ผู้นำทีมนำอย่างไรจึงจะได้ใจทีมงาน

             จากหนังสือเรื่อง ผู้นำนำอย่างไร ได้ใจทีมงาน จาก The Art of Supportive Leadership: A practical handbook for people in position of responsibility แปลโดย อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์
               จุดประสงค์ของผู้นำหนังสือมาเพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้พัฒนาตนเองเพื่อการเป็นผู้นำที่ดี  เพราะหากการที่คนเราไม่ได้นำเอาหลักการที่ดี ๆ มาใช้ก็จะทำให้ความสำเร็จของคนเราไม่มีความยั่งยืน เพราะได้สร้างเหตุปัจจัยที่ไม่ดีก็ย่อมรับผลที่ไม่ดี ทั้งนี้มนุษย์เรามีแนวโน้มที่จะประมาท และหลงลืมสิ่งดี ๆ หรือหลักการดีมาใช้ แต่เมื่อไม่ได้นำมาใช้ก็ทำให้มนุษย์เราใช้อัตตา หรือสัญชาติญาณดั้งเดิมมาใช้ ทำให้การบริหารงานมิได้ใส่ใจกับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งดีๆ ให้กับองค์การหรือประเทศชาติได้
               สำหรับการบริหารเป็นทีมงาน นั้นได้สรุปหลักการไว้ว่า
               - การเป็นผู้นำที่แท้จริงคือการให้การสนับสนุนมิใช่การบังคับ
               - ผู้นำที่แท้จริงพยายามนำคนอื่น มิใช่ผลักใสพวกเขา
               - การเป็นผู้นำหมายถึงการทำให้คนอื่นมีส่วนร่วม (พยายามให้ทุกคนทำงานร่วมกันคิดร่วมกันทำมากกว่าเน้นการสั่งการโดยคนคนเดียว หรือใช้ความรู้สึกของคนๆเดียวตัดสินใจ)
               - การเป็นผู้นำหมายถึงจินตภาพอันกว้างไกลเป็นอันดับแรกและเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง ส่วนการกระทำมาเป็นที่สอง (มิใช่ทำแบบหลับหูหลับตาโดยไม่เห็นอนาคต)
               - การเป็นผู้นำหมายถึงการเข้าใจว่าคนสำคัญกว่าสิ่งของ (อย่าเห็นวัตถุ,เงินทอง สำคัญกว่าความดีของมนุษย์)
               - การเป็นผู้นำเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องเรียนรู้และนำไปปรับใช้อย่างรวดเร็ว ต้องไม่นำไปปะปนกับตำแหน่ง (ผู้นำไม่ควรเกาะเกี่ยวกับอำนาจตามตำแหน่งมากเกินไป หรือคิดว่าคนมีอำนาจทำอะไรถูกต้องหมด แต่ให้มองว่าผู้นำครองใจผู้อื่นได้อย่างแท้จริง)
               - การเป็นผู้นำมิใช่เกมแห่งอัตตา ซึ่งหมายความว่าผู้นำต้องคิดถึงผู้อื่นมากกว่าคิดถึงตัวเอง แม้กระทั่งผลตอบแทนก็ต้องพิจารณาให้ความสำคัญในเรื่องความยุติธรรม 
               - ผู้นำที่ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองก็คือการโค่นล้มตัวเองให้พ่ายแพ้ (หมายความว่าผู้นำทำตัวให้สะดุดขาตัวเอง,สร้างอุปสรรคตนเอง และนำไปสู่ความปราชัย)
               - สปิริตของกลุ่มสะท้อนถึงสปิริตของความเป็นผู้นำ
               - อัตตาเป็นเครื่องขัดขวางหรือเครื่องช่วยถ้างานมันลื่นไหลต่อเนื่องไปสู่ความสำเร็จ 
               - ผู้นำไม่ควรคิดว่าตนเองถูกเสมอ จนขาดความรับผิดชอบในการทำสิ่งที่ถูกต้องจริงๆ 
               - อย่ามองผู้นำในแง่ของความตื่นเต้นที่น่าดึงดูดใจ แต่ให้มองในแง่ของความรับผิดชอบ
               - อย่าเป็นห่วงเป็นใยกับความเห็นของผู้อื่นมากเกินไปจนคิดว่าเป็นความจริง (ให้มองเหตุผลว่าเป็นความจริงหรือไม่)
               - อย่าห่วงใยกับคำสรรเสริญเยินยอหรือคำตำหนิติเตียนหรือวิตกกังวลกับปฏิกิริยาตอบโต้ในเชิงส่วนตัวของคุณ แต่ให้ใส่ใจกับการกระทำกับงานที่ต้องทำให้เสร็จ
               - มุ่งโครงการที่ใช้เวลาที่ยาวนานมากกว่าการทำเพียงชั่วครั้งชั่วคราว 
               - จงเตรียมพร้อมที่จะยอมรับความรับผิดชอบต่อความล้มเหลว เช่นเดียวกับความสำเร็จ
               - การยอมรับความรับผิดชอบหมายถึงการยอมรับหน้าที่ที่จะแสวงหาคำตอบที่สร้างสรรค์ แม้ว่าแต่เดิมจะไม่มีก็ตาม 
               - ผู้นำที่แท้จริงเอาความต้องการส่วนตัวของเขาไว้ท้ายสุด ไม่ใช่เอาความต้องการของตนเองเป็นสิ่งแรก
               - ในทุกสถานการณ์ ผู้นำไม่ควรถามตนเองว่า ผมชอบอะไร? แต่ควรถามว่าผมมีความรู้สึกว่าอะไรบ้างที่จำเป็น และสิ่งที่ถุกต้องคืออะไร?
               - สนใจในความรู้สึกของคนอื่น ใส่ใจในตัวผู้ตาม แต่ไม่มองว่าข้อเรียกร้องของพนักงานมองว่าเป็นปัญหา หรือผู้มีปัญหา
               - ผู้นำควรสนใจหน้าที่ของงานตามตำแหน่งที่ทำมากกว่าสนใจในชื่อของตำแหน่ง
               - ให้มองว่างานของผู้นำมิได้สำคัญกว่างานอื่น ๆ 
               - ผู้นำต้องทำตนให้เป็นผู้ให้บริการ มิใช่ผู้รับบริการ
               - ผู้นำต้องเคารพจุดยืนของคนอื่น ทำงานร่วมกับพวกเขาอย่างที่เขาเป็น มิใช่เป็นอย่างที่คุณอยากให้เขาเป็น (นำเอาภาวะวิสัยของคนอื่นให้สอดคล้องกับอัตวิสัย และนำให้สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ตามส่วนใหญ่อยากให้เป็น)
               - จงอดทน ขอทำความเข้าใจในฐานะผู้นำในการมองทัศนะของคนอื่นๆ ในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้เวลาบ้าง
               - การจะได้รับความจงรักภักดี แรกสุดคุณต้องมีความจงรักภักดีกับผู้อื่นก่อน
               - ในการแก้ไขปัญหานั้น คุณต้องดูความพร้อมเขาก่อนว่าเขาพร้อมจะฟังคุณพูดหรือไม่?
               - ผู้นำที่ฉลาดจะเป็นห่วงต่อสิ่งที่เป็นอยู่มากกว่าห่วงสิ่งที่ควรจะเป็นไป
               - ผู้นำห่วงสิ่งที่เป็นผลดี มากกว่ากังวลกับความเห็นของคนอื่นหรือของตนเอง
               - จงให้สามัญสำนึกเป็นเครื่องนำทางอยู่เสมอ
               - การเป็นผู้นำที่ดีต้องมาจากการเป็นผู้ตามที่ดี (มิได้หมายความว่าเป็นผู้ตามแบบประจบนายเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น แต่หมายถึงการเป็นผู้ตามที่มุ่งมิให้นายทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และ้เป็นห่วงความเสียหายหรือภาพพจน์ของผู้นำ)
              - อย่าสร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆมากเกินไป ไม่เช่นนั้นมันอาจทำลายสปริตแห่งการดำเนินงาน
              - อย่าเสียเวลากับการใช้พลังงานไปกับเรื่องวางแผนมากเกินไป จนไม่มีพลังงานเหลือพอในการทำตามแผนการต่าง ๆของคูณ) 
              - ในการเอาชนะใจคนอื่นเพื่อให้พวกเขาสนับสนุนนั้น เราต้องสนับสนุนพวกเขาในเบื้องแรกเสียก่อน
             -  ผู้นำควรให้โอกาสกับการเรียนรู้ในความผิดพลาดของเขาเอง
             - ขอความสนับสนุนจากพวกเขาในลักษณะเชิญชวนอย่าใช้อำนาจบังคับ
             - อย่าสั่งงานใด ๆ ที่คุณไม่เต็มใจทำด้วยตนเองโดยเด็ดขาด
             - ทำงานโดยการส่งเสริมคุณภาพที่ดีที่สุดในตัวของบุคลากร  แทนที่จะจ้ำจึ้จำไชในสิ่งที่เลวร้ายที่สุดของเขา
             - มุ่งทำงานกับสิ่งที่จะเพิ่มความเข้มแข็งขององค์การ มากกว่าไปเสียเวลากับความอ่อนแอของบุคคล หรือไปกังวลกับคนที่มีปัญหาต่อต้านคุณ
             - จงให้โอกาสในการที่บุคคลมีการวิพากย์แสดงความคิดเห็นในโอกาสที่เหมาะสม แต่มิใช่ปล่อยให้มีัการวิพากย์วิจารณ์ในด้านลบเพียงอย่างเดียว
             - ส่งเสริมนักทำมากกว่านักพูดเท่านั้น  แต่ควรหาเวทีให้คนที่ชอบพูด พูดในเชิงสร้างสรรค์
             - ผู้นำที่แท้จริงจะไม่ยึดติดกัับความสำเร็จ ขณะเดียวกันก็ไม่กลัวกับความล้มเหลว

             โดยสรุป การเป็นผู้นำเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนอยู่เสมอ และคอยทบทวนเพื่อแก้ไขตนเอง ผู้นำต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง มากกว่าทำในสิ่งที่ถูกใจ ให้การสนับสนุนมากกว่าการคอยตำหนิโทษ และให้ความยืดหยุ่นอย่างเหมาะสม  ส่งเสริมจุดแข็งมากกว่าส่งเสริมจุดอ่อน มีศิลปะในการครองใจให้ผู้อื่นมีความรัก และเกรงใจ   และสิ่งสำคัญของผู้นำพันธ์แท้คือมีจิตใจที่ีเที่ยงธรรม และรักความยุติธรรมอยู่ในหัวใจเสมอ


         

                   

             


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง