วันนี้(24 เม.ย.) มีรายงานข่าวว่าที่การประชุมบอร์ด สทศ. มีมติให้มีการจัดสอบ U-NETหรือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษาโดยให้เริ่มในปีการศึกษา 2557

ความเปลี่ยนแปลงในวงการศึกษาที่ออกมาตรการสอบ U-NET เพื่อวัดมาตรฐานการศึกษา 

โดยการทดสอบดังกล่าวเป็นการสอบเพื่อวัดความรู้และมาตรฐานของบัณฑิตระดับปริญญาตรี ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF  โดยจะสอบกับนักศึกษาปริญาตรีชั้นปีสุดท้ายของทุกสาขาในมหาวิทยาลัยที่สมัครใจในการเข้าร่วมสอบ ซึ่งจะมีการสอบ 4 วิชาดังนี้
1. การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
2.การใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิต
3.การรู้เท่าทันสื่อ การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา (Media Literacy)
4.การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
และในปี 2558 จะเพิ่มอีก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และด้านทักษะวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา
ทั้งนี้นักศึกษาครูที่เข้าร่วมโครงการผลิตครูมืออาชีพ ประจำปี 2557 จะได้ทดลองสอบก่อนใครในวันที่ 21 มิถุนายน 2557 นี้ด้วย โดยทางสทศ.จะได้มีการประสานไปยังหน่วยงาน องค์กร บริษัท ให้ใช้เกณฑ์ของU-Net ซึ่งได้มาตรฐานในการคัดเลือกบัณฑิตเข้าร่วมงานในองค์กรด้วย
           มาตรฐานที่กำหนดจึงอยากให้ทาง สทศ.ได้กำหนดวัตถุประสงค์ให้กับประชาชนทราบว่าทำไมต้องมีการทดสอบเพิ่มเติม  เพราะการเรียนในระดับปริญญาตรีก็มีการทดสอบในทุกวิชาแล้ว   จึงอยากทราบวัตถุประสงค์ว่า
ได้นำมาตรการนี้ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร? และเป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง?

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง