กรอบแนวคิด 7 ประการของแม๊คเคนซี่

           กรอบคิด 7 ประการของแม๊คเคนซี่  ตัวแบบที่ให้ข้อคิดฝ่ายจัดการ
     จัดองค์การภาพรวมของหน่วยงาน        และจัดการประสิทธิผลในหนทาง
     ปัจจัยพิจารณาร่วมกันดำเนินการ          บริหารเจ็ดปัจจัยโดยตามอย่าง
     เพื่อสำเร็จกลยุทธ์เป็นแนวทาง           ที่จัดวางปัจจัยพี่งพิงกัน
           จุดกำเนิด 7's ที่กล่าวขาน           ศิลป์ของการจัดการญี่ปุ่น (The Art of japanese management)
     โดยพาสคาล,อาทอสคิดเป็นทุน           เสริมค่าคุณกับอุตสาหกรรมในโรงงาน
     และปีเตอร์,วอเตอร์แมนได้สำรวจ         อย่างยิ่งยวดความเป็นเลิศบริหาร
     จึงประชุมนักวิชาการทั้งสี่ท่าน              จึงก่อการความคิด 7 ปัจจัย
           หนึ่งคือแบ่งปันค่านิยม (Shared Value)การทำงาน   หมายถึงการกำหนดในจุดยืน
     และความเชื่อ,ทัศนคติไม่เป็นอื่น           เพื่อยืนพื้นมั่นคงไมแปรผัน
     สองคือกลยุทธ์ (strategy) เน้นวางแผน    จัดสรรแปลนทรัพยากรหายากนั้น
     เพื่อบรรลุเป้าหมายกำหนดกัน              การแข่งขัน,สิ่งแวดล้อมและลูกค้า   
                  สามคือโครงสร้าง (structure)ที่วางกัน ที่เกี่ยวพันหน่วยงานขององค์การ
    เป็นหน้าที่สัมพันธ์ระหว่างงาน               แบ่งจัดการเป็นแผนกฝายหน้าที่
    ทั้งกระจายอำนาจบริหาร                     จัดองค์การแบบแมททริกซ์อย่างถ้วนถี่
    ทั้งโครงสร้างเครือข่ายในวิธี                  แบ่งพื้นที่ตามสินค้า,ภูมิศาสตร์
           สี่คือระบบ (system) กำหนดดี          กรรมวิธี,กระบวนการ,และกิจวัตร
    ที่กำหนดวิธีการอย่างแจ้งชัด                 สามารถวัดผลงานและชี้แจง
    ทั้งระบบการเงิน,และสรรหา                  และพัฒนาเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่ง   
    ระบบข้อมูลข่าวสารมุ่งแถลง                 ไม่คลางแคลงเพราะระบบมีหลักการ
           ห้าคือจัดหาบุคลากร (staff)ทุกหนแห่ง  ต้องยื้อแย่งได้คนที่สามารถ
    ทั้งจำนวนและประเภทมิได้ขาด             ไม่พลั้งพลาดหาคนทันเวลา
    หกคือลีลา (style)วัฒนธรรมขององค์การ    วิธีการผู้บริหารแสวงหา
    เพื่อบรรลุเ้ป้าหมายสำเร็จหนา                หากลีลาเหมาะสมกับเหตุการณ์
           เจ็ดคือทักษะ (skill)บุคคลควรนำพา   พัฒนาแก่นแกนความสามารถ
    ปฏิบัติงานสอดคล้องยุทธศาสตร์            ทำฉลาด,ได้ผลงานความสำเร็จ
    อันข้อดีของทฤษฎี 7 ปัจจัย                  นำมาใช้วัดผลอย่างเบ็ดเสร็จ
    เป็นเครื่องมือวิเคราะห์มุ่งจับเท็จ             แสวงเหตุเปลี่ยนแปลงเพื่อองค์การ                         
    
         






                             
 
     
    

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง