การเมืองดี ช่วยชาติได้อย่างไร และในทำนองตรงกันข้ามการเมืองเลวร้าย ทำลายชาติได้อย่างไร?





            มักมีวาทกรรมที่ปรากฎซ้ำซากของสังคมไทยอยู่เสมอว่า การเมืองเป็นเรื่องเลวร้าย หรือเป็นเรื่องสกปรก นักการเมืองล้วนแต่เป็นคนไม่ดี   ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดและคลาดเคลื่อน  จนคนบางกลุ่มถึงประกาศว่าที่นี่ไม่มีการเมือง   การพูดเช่นนี้เป็นการขาดความรับผิดชอบ และมองการเมืองในแง่ร้ายเกินไป   จริง ๆ แล้วการเมืองสามารถสร้างสรรค์ได้ และมิใช่เรื่องน่าเบื่อหน่าย  หากประชาชนทุกคนทุกวิชาชีพมีความตื่นตัวต่อบ้านเมือง และหันมาสนใจ และช่วยกันติดตาม รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรักและหวงแหนประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริม และน่าช่วยกันประคับประคอง หรือตื่นตัวเพื่อหาทางให้ประชาชนทั้งประเทศมีทางออก   หากเราไม่สนใจการเมือง ผลประโยชน์ของชาติก็ตกไปอยู่กับคนเพียงไม่กี่คน และเป็นการใช้วาทกรรมที่หลอกลวงประชาชน   แต่การเมืองสามารถสร้างสรรค์ได้  คำว่าการเมืองนั้นมิใช่เรื่องชั่วร้าย หรือเป้นคำชั่วร้าย  แต่คนที่มาทำงานการเมือง หรือมาเล่นการเมืองต่างหากที่ทำให้การเมืองไม่ดี, การเมืองไม่สร้างสรรค๋์ เช่นการใช้วิธีการสกปรก หรือใช้วิธีการรุนแรงต่อประชาชนคนไทยย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ดี   แต่ผู้เสียหาย หรือมาร้องเรียนนั้นเป็นเพราะความเดือนร้อน และความคับแค้นทางจิตใจ  หากใครเจอกับปัญหานี้ย่อมจะมีความรู้สึกแบบนี้เช่นเดียวกัน      การเมืองจะสงบและสร้างสรรค์นั้นสังคมการปกครองต้องเป้นสังคมที่ดี, สังคมที่ส่งเสริมคนมีความสามารถหรือเป็นคนดีเข้ามาปกครองบ้านเมือง แต่มิใช่การหาวิธีการล้มล้างอำนาจโดยวิธีการสกปรก และจำกัดพื้นที่ประชาชนโดยบอกว่าไม่ต้องสนใจการเมือง เพราะการเมืองสกปรก ทำให้ประชาชนบางส่วนเกิดความเบื่อหน่าย และถึงกับไม่สนใจ และไม่ช่วยกันสร้างสรรค์ทีี่ดีทางการเมือง   เพราะบางคนเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตนเองมากเกินไป แต่กลับไม่สนใจปัญหาบ้านเมือง หรือประชาชน    กฎหมาย หรือรัฐธรรมนูญมิควรเป็นเครื่องมือของการที่ทำลายอำนาจของประชาชน เพราะการปกครองประชาธิปไตย ประชาชนควรมีอำนาจอธิปไตย  มิใช่ทำอะไรประชาชนผิดเสมอ แต่มีประชาชนบางส่วนทำอะไรถูกอยู่ตลอดเวลา  เพราะใช้มาตรฐานที่ไม่เป็นกลาง และมีความคิดที่ไม่มองให้รอบด้าน ในแวดวงการศึกษานักศึกษาส่วนใหญ่ก็ไม่สนใจ ถึงกับละเลย เพราะเพียงแต่เกิดความเกรงกลัวว่าจะทำอะไรผิด  จึงทำให้ทางออกของประชาธิปไตยจึงขาดข้อสรุป และแนวทางที่แน่นอน เป็นลักษณะของการขัดแย้ง และไม่ยอมรับเหตุผลความจริงว่า  รัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐประหารเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี หรือสร้างสรรค์ได้ยาก เพราะกฎหมายนั้นอาจรับใช้เฉพาะคนมีอำนาจ หรือคนมีอภิสิทธิ แต่สำหรับประชาชนไม่มีอำนาจ หรือไม่มีทางออก ก็จะกลายเป็นทางตัน   ดังนันสิ่งสำคัญที่ประชาชนควรตื่นตัวทางการเมืองในภาพรวม หากไม่สนใจแล้วย่อมกระทบต่อตนเองในภายหลัง  แต่มิใช่การมุ่งให้เกิดจราจล หรือการสร้างสถานการณ์เพื่อผลทางการเมือง และที่สำคัญสื่อทางทีวีควรพัฒนาให้รู้เท่าท้ันการเมือง และไม่ยอมเป็นเครื่องมือของคนมีอำนาจที่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และไม่ใช่ิวิถีการปกครองแบบประชาธิปไตย ลองมาดูทางออกสำหรับคนไทยในแต่ละวิชาชีพ จะมีทางออกไม่เหมือนกัน  
       ก. สำหรับคนจน หรืออาจจะมีฐานะดี เช่นอาชีพทำนา,กรรมกร หรือชาวไร่ชาวสวน มักมีวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ โดยเฉพาะชาวนาชาวไร่ไม่มีเงินเดือนเหมือนอาชีพอื่น ๆ   ดังนั้นหลักประกันของชาวนา คือการขายข้าวให้ได้ราคา  หรือรัฐบาลมีการประกันราคาข้าว หรือจำนำข้าว เพื่อพยุงให้ข้าวมีราคาดีเพื่อช่วยเหลือชาวนาให้มีรายได้
       ข. สำหรับอาชีพข้าราชการ,พนักงานภาครัฐ จะมีเงินเดือนประจำ  และปฏิบัติงานไปตามตำแหน่งหน้าที่การงาน และขึ้นอยู่สายงาน หรือการบังคับบัญชา   ดังนั้นข้าราชการมีการบริหารประชาชนได้ดี ไม่เลือกปฏิบัติก็จะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกวาพึ่งพาข้าราชการได้  
       ค. อาชีพครู หรืออาจารย์ ส่วนใหญ่ชีวิตอยู่กับห้องเรียน ไม่ค่อยได้สัมผัสกับชีวิตของประชาชน เพราะหลักสูตรการศึกษาไม่ได้เปิดโอกาสให้ครูอาจารย์ได้ไปศึกษาสภาพชีวิตความเป็นอยู่ หรือความต้องการของประชาชนา จึงมีเพียงแต่ทฤษฎี และสิ่งที่ศึกษาซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้สะท้อนความจริงของสังคม  แต่จะมีเฉพาะอาชีพนักการเมืองที่อยู่บนพื้นที่เท่านั้นจึงจะรู้ปัญหาได้  แต่บางครั้งนักการเมืองได้อำนาจไปแล้วอาจไม่เข้าหาประชาชนเหมือนตอนหาเสียง  แต่จะเป้นเฉพาะบางคนเท่านั้น
       ง. อาชีพด้านกฎหมาย หรืออยู่ในกระบวนการยุติธรรม  บางครั้งหรือหลายครั้งมีชีวิตที่ไม่ได้สัมผัสกับชีวิตจริง ๆ ของประชาชน ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะพิจารณาจากรูปคดี หรือตัวหนังสือ  หากบางคนมีการวิ่งเต้นล้มคดี หรือทำคดีให้อ่อน หรือมีการให้เงินเพื่อขอความช่วยเหลือ   การตัดสินคดีอาจมีอคติเพราะความหลง หรืออคติเพราะความกลัวบุคคลที่มีอำนาจแฝงสูงกว่า การที่ตนเองเกรงว่าจะถูกโยกย้ายเปลี่ยนแปลง จึงจำเป็นต้องเอาตัวรอดทั้ง ๆ ที่ก็รู้อยู่ว่้าบางครั้งก็ไม่ยุติธรรม   ทำให้กระบวนการยุติธรรมเป็นที่สงสัยของประชาชนที่เฝ้าจับตามอง  บางคดีล่าช้า, บางคดีรวดเร็ว,บางคดีเงียบหายไป, บางคดีเหมือนล้มมวย, บางคดีตัดสินแบบสองมาตรฐาน แต่้ผู้่ตัดสินคดีก็มักเอนเอียงว่่าตนเองตัดสินคดีถูกต้อง  แต่เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมบ้านเรายังไม่เหมือนแบบเปาบุ้นจิ้น ที่ตัดสินตรงไปตรงมา ไม่เกรงกล้ัวต่ออำนาจอิทธิพลของใคร่ มีจั่นเจาที่ไปศึกษารูปคดีบนพื้นที่จริง ๆ มิใช่เพียงดูแต่เอกสาร และการตัดสินคดี ไม่ใช่ดูแต่ตัวหนังสือ แต่ดูชีวิตจริง และใช้ทั้งหลักนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ รวมทั้งพฤติกรรมศาสตร์ประกอบกัน เนื่องจากโลกเรานี้ซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากกว่าเดิม     ซึ่งเรื่องนี้ประเทศไทยคงต้องใช้เวลา เมื่อฟ้าสว่างความยุติธรรมจะได้เกิดขึ้น  เช่นอาจมีคณะลูกขุนช่วยตัดสินให้เกิดความเที่ยงธรรมได้ดีกว่า
      จ. อาชีพนักธุรกิจ มักเป็นอาชีพที่เสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจ หากการเมืองไม่ดีแล้ว ธุรกิจย่อมกระทบกระเทือนอย่างมาก  เช่นการเมืองไม่ดีทำให้ต่างชาติไม่อยากมาลงทุน หรือย้ายฐานการลงทุน  ซึ่งบางคนมีความปรารถนาเช่นนั้น เพราะไม่ต้องการมีคู่แข่ง หรือเกรงว่าต่างชาติจะเข้ามามีบทบาทมากเกินไป
      ฉ. อาชีพค้ายาเสพติด,บ่อนการพนัน,การปล่อยเงินกู้โหดดอกเบี้ยสูง  ฯลฯ เหล่านี้ มักขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมประเทศชาติ    และมักไม่ขอบรัฐบาลดี ๆ ที่มุ่งปราบปรามยาเสพย์ติด  แต่กลับจะชอบรัฐบาลที่เปิดโอกาสให้มีการค้ายากเสพย์ติด หรือละเลย   จิตสำนึกการเมืองจะดีได้ยาก  เพราะสมองของเขาไม่ได้มีความคิดนึกถึงความเดือนร้อนของผู้อื่น
      7 อาชีพนักเรียน, นิสิตนึกศึกษา ปัจจุบันถูกหล่อหลอมให้มองการเมืองเป็นเรื่องชั่วร้าย  ทำให้ไม่ได้ศึกษาการเมืองอย่างถ่องแท้  และมีโอกาสจะตกอยู่ภายใต้การครอบงำของผู้แสวงหาอำนาจ ซึ่งหมายถึงไม่ต้องเป้นแนวร่วม หรือครอบงำเพื่อใช้เป็นการต่อต้านไม่สนใจการเมือง   ซึ่งในอดีตนักเรียนนิสิตนักศึกษา เป็นหัวหอกสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง    ดังนั้นบทบาทนักเรียน,นิสิต,นักศึกษามีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก   แต่มหาวิทยาลัยหากไม่ส่งเสริม พลังของนักเรียนนิสิตนักศึกษาก็จะอ่อนล้า และไม่สามารถจะตื่นตัวมาช่วยเหลือบ้านเมืองได้  จะมีลำพังนักเรียน,นิสิตนักศึกษาไม่้กี่คนเท่านั้นทืี่จะออกมารณรงค์   ซึ่งผิดกับเกาหลีที่นักศึกษาจะตื่นต่วต่อปัญหาประเทศบ้านเมือง
       8 อาชีพแม้ค้า,พ่อค้า มักไม่มีเวลาไปไหน และไม่มีเวลาไปพิสูจน์ความจริง จึงต้องอาศัยสื่อต่าง ๆ แต่สื่่่อมีการชักนำหรือพูดเอนเอียงไปกลุุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  ก็ย่อมทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน  จรรยาบรรณของสื่อจึงมีความสำคัญ คนที่ทำสื่อควรเป็นคนรอบรู้รัฐศาสตร์, พาณิชยกรรม รู้เท่าทันโลก  และติดตามข่าวสารทั่วโลก  อย่างสื่อที่สร้างสรรค์ได้แก่ Voice TV,
       9. อาชีพพระ, นักบวช สมณชีพรามณ์  มักมีชีวิตอยู้กับวัดวาอาราม  อยู่ใกล้ชิดประชาชน  ย่อมมีโอกาสเข้าใจปัญหาประชาชนมากกว่าอาชีพอื่น ๆ เพราะหลายครั้งประชาชนที่เข้าหาพระมักจะบอกถึงความเดือนร้อน และอยากให้พระช่วยเหลือ  ซึ่งบางครั้งพระก็ปลอบโยนด้วยการแนะนำต่่้าง ๆ
      10. คนที่ทำงานในเมือง และมีเวลามีโอกาสได้ศึกษาโดยเข้าฟังในการฟังม๊อบต่าง ๆ ย่อมรู้เท่าทันการเมือง แต่บางครั้งแต่ละกลุ่มต่างมีทัศนคติต่างกัน  หากเป็นนักอนุรักษ์นิยมก็จะมองโลกและสังคมที่กลัวการเปลี่ยนแปลง หรือถูกวาดภาพให้กลัว   ส่วนคนที่มีแนวคิดเปลี่ยนแปลงจะไม่กลัว กลับมองว่าการเปลี่ยนแปลงทำให้ชีวิต และอนาคตของเขาต้องดีขึ้น
      11. อาชีพข้าราชการทหาร มักอยู่กับระบบระเบียบวินัย คำสั่ง  ซึี่งสภาพแวดล้อมของอาชีพ ไม่สอดคล้องกับความคิดของประชาชน เพราะในสังคมประชาธิปไตยประชาชนย่อมมีสิทธิ,เสรีภาพ และต้องการความเสมอภาค แต่สังคมทหารการแสดงออกในเชิงกว้างขวางไม่มี ต้องปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเดียว  และผู่้บังคับบัญชามีอำนาจเด็ดขาดกับลูกน้อง   จึงทำให้ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป้นอยู่ของราษฎร    หากกลุ่มการเมืองใด ๆ ที่แอบอิง หรือพยายามใช้กองทัพเป็นเครื่องมือในการแสวงหาอำนาจ หากทำให้ทหารเป็นอาชีพไม่ควรเกี่ยวข้องกับการเมืองก็เป็นเรื่องดี แต่หากทหารกลับเป็นข่มขู่เสถียรภาพของรัฐบาล ก็เท่ากับว่าทหารไม่ยอมรับการเป็นรัฐบาลที่มาจากประชาชน  ดังนั้นโดยหลักสากลทั่วประเทศแล้ว   ทหารต้องฟังเสียงรัฐบาล และไม่มีอำนาจที่จะอยู่่เหนือกว่าอำนาจรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งของประชาชน  บางครั้งกลุ่มทหารอาจลืมไปว่ารัฐบาลนั้นมาจากเสียงของประชาชนสนับสนุน    ดังนั้นการที่สื่อนิยมสัมภาษณ์ผู้นำทหาร บางครั้งทำให้ภาพของทหารเสียไป จากการใช้คำพูด หรือการสื่อสารที่ไม่แสดงความเคารพประชาชน หรือให้เกียรติประชาชน เพราะอาจมองประชาชนไม่มีความสำคัญ
       สิ่งที่กล่าวไปนั้น เพื่อให้เกิดความคิดความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย  เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ  โดยปรับตัว หรือปรับบทบาทในทุกองค์กรวิชาชีพได้อยางเหมาะสม   หากไม่ทำความเข้าใจก็ยิ่งทำใหสังคมไทยเดินถอยหลัง ไม่ก้าวไปข้างหน้า  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงหากไม่ร่วมด้วยช่วยกันดูแลบ้านเมือง ดังคำกล่าวที่ว่า "สังคมการเมืองเลวร้าย เพราะคนดีท้อแท้หรือเบื่อหน่ายทางการเมือง ไม่หันมาสร้างสรรค์ หรือช่วยกันแสดงออก"









.




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง