กระบวนทัศน์รูปแบบใหม่ในการจัดการภาครัฐ

      การบริหารและการจัดการภาครัฐ - เรียบเรียงและถอดความจาก owen hughes

         มีข้อโต้แย้งว่าการจัดการภาครัฐแนวใหม่ เป็นการจัดการภาครัฐเป็นกระบวนทัศน์ใหม่หรือไม่  มีนักวิชาการหลายท่านที่ยอมรับการปฏิรูปว่าเป็นกระบวนทัศน์ใหม่  นักวิชาการดังกล่าวได้แก่ osborne และ Gaebler,1992 ; Barzelay,1992;Behn,1998 และท่านอื่นอีกลายท่าน  มีนักวิชาการท่านอื่น ๆ ที่โต้แย้งการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์แบบใหม่ในการจัดการภาครัฐ Hood,1995,1996;Lynn,1997;
Politt,1990  เป็นที่โต้แย้งว่าการใช้ความหมายของคำศัพท์แบบพื้น ๆ หรือการใช้เป็นการทั่วไปเป็นผลงานของคูนส์ (1970)   คำศัพท์ว่า "กระบวนทัศน์" เป็นคำที่เหมาะสมทั้งตัวแบบของการบริหารและการปฏิรูปการจัดการภาครัฐซึ่งมีสิ่งเชื่อมโยงโดยทั่วไปมากที่สุดร่วมกันในฐานะการจัดการภาครัฐแบบใหม่
         บางท่านมีทัศนะว่ากระบวนทัศน์ (Paradigm) คือสิ่งกีดขวางในการก้าวกระโดด, จำเป็นต้องได้รับการยอมรับทั้งผู้ปฏิบัติการด้านวิชาการทั้งหลาย  วิถีทางในการมองโลกแบบถาวรไม่ว่ามากหรือน้อย
มีกระบวนทัศน์ที่แข่งขันในสาขาที่เหมือนกัน
         กระบวนทัศน์ขั้นพื้นฐานของการจัดการภาครัฐก็คือกระบวนทัศน์ทั้งหลายที่กำลังเป็นไปตามแนวคิดของออสบอร์น (1989) ข้อโต้แย้งว่ามีรูปแบบขององค์การที่มีการคัดค้านอยู่สองประการคือระหว่างทางเลือก (choice) และทางบังคับ (compulsion) เป็นสิ่งยินยอมให้ตลาดในการแสวงหาผลที่ยอมรับกันหรือการมีสิ่งยึดโยงจากสายการบังคับบัญชาของระบบราชการ  ท้ายที่สุดระดับขั้นพื้นฐานระบบราชการและตลาดมีความแตกต่างกันมาก กระบวนทัศน์นั้นขึ้นอยู่กับวิธีทางการมองโลกที่แตกต่างกัน โดยสรุป รูปแบบการบริหารแบบเก่านั้นยึดพื้นฐานเกี่ยวกับระบบราชการ การจัดการภาครัฐจึงเป็นสิ่งที่อยู่บนพื้นฐานด้านการตลาด
           สำหรับเบนน์ (Behn) ตัวแบบคุณลักษณะของการบริหารในฐานะที่เป็นกระบวนทัศน์หนึ่ง ในขณะที่เบนน์ยังคงสนับสนุนอย่างมั่นคง สำหรับบุคคลบุคคลที่สนับสนุนการบริหารรัฐกิจแบบเก่ายังคงมีทัศนะว่ามีคุณลักษณะของความเป็นวิชาการ (discipline) ที่มีทฤษฎี,กฎเกณฑ์, และการเป็นสิ่งที่สามารถอธิบายได้อย่างกว้างขวาง (generalization) ซึ่งมุ่งเน้นผลงานวิจัยของนักวิชาการ (Benn,2001)   กระบวนทัศน์ไม่ได้หมายความว่าชุดของทัศนะความคิดที่ทุกคนจะต้องเห็นด้วย ยิ่งกว่าทัศนะที่ยังคงเกิดขึ้นเป็นเวลาและสิ่งที่เปิดเผยในทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักวิชาการ  รูปแบบการบริหารแบบเก่า ๆได้รับมาจากเวเบอร์, วิลสัน,และเทย์เล่อร์  ซึ่งเหมาะสมกับเหตุผลที่กำลังเกิดขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้, การมีคลังความรู้,ตำรา และวิถีทางในการเข้าถึงการจำหน่าย ในความคิดเกี่ยวกับกระบวนทัศน์นั้นได้รับมาจากทฤษฎีระบบราชการ
           กระบวนทัศน์ในการจัดการภาครัฐมีความแตกต่างอย่างมากภายใต้ฐานทฤษฎีของเศรษฐศาสตร์และการจัดการภาคเอกชน จากเอกสารของโออีซีดีให้ทัศนะว่า "กระบวนทัศน์ของการจัดการแนวใหม่เน้นผลในแง่ของคุณค่าสำหรับเงิน  เพื่้อบรรลุถึงเป้าหมายโดยผ่านการจัดการโดยยึดวัตถุประสงค์การ 
ใช้แนวคิดการตลาด และกลไกที่เป็นรูปแบบตลาด, การแข่งตันและทางเลือก, และตกทอดไปสู่บุคลากรโดยผ่านการเข้าคู่กันระหว่างอำนาจหน้าที่,ความรับผิดชอบและความสามารถในการตรวจสอบได้ (accounablity)
           อย่างไรก็ดี  ไม่ใช่กรณีที่เป็นทํศนะเดียวในเวลาที่ทุกคนในหลักวิชาการโดยตัดสินใจว่ากระบวนทัศน์การบริหารภาครัฐแนวใหม่ถูกแทนที่  มีกรณีหลายอย่างที่กระบวนทัศน์ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กละน้อย  ความเสื่อมถอยของสำนักแนวคิดแนวคิดหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นเป็นผลของการกำเนิดทางเลือกใหม่ ๆ  ในกรณีการจัดการภาครัฐ ตามทัศนะของคูนส์ที่ว่า "การตัดสินใจที่จะปฏิเสธกระบวนทัศน์หนึ่งที่มักจะตัดสินใจในการยอมรับอีกกระบวนทัศน์หนึ่งอย่างทันทีทันใด  และการพิจารณานำไปสู่การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบทั้งสองกระบวนทัศน์โดยธรรมชาติและอีกกระบวนทัศน์หนึ่ง   โดยเน้นในแบบดั้งเดิม     การเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์เป็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิรูปการจัดการภาครัฐ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่คืบหน้ากว่านี้ในทิศทางการจัดการ   การจัดการภาครัฐจึงมีทัศนะว่าเป็นกระบวนทัศน์ใหม่
           สรุป กรอบแนวคิดหรือกระบวนทัศน์เกิดจากการยอมรับของขบวนความเคลื่อนไหวทางความคิดในการยอมรับหลักวิชาการใหม่ ๆ มาแทนที่  ทั้งนี้หลายอย่างเกิดจากปัญหาจากการบริหารแบบแนวดั้งเดิม (Thesis) และเกิดทฤษฎีบทตั้ง (Anti thesis) นำไปสู่การสังเคราะห์เป็นทฤษฎีใหม่  ซึ่งเกิดจากกรอบกระบวนทัศน์มีการแข่งขันทางความคิดว่าแนวคิดของนักวิชาการใดมีความสมเหตุสมผลมากกว่ากัน   เมื่อมีการยอมรับ หรือการนำไปใช้และนำไปใช้ในการวิจัยต่อยอดเพิ่มขึ้น ๆ เรื่อย จนกระทั่งกระบวนทัศน์ใหม่เกิดขึ้นมาเป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะกระบวนทัศน์การจัดการภาครัฐแนวใหม่นั่นเอง)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง