กลอน แนวคิดการเปลี่ยนแปลงหกประการของคอทเตอร์

               แนวทางการเปลี่ยนแปลงของคอทเตอร์    ไชซิงเกอร์เป็นอีกคนที่ร่วมคิด
      ในตัวแบบจำลองร่วมประดิษฐ์                          เพื่อลดฤทธิ์ต่อต้านความหวาดกลัว
      เหตุผลสามประการค้านเปลี่ยนแปลง                  หนึ่งขัดแย้งเพราะคับแคบเห็นแก่ตัว
      เพียงเพราะมองเห็นประโยชน์จนเมามัว               ลืมไปทั่วมีผลดีต่อส่วนรวม
              สองเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนทั่ว          เพราะไม่ชัวร์เรื่องข้อมูลข่าวสารกัน
      ขาดข้อมูลความจริงไม่รู้ทัน                             สามใจนั้นไม่กว้างยอมปลดปลง
      การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรุกเร้า                    พวกหัวเก่าเกาะเกี่ยวความมั่นคง
      กลัวการงานเปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงตรง                 เพราะลุ่มหลงแบบเก่าเฝ้างมงาย
             สี่ประเมินสถานการณ์แตกต่างธง                ลูกน้องคงไม่เห็นด้วยการเปลี่ยนแปลง
     ในข้อดีข้อเสียไม่รู้แจ้ง                                     หวาดระแวงว่าตนต้องอับปาง
     แนวทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง                            ล้วนเกี่ยวดองต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
     หนึ่งการศึกษา,สื่อสารที่นำทาง                          มีแบบอย่าง,ข้อมูลพอวิเคราะห์
             ต้องให้การศึกษาพร้อมชี้แจง                     การเปลี่ยนแปลงล่วงหน้าก่อนนำใช้
    เพื่อลูกน้องมองเห็นตรรกะไกล                            ล้วนเข้าใจการเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอน
    เป็นการลดข่าวโคมลอยไม่ถูกต้อง                        ที่เกี่ยวข้องผลกระทบต่อองค์กร
    สองต้องมีส่วนร่วมทุกบทตอน                             ผู้เริ่มก่อนขาดข้อมูลที่จำเป็น
            การออกแบบการเปลี่ยนแปลงเป็นทุนรอน       ถูกตัดทอนต่อต้านคานอำนาจ
    เพื่อหาพวกร่วมกันในบทบาท                              จึงต้องพลาดนำเปลี่ียนแปลงที่เร็วไป
    ดังนั้นจึงจำเป็นให้บุคคลร่วมยอมรับ                      อย่างพร้อมสรรพรับรู้จนก้าวไกล
    จึงสามารถลดแรงต่อต้านได้ดั่งใจ                        พร้อมก้าวไปข้างหน้าสง่างาม
           สามต้องอำนวยความสะดวกได้                    ด้วยการให้สนับสนุนในหนทาง
    เนื่องคนเราต้องปรับตัวตามแบบอย่าง                   จำนำทางช่วยเหลือสิ่งยุ่งยาก
    กับความกลัวและวิตกกังวลกัน                             สิ่งสร้างสรรค์ช่วงรอยต่ออย่างลำบาก
    คอยอบรมพร้อมปรึกษาเหมือนจัดฉาก                   รับรู้จากภายนอกเป็นตัวอย่าง
           สี่เจรจาต่อรองเห็นด้วยมาก                          ล้วนมาจากรับฟังการโต้เถียง
    ปล่อยโอกาสคัดค้านไม่ลำเอียง                           โดยหลีกเลี่ยงขัดแย้งวิวาทกัน
    ต้องเสนอสิ่งจูงใจที่ดีกว่า                                   เพื่อลดราวาศอกเพราะแบ่งปัน
    ตาสว่างถ้วนหน้าเพราะรู้ทัน                                 ยอมรับกันการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งดี
           ห้าการจัดแจงเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์           หาพวกกันยอมรับความแตกต่าง
   อาจไร้ผลและใช้จ่ายแพงทุกอย่าง                          แต่นำทางคนคิดต่างมาผนวก
   โดยจัดจ้างวางแผนเปลี่ยนความคิด                       เพื่อสะกิดแนวทางการคิดบวก
   และผู้นำสัญญาลักขณ์พร้อมสร้างพวก                    ความสะดวกเปลี่ยนแปลงได้ง่ายดาย
           หกใช้พลังบังคับไม่รวกรวก                          พลังบวกทั้งทางตรงและทางอ้อม
 เมื่อจำเป็นรวดเร็วเข้าบีบล้อม                                 การเกลี้ยกล่อมจำต้องทำความชัดแจ้ง
 ในเหตุผลการเปลี่ยนแปลงไม่คลุมเคลือ                    พร้อมช่วยเหลือลดกังวลคนองค์การ
 เช่นตกงาน,ไล่ออก,โยกย้ายงาน                             ไม่ปรับฐานเลื่อนขั้นตำแหน่งกัน
          แต่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล                            เรื่องจัดการรัฐธรรมนูญนั้น
 เป็นเรื่องยากเพราะขัดแย้งและเกี่ยงกัน                      ยุดยื้อกันตามความเชื่อที่แตกต่าง
 ทั้งปรองดอง,สมานฉันท์พาเวียนหัว                         เพราะเกรงกลัวเสียเปรียบไม่ละวาง
 จึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทุกแนวทาง                     เป็นแบบอย่างไม่ยอมแพ้เพือส่วนรวม
          สิ่งจำเป็นการศึกษาความกระจ่าง                   ในแนวทางประชาธิปไตย
 ที่คนไทยยังไม่ได้ศึกษาไว้                                     เร่งรุดไปเปิดโลกทุกถ้วนถี่
 หากชาติไทยยอมเดินก้าวหน้าไป                             ไม่ยอมให้หยุดยั้งอยู่กับที่
 ต้องเดินหน้าพาชาติรุดหน้าดี                                  เป็นหน้าที่นักการเมืองเรื่องส่วนรวม
 
          
  

    
   

   
                 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง