"ทฤษฎีภัยพิบัติ ตอนที่สอง"

              จุดกำเนิดทฤษฎีภัยพิบัติ      สิ่งแจ้งชัดปรับปรุงหนึ่งเก้าหกศูนย์
     และนำเสนออย่างเกื้อกูล              ที่เพิ่มพูนนำใช้หนึ่งเก้าเจ็ดสอง
     ชื่อเรนทอมนักคณิตศาสตร์           เขาสามารถเขียนตำรามาทดลอง
     ชื่อเสถียรภาพโครงสร้างของ         การเกี่ยวข้องแหล่งกำเนิดในไบเบิ้ล
              ทอมหวังจะทำนายที่เกี่ยวดอง ทำนายของพฤติกรรมในระบบ
     ความสับสนที่ซับซ้อนมาบรรจบ      เพื่อประสบระดับเชิงปฏิบัติ
     โดยอีซี.ซีแมนปีเจ็ดศูนย์               ความยืดหยุ่นนำใช้อย่างยืนหยัด
     ด้วยวิธีการคุ้นเคยเข้าใจชัด            การเคร่งครัดพยากรณ์พฤติกรรม
             ของระบบซับซ้อนในวิวัฒน์    ปรากฎชัดได้แก่แลกเปลี่ยนหุ้น
     สองการรบกวนแหล่งกำเนิดคุณ       สามสิ่งหนุนเปลี่ยนแปลงชีวภาพ
     สี่พฤติกรรมเชื่อมโยงเหมือนสะพาน  เน้นรากฐานใช้ทฤษฎีทราบ
     ในทฤษฎีของทอมไม่หยามหยาบ     ต้องเข็ดหลาบเพราะใช้ไม่ได้ผล
             ขั้นตอนกระบวนการสิ่งซึมซาบ มาจากคราบหลักวิชามาตกแต่ง
     คือวิชาบริหารการเปลี่ยนแปลง         และหลักแห่งพัฒนาองค์การ
     ในรูปแบบการเปลี่ยนแปลงนั้นราบเรียบ เป็นระเบียบต่อเนื่องและพูนเพิ่ม
     ของรูปแบบการเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนเดิม ที่เพิมเติมแผนเปลี่ยนแปลงกระบวนการ(Business Process
     improvement initiatives)
             เช่นความคิดของญี่ปุ่นมาสร้างเสริม ที่มุ่งเติมแนวคิดเช่นไคเซ็น
     ทีคิวเอ็ม,ซิกซิกมาที่มุ่งเข็น             กับประเด็นทฤษฎีภัยพิบัติ
     การเปลี่ยนแปลงฉาบหน้าอย่างมั่นคง รูปแบบตรงทฤษฎีดังเด่นชัด
    ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างเร่งรัด      การแจงจัดทางออกก่อนเปลี่ยนแปลง 
             การเปลี่ยนแปลงแท้จริงปฏิบัติ ดังเด่นชัดยกเครื่องกระบวนการ
    รูปแบบนี้ไม่ต่อเนื่องบริหาร              ดังคำขานทฤษฎีภัยพิบัติ
    การปรับปรุงอย่างง่ายที่เห็นมา          ทางเลือกหนาอาจจำเป็นใช้จำกัด่
    สิ่งท้าทายผู้ชำนาญเปลี่ยนเห็นได้ชัด  เพื่อมุ่งตัดสินใจอย่างรุนแรง
              ที่จำเป็นต่อการปรับเพิ่มเจนจัด แต่ทางคัดเลือกสรรไม่ตรงเผง
   ซึ่งเป็นผลความสับสนสร้างความเกรง   เพื่อบรรเลงความมั่นคงในแนวใหม่
   ที่ผูกพันกับวิธีละลาย/ไม่ละลาย          รูปแบบใหม่การจัดการเปลี่ยนแปลงใน
   และทางเลือกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วไว     บังคับใช้กับองค์การเป็นครั้งคราว
              แต่อาจไม่ราบเรียบได้ดังใจ     เมือนำใช้ในองค์การเพื่อดั้นด้น
  ว่าหนทางดำเนินไม่ได้ผล                   ที่เป็นหนทางเดินเท่าที่มี
  จุดแข็งทฤษฎีภัยพิบัติ                        ช่วยเร่งรัดเข้าใจเรียนรู้ดี
  ในความคิดทฤษฎีสับสนนี้                  เปลียนแปลงมีธุรกิจที่เสียงภัย
              ในความคิดองค์การอย่างถ้วนถี  ที่ทวีคุณค่าอย่างหลากสี
  มีตัวแปรบางตัวผสมดี                        มั่นคงมีเป็นแต่เพียงบางคุณค่า
  และทฤษฎีแสดงว่าไม่สามารถ             อาจผิดพลาดจัดการในทีท่า
  เพียงอาจมีอิทธิพลที่ฟันฝ่า                 ภาพรวมหนาของเกสตัลท์มุ่งใช้มอง
             ข้อจำกัดทฤษฎีที่กล่าวมา        แสวงหาเข้าใจพฤติกรรม
 ในองค์การต้องมองคุณภาพนำ             ดีกว่าย้ำเชิงปริมาณบางเวลา
 สองการอธิบายระบบที่ซับซ้อน             ที่ง่ายก่อนยังคงเรื่องหนักหนา
 สามล้มเหลวในสิ่งปรารถนา                 เพื่ออรรถาอธิบายสิ่งซับซ้อน
             ซึ่งตัวแปรสำคัญห้าตัวมา        มุ่งเวลาทำนายพฤติกรรม
สิ่งซับซ้อนในองค์กรที่กระทำ                ยังต้องนำแก้ไขสิ่งท้าทาย
ที่คิดว่าเป็นไม่ได้การสิ้นเปลือง              แต่ชำเลืองหาวิธีมีความหมาย
เป็นแนวทางการเปลี่ยนแปลงที่กลับกลาย ล้วนคลี่คลายสร้างฟ้าใสสมใจปอง
 
 


   
             
     
    
     
            

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง