การศึกษาไทยน่าเป็นห่วง :อาการที่ส่อเค้าว่ามีปัญหา?

สิ่งที่่สะท้อนทางการศึกษาไทยที่มองเห็นแบบกว้าง ๆคือ
1. การศึกษาไทยไม่ได้ปลูกฝังหน้าที่พลเมืองศีลธรรมอย่างดีพอ หลังจากโรงเรียนแยกตัวจากวัด ทำให้เราใช้เสรีภาพกันอย่างมากมายและไม่รู้จักรักษาสิทธิของผุ้อื่น หรืออาจจะทำอะไรได้ตามใจ เพราะเสรีภาพมิใช่เรื่องทำอะไรได้ตามใจ แต่ต้องพิจารณาว่าสิ่งใช้เสรีภาพนั้นจะต้องไม่กระทบหรือละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพของผุ้อื่น
2. การศึกษาไทยมุ่งการเรียนแบบอ่าน,ท่องจำ,อยู่แต่ในตำราเพื่อไปสอบ แต่ไม่ได้ศึกษาชิวิตจริงที่อยู่นอกเหนือห้องเรียน ทำให้นักเรียน,นักศึกษาไทยประยุกต์ไม่เก่ง เมื่อมาทำงานต้องใช้วเลาปรับตัวมากเกินไป
3. การศึกษาไทยมุ่งสอนให้เป็นคนที่เรียนเก่ง, สอบเข้าโรงเรียนดัง ๆ หรือได้รับปริญญาสูง ๆ แต่ไม่ได้นำความรู้มาช่วยเหลือพัฒนาบ้านเมือง กลายเป็นการศึกษารับใช้ตนเอง ประกอบกับผลตอบแทนไม่สอดคล้องต่อการเรียน ทำให้ผู้เรียนมุ่งที่จะหาเงินเยอะ ๆ เพื่อตอบสนองต่อตนเองมากกว่าจะรับใช้สังคม หรือมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่เขาเป็นอยู่ เป็นการศึกษาที่มุ่งเอาตัวรอด และก่อให้เกิดความเห็นแก่ตัว
4. การศึกษาไทยขาดคุณภาพอันเนื่องจากการประเิมินคุณภาพทางการศึกษา มุ่งให้ครูหรืออาจารย์สาละวน หรือหัวฟูกับงานที่ไม่สะท้อนคุณภาพทางการศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นแต่รูปแบบ แต่ไม่สนใจเนื้อหา ผู้ที่เป็นใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการมักไม่ค่อยรู้จริงเรื่องการศึกษา หรือมัวแต่สนใจแต่เรื่องพยายามจะใช้งบประมาณเพื่อจัดซื้อจัดจ้างของจำนวนมาก ๆ หรือการก่อสร้างตึกทีีทันสมัยทำใ้ห้เกิดการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ไม่ได้ส่งเสริมทุนมนุษย์ ซึ่งมีความสำคัญและยังยื่นมากกว่า แต่การใส่ใจในทุนมนุษย์ทำให้งบประมาณไปลงที่ตัวคน จึงทำให้ผู้มีอำนาจทางการเมืองไม่ค่อยใส่ใจ 
5. อัตราค่าตอบแทนของครู หรืออาจารย์ค่อนข้างต่ำ ไม่ท้าทายทำให้คนเก่ง หรือคนที่มีความรู้ดีมาเป็นครู ครูจึงประสบปัญหาหนี้สิน ทำให้สมาธิครูหรืออาจารย์ไม่ดีต้องคอยหาวิธีมาใช้หนี้ ด้วยการสมัคร MLM, ขายประกัน, ขายของให้เด็ก เพราะเงินเดือน,ค่าตอบแทนไม่พอใช้กับสถานภาพครู 
6. การศึกษาไทยขาดการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สมดุลย์ มีการผลิตบัณฑิตมากมาย หลากหลายสาขา แต่ไม่ค่อยมีคุณภาพ ซึ่งผิดกับสมัยก่อนที่การจะเข้าเรียนได้ต้องสอบเข้า และมีการคัดเลือก ทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียน, รัฐสนับสนุนงบประมาณได้เพียงพอ แต่เมื่อมีมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ทำให้รัฐไม่สามารถโอบอุ้มได้ แต่เมื่อจะออกนอกระบบก็เกิดปัญหาการคิดค่าเรียนที่แพงเกินไป อันเนื่องจากระบบบ้านเราค่าตอบแทนไม่รองรับ 
และแทนที่จะฝึกฝนให้ผู้เรียนทางด้านฝีมือซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติ หรือฝึกฝนทักษะ,ความชำนาญงาน เพื่อมาส่งเสริมให้บุคลากรทางด้านการผลิต,เทคโนโลยี่ เพื่อลดการนำเข้า แต่เรากลับต้องสั่งซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณไปเป็นจำนวนมาก เมื่อมาเรียนซึ่งไม่ถนัดต่อสาขาที่เรียนก็ทำให้เสียหายทางดานเวลาไปพัฒนาฝึมือทักษะ และสิ่งที่เรียนก็ไม่มีความรู้อย่างเต็มที่ 
7. การศึกษาไทยเหินห่างจากมวลชน ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจปัญหาสังคม, ขาดการมีจิตอาสารับใช้สังคมที่เขาเป็นอยู่ และอาจลืมไปว่ามหาวิทยาลัยของรัฐที่เรียนนั้นเป็นงบประมาณที่มาจากภาษีอากรของประชาชน 
8. การศึกษาไทยเน้นทฤษฎีวิชาการมากจนเกินไป แต่ไม่ค่อยได้ฝึกฝนทักษะปฏิบัติ หรือ การเข้าไปสัมผัสความเป็นจริง มีความรู้ความเข้าใจงานวิจัยค่อยข้างน้อย การศึกษาไทยเป็นลักษณะพูดกว้าง ๆ แบบเหวี่ยงแห แต่ไม่ได้เจาะลึกประเด็น ทำให้การศึกษาสะเปะสะปะ ระบบการรับครูอาจารย์ยังใช้ระบบพรรคพวก, คนรู้ใจ, มากกว่าจะสรรหาโดยการสอบคัดเลือกเข้าเป็นครูอาชีพ, หรือสอบที่ใช้วัดสมรรถนะผุ้เหมาะสมมาเป็นครู (teachercompentency)
9. เมื่อครูกังวลกับค่าตอบแทนต่ำ จึงหันไปทำอย่างอื่น หรือมุ่งไปอย่างอื่น การใส่ใจในการให้ความรู้อย่างเต็มที่จึงไม่เกิด ทำให้ครูจำนวนมากไม่สนใจค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม และกลับมองว่าการมีความรู้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ประการใด สู้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า หรือไปสนใจอย่างอื่น ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่มีมาตรฐานต่ำ หรือเรียนอยางกระท่อนกระแท่น ประกอบกับสิ่งเย้ายวนในโลกดิจิตอลสมัยใหม่ทำให้นักเรียน,นักศึกษาปัจจุบันไม่ค่อยสนใจในการเรียนอย่างเต็มที่ เว้นแต่จะเสียค่าเล่าเีรียนเองสูง ๆ ก็จะให้รู้สึกคุณค่าการลงทุนการศึกษามีความสำคัญ
10.การศึกษาไทยจึงแลดูทันสมัยแต่ไม่พัฒนา (Modernization without development) ผู้บริหารสวมหมวกหลายใบ มีหนทางในการแสวงหาผลประโยชน์จากการบริหารมากมาย และไม่ค่อยมีภาวะผู้นำสมกับตำแหน่ง ทำให้การบริหารการศึกษาหลายแห่งเน้นระบบอุปถัมป์กันอยางดาดดื่น ขาดผู้มีแนวคิดหรือระบบคิดใหม่ ๆ มาช่วยให้ความรู้ทางการศึกษา ทำให้ระบบราชการปิดกั้นโอกาส หรือหากไม่ปิดกั้นโอกาสในระยะเข้าไป แต่ก็ถูกล๊อคด้วยระบบการบริหารที่ไม่ทันโลก ก็ทำให้คนที่เก่ง ๆ เกิดความเบื่อหน่าย และหนีออกจากระบบมหาวิทยาลัยไปทำงานอย่างอื่น
สรุป สิ่งนี้คือประเด็นที่กระผมมองปัญหา และหวังว่าผู้มีบทบาทสำคัญควรนำไปแก้ไขระบบการศึกษา และถึงเวลา....ที่ต้องปฏิรูปกันอย่างจริงจัง ผู้ที่ตั้งใจทำการศึกษาที่ดีย่อมมมีอานิสงก์เป็นที่ยอมรับของสังคมในขณะนี้ แต่หากเป็นการปล่อยปละละเลยก็อาจทำให้เสียดายโอกาสในการพัฒนาทุนมนุษย์ซึ่งจะได้ชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ มากกว่าคำนึงถึงผลประโยชน์ทางการเมืองจะพึงได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง