"ค่านิยมยุคใหม่ในการบริหารงานองค์การ" โดยมนูญ วงศ์นารี

            จากวารสารพัฒนบริหารศาสตร์ ฉบับปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม 2524 ในบทบรรณานิการเขียนโดยอาจารย์มนูญ วงศ์นารี (หน้า 155-172)  พูดถึง "ค่านิยมใหม่ในการบริหารงานของไทย" ซึ่งเป็นข้อเขียนที่ผ่านมาเป็นเวลา 31 ปีแล้ว  แต่อิทธิพลความคิดนั้นยังสะท้อนและสามารถนำมาปรับใช้ในยุคปัจจุบันได้ดีอยู่เสมอ ทันต่อเหตุการณ์และดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ควรทบทวนค่านิยมใหม่ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นบุคคลในแวดวงทางการเมือง,การบริหาร, และหน่วยงานไม่ว่าภาครัฐ,เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจควรถือเป็นอุธาหรณ์เตือนใจได้เป็นอย่างดีว่าการใช้ทักษะความรู้ความสามารถของบุคคลในองค์การมีเพียงไม่ถึง 50% ส่วนที่หายไปที่ไม่ได้ใช้พลังความกระตือรือร้น หรือการใช้สมรรถนะอย่างเต็มที่ หรือขาดการอุทิศพลังกายและพลังใจให้กับองค์การนั้น   ท่านได้ให้ข้อคิดว่าควรเลิกล้มค่านิยมเก่าดังนี้
               1. อย่ามองคนแบบทฤษฎีเอ็กซ์ ว่าเป็นคนไม่ดีมาแต่กำเนิด ซึ่งจริง ๆ แล้วมนุษย์เป็นคนดีมาแต่พื้นฐานเดิม
                - เมื่อเป็นเด็ก ๆจะมีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง แต่โตขึ้นถูกหลอมพฤติกรรมและสถานการณ์แวดล้อมทำให้เปลี่ยนแปลงไป เมื่ออยู่กับคนดีก็จะดีตาม หากเมื่ออยู่กับสิ่งแวดล้อมไม่ดีหรือคนไม่ดีก็จะไม่ดีตาม
                - ผู้บริหารมักเข้าใจผิด ๆว่าคนระดับล่างเป็นคนหลีกเลี่ยงงาน ไม่รู้จักรับผิดชอบ หากมีแนวคิดนี้ก็จะทำให้บริหารวางกฎเกณฑ์แบบเผด็จการคอยควบคุมอย่างใกล้ชิด, ไม่มีการเปิดเผยไว้วางใจกัน มีการเน้นการลงโทษ ซึ่งนำมาสู่การใช้อำนาจขู่เข็ญบังคับคน   ผู้บริหารแบบนี้จะทำงานแบบนั่งบนหัวคนมากกว่านั่งอยู่ในใจคน
                - มีการข่มขู่ด้วยอำนาจบาทใหญ่ ใช้ตำแหน่งอำนาจไปในทางที่มิชอบเกิดขึ้น หรือการใส่ร้ายป้ายสีมุ่งหวังทำลายอีกฝ่ายหนึ่งให้ย่อยยับไป           
              2. หลีกเลี่ยงการประเมินค่าของคน แต่ให้ประเมินคนไปในทางที่ดีและในทางที่ไม่ดี และควรยืนยันหรือรับรองว่าเขาเป็นสมาชิกมที่สำคัญคนหนึ่งของกลุ่ม
              3. อย่ามองว่าคนเป็นสิ่งไม่เปลี่ยนแปลง แต่ให้มองคนว่าคนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการและสภาพแวดล้อม   
                 - ให้มองว่าคนไม่สมบูรณ์แบบแต่ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อย ๆ และคนไม่หยุดยั้งในการแสวงหาความรู้ (ซึ่งระบบการศึกษาต้องเน้นให้มาก เพราะคนไทยยังขาดการแสวงหาความรู้อย่างแท้จริง ส่วนใหญ่เชื่อตามข่าวของสื่อมวลชนโดยไม่ได้มีการพิสูจน์ หรือสำรวจหาความจริงจากหลายแหล่ง)
                - .ให้เน้นการฝึกอบรมและพัฒนาคนเพื่อเติมเต็มสิ่งที่ยังไม่สมบูรณ์  มองมนุษย์มีค่ามากกว่าเครื่องจักรกล การลงทุนในมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้เกิดความเจริญต่อองค์การ
              4. อย่ากลัวและต่อต้านเกี่ยวกับเรื่องความแตกต่างของตน แต่ให้ยอมรับและใช้ประโยชน์จากความแตกต่างนั้น ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่องค์การ
                - คนเราชอบคนคิดเหมือนกัน,ทำเหมือนกันและคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่จริง ๆ แล้วอาจจะไม่มีการพัฒนาใด ๆ เกิดขึ้น เพราะมีความไมแตกต่าง  และความแตกต่างแท้ที่จริงแล้วคือทรัพย์สินหากมีการหลอมรวมกันได้
               - เลิกมองคนคิดต่างว่าเป็นคนไม่ดีหากความคิดเห็นไม่ตรงกับตัวเรา แต่ให้มองว่าเขาให้ข้อคิดทำให้ระแวดระวังตัวในการปฏิบัติงาน    
              - การประชุมควรส่งเสริมให้คนเราได้แสดงความคิดเห็น  ต้องอดทนต่อความคิดเห็นแตกต่าง มิใช่ใช้คำพูดว่าแตกต่างแต่อย่าแตกแยก  คนที่พูดเช่นนั้นแสดงว่ากำลังคิดแตกแยกแล้ว ซึ่งหมายความว่าอาจมองคนอื่นในทางลบไปแล้ว
             5. อย่าเน้นใช้บุคคลตามแบบฟอร์มคำบรรยายลักษณะงาน แต่มองหรือใช้เขาเป็นแบบคนทั้งร่าง
เช่นไม่ใช้เขาเฉพาะงานที่เขาจบมา ทั้ง ๆที่เขาอาจทำงานอย่างอื่นได้ดีกว่าก็ได้ 
             6. อย่าปิดกั้นมิให้คนแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิด  แต่ต้องส่งเสริมให้เขาแสดงออกที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อตัวเขาและองค์การด้วย
               - สังคมไทยมักสอนให้คนอยู่นิ่งไมควรสมควรพูด ดังคำกล่าวที่ว่าพูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง   ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาตรงสาเหตุเพราะไม่นำมาพูดจากันเปิดเผย แต่เป็นการสะสมปัญหาเหมือนดินพอกหางหมู     จึงควรปล่อยให้บุคลากรมีการระบายความคับข้องใจบ้าง หรือมีทางระบายเพื่อลดความกดดันในจิตใจ
            7. อย่าใส่หน้ากากหรือแสดงละครระหว่างกัน แต่้ให้แสดงออกซึ่งความจริงด้วยความจริงใจต่อกัน
              - ไม่ควรสร้างภาพลวงตาแทนภาพจริง  หากเรามุ่งเล่นละครหลอกกันก็จะเกิดเยี่ยงอย่างที่ไม่ดี
              - มีความซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา ทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน
              - ไม่มองว่าคนอื่นเป็นปัญหา หรือมองว่าเราถูกต้องเสมอ เพราะจะทำให้เราเข้าข้างตัวเอง แต่ให้เป็นคนเปิดกว้าง,ใจกว้าง, มองปัญหาคนอื่นในลักษณะที่เข้าใจในสภาพของเขาจริง ๆ แล้วจะเข้าใจ นำไปสู่ความเห็นใจ และเกิดความสัมพันธ์ในทางที่ดี
            8.อย่าใช้สถานภาพของตนเองเพื่อการรักษาไว้ซึ่งอำนาจและอภิสิทธิ์แห่งตน แต่จงใช้สถานภาพเพื่อการบรรลุจุดุม่งหมายขององค์การ 
              - บางคนใช้ตำแหน่ง,ยศศักดิ์ไปทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว  ทำให้เกิดปัญหาศักดินาชนชั้นในองค์การอย่างเด่นชัด
              - บางคนใช้ตำแหน่งยศชั้นที่สูงกว่าดูหมิ่นดูแคลนหรือเยาะเย้ยถากถางคนที่ต่ำกว่า บางคนชอบอ้างชื่อผู้ใหญ่หรือภรรยาผู้ใหญ่ทำให้เกิดผลเสียกับเป็นการยึดตัวบุคคลมากกว่าหลักการ  ในทางการเมืองไม่ควรยึดเอาสถาบันมาเป็นเครื่องมือทำลายากลุ่มคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
            9. การละทิ้งความรู้สึกที่ไม่ไว้วางใจคน  และหันไปไว้วางใจคนอื่นอย่างแท้จริง 
             - อย่าหวาดระแวงคนอื่น ๆ ควรไว้ใจคนอื่น และมุ่งให้บุคลากรดูแลตนเองได้ (self control)
          10. ไม่กล้าเผชิญหน้ากับผู้อื่นด้วยความจริง  แต่ให้กล้าเผชิญเมื่อมีเหตุผลและข้อเท็จจริง 
             -ลดความเกรงใจ หรือคิดว่าทำลายจิตใจเขา กลัวเขาจะสะเทือนใจ  เพราะหากผู้บริหารไม่เปิดโอกาสให้คนนำความจริงมาเล่าแล้ว ก็จะทำให้นักบริหารไม่เห็น "ภาพที่แท้จริง" เหมือนไม่มีกระจกส่องว่าเราเป็นอย่างไร?
            - ควรใช้วิธีอบรมแบบ T-Group Training  ซึ่งผู้อบรมต้องเก่งในการอบรมเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลได้อย่างมีประสิทธิผล
          11. การละจากไม่ยอมเสี่ยงอะไรเสียเลย แต่ให้หันมาเต็มใจที่จะกล้าเสี่ยง
            - เมื่อไม่กล้าเสี่ยงคนเราก็จะไม่กล้าริเริ่มใด ๆ  เน้นทำตามระเบียบดีกว่า  ก็จะไม่สามารถทำให้องค์การเจริญงอกงามได้
           - โคลัมบัสกล้าเสี่ยงในการเดินเรือรอบโลก ทำให้พบดินแดนใหม่ ก่อให้เกิดอาณานิคมใหม่, ประเทศที่เจริญขึ้นมาใหม่เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา,ออสเตรเลีย ฯลฯ
          12. การละจากการมุ่งแข่งขันกันเอง แต่ให้หันมาร่วมมือกันช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น   ไม่ควรมีการแบ่งฝักฝ่ายกัน ทำให้เกิดการทำลายกันเอง องค์การก็จะไม่โต เพราะทะเลาะขัดแย้งกันเอง แทนที่จะใช้สติปัญญาไปแข่งขันกับองค์การอื่น หรือประเทศอื่น ๆ
          13. อย่าเลื่อนตำแหน่งโดยอาศัยความเป็นอาวุโส  แต่ให้หันมาใช้ปัจจัยในเรื่องศักยภาพและความสามารถของคนแทน
            - เพราะบางคนเป็นลักษณะแก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน  อาจเป็นคนเก่งในอดีตแต่ในปัจจุบันอาจจจะสู้คนรุ่นใหม่ไม่ได้แล้ว
           - บางคนเป็นยาหมดอายุ ซึ่งหมายความว่าแนวคิดเป็นแบบเก่า วิธีการแบบเก่า ไม่ได้มีการพัฒนาความคิดให้เท่าทันยุคสมัย  ท้ายที่สุดก็อาจเป็นคนตกยุค หรือหลงยุคได้

           สรุป แนวคิดของท่านมนุญ วงศ์นารี เป็นแนวคิดที่ยังทันสมัยและใช้ได้กับคนในยุคปัจจุบันทีี่ยังเป็นปัญหาที่ค่านิยมเก่าแก่ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับยุคสมัย สมควรที่นักบริหารที่ยังจมอยู่กับแนวคิดเดิม ๆ หรือไม่ค่อยมีอะไรใหม่ ควรเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้มาพัฒนาบ้าง เพื่อจะได้ส่งเสริมความคิดใหม่ ๆ ให้กับองค์การ ทำให้องค์การก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่



   










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง