ ต้องเกิดจากภายในพรรคการเมืองที่เติบโตจากการส่งเสริมของประชาชนในพรรคการเมืองนั้น ๆ   เพื่อให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง และเป็นพรรคการเมืองของประชาชน   สามารถแก้ปัญหาสิ่งที่เกิดขึั้นจากความขัดแย้งต่าง ๆ ในเกิดความสมดุลย์ได้     นั่นคือภาวะผู้นำของพรรคการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ได้ใจของคนส่วนใหญ่ในประเทศ  สามารถหลอมรวมใจของคนในชาติได้  แต๋ก็มิใช่เป็นเรื่องง่าย เพราะต้องสร้างจิตสำนึกในการยอมรับความคิดเห็นต่าง ให้เข้าใจกันได้ ยอมรับความแตกต่างแต่ต้องไม่มองว่าเป็นศัตรต่อกัน
  ง. มิติในด้านการสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชน (Customer Satisfaction Dimension) นั่นคือการปกครองแบบประชาธิปไตย ต้องทำให้เกิดความสมดุลย์แก่ประชาชนทุกฝ่าย, ทุกระดับชั้น  และพยายามสร้างความเสมอภาค,เท่าเทียมทั้งในด้านสิทธิเสรีภาพ และภราดรภาพ    ซึ่งคนรวยก็ต้องมีจิตใจช่วยเหลือคนจนมิใช่การเอารัดเอาเปรียบ, การให้โอกาสที่เท่าเทียมของคนในสังคม, การไม่เลือกปฏิบัติเพราะความชอบพอ  จะต้องสร้างวัฒนธรรมของคนในชาติที่เป็นประชาธิปไตยโดยเริ่มตั้งแต่ระบบครอบครัว,สังคม,องค์การ และประเทศชาติ   เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้ชนชั้นในระบบเดิมไม่อาจยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ทันเหตุการณ์  ดังนั้นจะต้องมีวิธีการหลอมรวมความคิด และสร้างจิตสำนึกหรือจิตวิญญาณประชาธิปไตยที่รู้จักเสียสละ,ไม่หวงแหนอำนาจ, มุ่งหวังให้คนรุ่นต่อไปมีอนาคตมีโอกาส, สร้างกติกาที่เป็นธรรม ลดการแบ่งพรรคแบ่งพวกถือว่าเป็นคนไทยเหมือนกัน  สร้างความสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน  ก็จะทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่,น่าเที่ยว และรวมถึงการออกกฎหมายที่ทำให้ประชาชนทุกระดับได้รับความยุติธรรมถ้วนหน้า
3. ใช้หลักการบริหารแบบ win-win game คือการบริหารแบบชนะชนะ หรือแบบทุกฝ่ายเป็นผู้ชนะ ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบมากจนเกินไป   การบริหารทรัพยากรของชาติมีลักษณะแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ มิใช่การผูกขาดตัดตอน ตั้งแต่้การผูกขาดอำนาจ,ผูกขาดทางเศรษฐกิจ,ผูกขาดการปกครอง,ผูกขาดความถูกต้องชอบธรรม ฯลฯ   แต่เมือถึงคราวจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนในชาติช่วยเหลือกันก็ต้องมีแนวทางการขอร้องเพื่อให้มีการช่วยประเทศชาติในยามวิกฤติ เช่นการเพ่ิมภาษีคนรวยเพื่อช่วยคนจน, การปฏิรูปที่ดินจากผู้มีฐานะดี เพื่อเปิดโอกาสให้คนในชาติมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  และการยกย่องคนรวยที่ช่วยเหลือคนจนให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
4. การส่งเสริมยุทธศาสตร์การเป็นผู้นำต้นทุน หรือการสร้างความแตกต่างในการผลิตหรือบริการ นั่นคือผู้นำต้องสามารถทำให้ต้นทุนของประเทศต่ำลง การลดข้อขัดแย้งซึี่งทำให้ประเทศขาดทุน เสียชื่อเสียง และเสียชื่อวงศ์ตระกูล หรือเสียชือในทางประวัติศาสตร์ ผู้นำที่ดีก็ไม่ควรทำ แต่หันมาหาทางช่วยประเทศชาติฟื้นฟูวิกฤติ ไม่ยอมให้เสียหายด้วยน้ำมือของตนเอง แต่เป็นการจรรโลงประเทศชาติโดยไม่เห็นแก่ตัว แต่มองประโยชน์ส่วนรวมประเทศชาติเป็นสำคัญ
5. การสร้างประเทศชาติที่ไม่มีการแบ่งแยก  นั่นหมายถึงไม่มีการแบ่งแยกทางชนชั้น, ไม่มีการแบ่งแยกในด้านดินแดน,ไม่มีการแบ่งแยกทางด้านอุดมการณ์ แต่มีหลักการและอุดมการณ์ที่ยอมรับร่วมกันที่เป็นสากล หรือเป็นสิ่งที่ยอมรับความเห็นต่างกันได้ แต่ไม่ใช้วิธีรุนแรง ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ และไม่ละเมิดกฎเกณฑ์ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง    และต้องมีความอดทนต่อความพ่่ายแพ้ทางการเมืองแม้ว่าจะมีอิทธิพลบางประการที่อาจเสียเปรียบแต่ก็ต้องอดทน จนประชาชนเห็นความดี ก็จะทำให้ได้รับชัยชนะในท้ายที่สุดได้

 สรุปแนวทางแก้ปัญหาของชาติมียุทธศาสตร์หลายประการ  สิ่งที่ผู้เขียนเป็นเพียงการนำเสนอภาพกว้าง ๆ ที่เป็นแนวทางให้คนไท่ยร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ไขเพื่อให้บ้านเมืองของเราดีขึ้น  พัฒนาดีขึ้น และทุกฝ่ายเป็นผู้ชนะร่วมกัน   หากเรามีความขัดแย้งและไม่ยอมลดราวาศอก ผลสุดท้ายก็พ่ายแพ้กันทั้งประเทศ, ไม่มีใครชนะ แต่มีแต่คนแพ้,ประเทศแพ้เท่านั้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง