การปรับปรุงมาตรฐานการรักษาพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน

           
            จากนโยบายรักษาโรค 30 บาทรักษาทุกโรคนับว่าเป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้เป็นอย่างดี และทำให้คนยากคนจนได้รับโอกาสทางสังคมเพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตทีดีขึ้น  ซึ่งควรกำหนดเป็นนโยบายที่เป็นวาระแห่งชาติในการเน้นการรักษาสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการลดช่องว่างทางฐานะเศรษฐกิจที่ประชาชนขาดความเท่าเทียมกัน และการที่คนยากคนจนไม่มีเงินรักษา  หากใช้นโยบายนี้จะช่วยลดความเจ็บป่วยทางสังคม  แต่ปัญหาจากการบริหารงานของรัฐบาลขาดความต่อเนื่อง  ทำให้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคมีการสะดุด และทำให้เกิดการแก้ไขหรือเบี่ยงเบนแนวทางในการรักษาคนไข้ซึ่งเป้นประชาชนยากจน นั่นก็คือการรักษาโรคที่รุนแรงหากมีการจ่ายยาที่มีราคาแพง แต่กลับใช้ยาที่ราคาถูกไปรักษาคนไข้  จะเป็นผลให้คนยากจนที่เจ็บป่วยต้องล้มตายเป็นจำนวนมาก  เพราะเคยมีปัญหาที่ว่ามีการคอรัปชั่นเกี่ยวกับยาทำให้ยามีการจัดซื้อจัดจ้างที่ราคายาแพงกว่าปรกติ มีการบวกราคาเกินความเป็นจริง  จึงสมควรที่รัฐควรมีการกำหนดเป็นนโยบายที่จะช่วยรักษาสุขภาพของประชาชนก่อนที่จะก่อให้เกิดปัญหาโรคที่ร้ายแรง นั่นคือการกำหนดมาตรการรักษาสุขภาพถ้วนหน้า เช่นการพยาบาลเคลื่อนที่ตามสถานที่ต่าง ๆ    ในปัจจุบันประสิทธิภาพการรักษาโรค 30 บาทมีลักษณะที่ลดน้อยถอยลง  ซึ่งรัฐบาลควรเข้าไปจัดการดูแลอย่างใกล้ชิด  และป้องการการทุจริตเกี่ยวกับราคายา  ซึ่งเป็นเรื่องที่มี่รายละเอียด   ควรกำหนดราคายากลางจากกระทรวงสาธารณสุข และให้โอกาสคนจนได้รับการรักษาที่ดี แม้จะยากจน  เพราะถือเป้นการบริการทางสังคม   ซึ่งในเรื่องนี้หากรั้ฐบาลขาดเงินงบประมาณในเรี่องนี้  ก็อาจเพิ่มภาษีเกี่ยวกับบุหรี่หรือเหล้าเพื่อเก็บภาษีส่วนนี้เพ่ิมขึั้น และนำมาเป็นรายได้รัฐบาล เพื่อนำเงินส่วนนี้มาใช้เป็นเงินสะสมเพื่อการรักษาพยาบาลแก้ประชาชนทั้งประเทศ  ในอนาคต่เมื่อประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น ก็จะไม่เป็นภาระแก่รัฐบาล หรือแพทย์          สิ่งที่ควรแก้ไขเพื่อทำให้นโยบายรักษาทุกโรค 30 บาทนั้นควรวางแนวทางดังนี้
          1. ควรกำหนดให้มีพยาบาลอาสาที่จะเข้าไปช่วยเหลือรักษาพยาบาลตามสถานที่ต่าง ๆ ท่ี่เป็นจุดศูนย์รวมเช่นวัด,โรงเรียน  โดยมีกำหนดการวันที่มีแพทย์และพยาบาลเคลื่อนที่ที่จะรักษาประชาชนเพื่อลดภาระการเจ็บป่วยที่จะใช้พื้นที่โรงพยาบาลทั้งของภาครัฐและเอกชน
         2. ควรกำหนดให้โรงพยาบาลเอกชนที่ร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อการรักษาโรค 30 บาท ในกรณีฉุกเฉินจำเป็นต้องอาศัยโรงพยาบาลใกล้พื้นที่อย่างเร่งด่วน  โดยให้โรงพยาบาลเอกชนใช้ยาที่มีมาตรฐานเท่าเทียมกัน  และการเบิกจ่ายนั้นภาครัฐเป็นผู้ดูแล    หากโรงพยาบาลเอกชนรายใดที่ขาดประสิทธิภาพดำเนินการ  ภาครัฐก็อาจจะยกเลิกสัญญาการใช้บริการในโรงพยาบาลนั้น  ๆ   ทำให้โรงพยาบาลต้องรักษามาตรฐานการบริการ   และควรให้โรงพยาบาลเอกชนนั้นทำสถิติความเจ็บป่วย แล่ะรักษาว่ามีจำนวนผู้เข้ารับบริการเท่าใด, เป็นโรคอะไร,รักษาหายเท่าใด, อยู่ในสภาพทรงตัวเท่าใด, และอยู่ระหว่างการรักษาเท่าใด  และหายเจ็บป่วย หรือฟิ้นไข้ หรือหายเป็นปกติเท่าใด   ซึ่งจะมีบอร์ดแสดงสถิติทุกโรงพยาบาล     และมีเจ้าหน้าที่ของภาครัฐหรือคณะกรรมการตรวจสอบประสิทธิภาพการรักษามาทำการตรวจสอบหรือ การพิจารณาจากการที่ประชาชนมารักษานัั้นมีความพึงพอใจในการบริการมากน้อยเพียงใด?
       3. ควรจัดหาทุนเพื่อผลิตแพทย์จิตอาสา  โดยให้ทุนการศึกษาแบบเต็มจำนวน และจะต้องเป้นแพทย์ที่มีอุดมการณ์ แต่ภาครัฐควรจัดสวัสดิการแก่แพทย์ที่อุทิศตัว    เพราะปัจจุบันคนเรียนแพทย์หรือหมอส่วนใหญ่เป็นลูกคนมีเงิน  มิใช่ลูกคนชั้นกลางหรือคนยากจน   ทำให้ค่านิยมในการเรียนแพทย์เพื่อแสวงหาเงินเยอะ ๆ ทำให้แพทย์อาจขาดจรรยาบรรณแพทย์ในการรักษา หรือไม่เต็มใจรักษาคนไข้  นอกจากนี้การผลิตแพทย์มีไม่พอเพียงต่อคนไข้  ทำให้ความเจ็บป่วยของสังคมมีมากเนื่องจากสังคมปัจจุบันมีความเครียดจากระบบเศรษฐกิจ เพราะได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นภัยน้ำท่วม, ภัยพิบัติธรรมชาติ ฯลฯ     และการส่งเสริมให้ใบประกาศเกียรติคุณในผลงานของแพทย์หรือพยาบาลดีเด่น  เพราะเป้นเครดิตที่ดี   หากแพทย์นั้นได้มีสถิติในการรักษาพยาบาลในภาครัฐหรือเอกชนดีเด่น   ทำให้แพทย์ที่ไปเปิดคลีนิคก็จะไม่คิดค่่ารักษาแพงเกินไป หรือจ่ายยาที่ขาดคุณภาพ  แต่ภาครัฐเข้าไปสนับสนุนการเบิกจ่ายยาที่มีคุณภาพ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาจากโรงพยาบาลเอกชน     และทำให้คนชั้นกลาง หรือร่ำรวยไม่เกิดความรู้สึกว่าการที่รัฐบาลรับภาระรักษาประชาชนทั่วไปนั้นยอ่มกระทบกับสิทธิของตนเอง  ทำให้เกิดการต่อต้านแนวคิคการรักษา 30 บาทรักษาทุกโรคได้    ซึ่งเป็นอุดช่องว่างช่องโหว่ของความไม่พึงพอใจ
       4. แพทย์ที่รักษาคนไข้ในภาคเอกชน  ควรจะวางระบบบุคลากรแพทย์โดยมีหอพัก หรือบ้านสำหรับหมอหรือนายแพทย์ได้อยู่ใกล้สถานโรงพยาบาล  มิใช่ให้คนไข้ที่เข้าขั้นโคม่ารอคอยการรักษา อาจทำให้คนไข้ช๊อคตายกระทัน หากรักษาไม่ทัน อาจพิกลพิกาลได้     ควรกำหนดโรคร้ายแรงที่คนไข้เข้ารักษาห้องฉุกเฉินว่านายแพทย์จะต้องเข้าไปรีบทำการรักษาโดยด่วน  อย่างน้องต้องมีแพทย์ประจำ 1-2 คนที่สามารถดูแลอาการคนไข้ได้   หากไม่สามารถรักษาได้ก็ต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทาง     แต่โรงพยาบาลเอกชนเกิดปัญหาว่าคนจนเมื่อเข้าไปรักษาอาจไม่ได้รับบริการที่ดีเท่ากับคนไข้ที่มีเงิน    ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ  ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลต้องจัดงบประมาณสนับสนุนในเรื่องค่ารักษาโรคร้ายแรง หรือฉุกเฉิน  ก็จะทำให้การรักษาพยาบาลได้มาตรฐานที่เท่าเทียมกัน
      5. การยกย่องแพทย์ดีเด่นให้เป้นที่ประจักษ์ที่ทำคุณงามความดีแก่สังคม โดยเน้นรักษาคนไข้ที่ราคาไม่แพง ย่าไม่แพง  ซึ่งแพทย์นี้มีอยู่ในชุมชนจำนวนมากพอสมควร ในรูปของคลีนิคต่าง ๆ ก็จะมีการให้รางวัลเกียรติยศประจำปีของกระทรวงสาธารณสุข   และใบประกาศเกียรติคุณก็จะช่วยให้แพทย์มีกำลังใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น   และมีการจ่ายค่าตอบแทนที่ภาครัฐกำหนดในลักษณะเงินอุดหนุนภาครัฐแก่โรงพยาบาลภาคเอกชน    ทำให้แพทย์ต้องปฏิบัติงานอย่างมีประสิ่ทธิภาพ และเกิดจิตสำนึกมากขึ้น
       6. การกำหนดมาตรฐานเครื่องไม้เครื่องมือในการรักษาของโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน    ส่วนใหญ่โรงพยาบาลภาครัฐมักมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์การแพทย์ที่ดีอยู่แล้ว แต่บางครั้งโรงพยาบาลภาคเอกชนอาจขาดเครื่องมือที่ท้ันสมัย   รัฐบาลควรกำหนดให้มีศูนย์เครื่องมือการแพทย์ที่จำเป็นต่อการรักษาคนไข้ได้อย่างมาตรฐาน ในลักษณะของการกำหนดมาตรฐานโรงพยาบาล   หากกรณีที่ภาครัฐต้องการให้มีการบริจาคเงินเพื่อซื้อเครื่องมือ   ก็ต้องอาศัยเงินบริจาคสาธารณะ หรือจ่ากวัดวาอารามต่าง ๆ ที่ประชาชนยินดีให้เงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือในการซื้อเครื่องไม้เครืองมือทางการแพทย์ได้   ที่เรียกว่าการทอดผ้าป่าเครื่องมือแพทย์    เมื่อรัฐบาลมีเงินงบประมาณมากพอก็ไม่ต้องระดมเงินบริจาคอีกต่อไป   เพราะคนไข้มีน้อยลง มาตรฐานการรักษาดีขึ้น  ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพดีขึ้น    ดังนั้นรัฐบาลที่บริหารไม่ต่อเนื่องทำให้นโยบายไม่ต่อเนื่่อง   แต่ควรกำหนดขั้นต่ำในมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนถ้วนหน้า  เพื่อมิให้รัฐบาลที่มีการเปลี่ยนแปลงเข้ามาแล้วเปลี่ยนไปในลักษณะที่มาตรฐานน้อยกว่าเดิม
        แม้ว่าการกำหนดนโยบายรักษาทุกโรค 30 บาทนั้นยากที่จะทำให้สมบูรณ์  ประกอบกับรัฐบาลมีภาระการใช้จ่ายมากกว่าเดิม  ทำให้รัฐบาลต้องมุ่งหันไปมองที่ภัยพิบัติจากน้ำท่วม   แส่ะต้องหางบประมาณมาบรรเท่า และเยียวยาแก่ประชาชน     แต่ก็จำเป็นต้องทำไปพร้อม ๆ กัน เพราะรัฐบาลได้ประกาศนโยบายที่จะให้การรักษาทุกโรค 30 บาทเป็นนโยบายต่อเนื่อง     โดยรัฐต้องแสวงหาวิธีการหารายได้เข้าประเทศในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น  






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง