กลอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตอนที่ 68

       
 
  
           จุดสำคัญมากที่สุดฝ่ายมนุษย์      จำต้องจุดกระแสแก้ปัญหา
     การอบรมเริ่มด้วยคำสมาร์ท(smart)นา   หนึ่งคำว่าเฉพาะ(specific)ที่สำคัญ
     สองวัดได้(measurable)มีความหมายทรงคุณค่า สามสรรหา(attainable)ความสำเร็จที่ยืนยัน
     สี่ผลจริง(realistic)สิ่งสอดคล้องมุ่งหมายกัน  ห้ายึดมั่นกรอบเวลา(time framed)ที่เหมาะสม
            สิ่งประจักษ์ผู้จัดการมุ่งไฝ่ฝัน        จำแบ่งปันมุ่งตระหนักตัดสินใจ
     หรือมุ่งหมายต่อรองกรองกำไร             มุ่งหมายในท่ามกลางผู้จัดการ
     อันเวลาเป็นปัจจัยอย่างสำคัญ              สิ่งง่ายนั้นกลับหลีกเลี่ยงเนื้อหางาน
     เมื่อกดดันจุดคุ้มทุนไม่คุ้มการ              จำต้องสานความคิดดีเพื่อคนอื่น
            การอบรมปรับเป็นเรียนรู้การ          เพิ่มชำนาญการเรียนรู้ทั้งชีวิต
     ในรูปแบบกระบวนการที่ค่อยคิด            แทนการคิดกิจกรรมแบบเป็นชุด
     การเีรียนรู้เป็นโครงสร้างอย่างสูงส่ง        มุ่งผลตรงกลยุทธ์การก้าวรุด
     การยอมรับสถานที่สำคัญสุด                เรียนรู้ฉุดการทำงานเชื่อมโยงกัน
           การอบรมและเรียนรู้ไม่สะดุด         ไม่ยื้อยุดมุ่งส่วนร่วมพัฒนา
     บรรทัดฐาน,อุปสรรคงานก้าวหน้า           ผลเลิศหนาไม่สำเร็จอย่างที่เป็น
     เพราะองค์กรมุ่งตระหนักความสำคัญ       ว่าคนนั้นเป็นทรัพย์สินที่ซ่อนเร้น
     คือบุคคล และความรู้เป็นประเด็น           ไม่อาจเห็นหากปิดบังขังตนเอง
           การอบรมไม่อาจมุ่งที่เลือกเฟ้น       ด้วยทำเป็นกิจกรรมเฉพาะอย่าง
     ที่ประยุกต์คน,เวลาเป็นแนวทาง            ที่แผ้วถางอย่างแน่นอนเป็นทางการ
     กิจกรรมการอบรมควรเป็นชุด                ที่เร่งรุดยุทธศาสตร์บริหาร
     งานมนุษย์มุ่งหมายใช้ต่อเนื่องนาน         ผู้บริหารมุ่งอบรมเพื่อเปลี่ยนแปลง
           โดยมุ่งใช้วิทยากรนอกหน่วยงาน     หรือทำการเปลี่ยนเวทีสู่ภายนอก
     ไม่จำกัดกรอบความคิดอยู่ในซอก          โดยไม่ออกมามองโลกกว้างไกล
     เพื่อลดความซ้ำซากงานประจำ              มุ่งหมายทำย่ำกับที่ไม่ไปไหน
     อนาคตองค์กรที่ก้าวไกล                     ล้วนมุ่งไปปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

       
    
          

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง