การประชุมรัฐสภาที่มีประสิทธิภาพ

           
         การประชุมรัฐสภาเกี่ยวกับการพิจารณางบประมาณวาระแรกได้กลับกลายเหมือนกับการอภิปรายไม่่ไว้วางใจ  ทำให้ประเด็นต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณางบประมาณที่ควรจะเน้นให้ตรงประเด็นได้กลายเป็นการเฉไฉหรือเบี่ยงเบนไปในทางที่สูญเสียเวลา  เพราะปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศต้องการให้ผู้เทนราษฎรมีความสามัคคี และช่วยกันประคับประคองบ้านเมืองให้ไปในทิศทางที่ดี  ซึ่งสามารถระบุข้อดี่ข้อเสีย และสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือไร้ประโยชน์นั้นควรจะมี่การเสนอแนะประการใดเพื่อให้การประชุมรัฐสภามีทางออก
        ข้อดีของการประชุมสภาในวาระแรก
         1. ได้มี สส. หรือ สว.ได้อภิปรายในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเพื่อป้องกันภัยพิบัติน้ำท่วมซึ่งการบันทึกการประชุม และเก็บข้อมูลข่าวสารเพื่อเชื่อมโยงในการนำไปแก้ปัญหาในปัจจุบันหรือในอนาคตซึ่งทำให้เห็นภาพแต่ละจังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และสภาพของภาวะวิกฤติ, สภาวะผ่อนคลายวิกฤติ,และสภาพพ้นวิกฤติแล้ว   ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องหามาตรการเพื่อช่วยเหลือราษฎร   ซึ่งในอนาคตหาก สส. หรือ สว.มีความคิดเห็นที่ดี และรัฐบาลได้นำมาข้อเสนอแนะนำมาใช้ หากประสบความสำเร็จควรมีการตอบแทนรางวัล เช่นประกาศเกียรติคุณ หรือผลตอบแทนอื่น ๆ ที่จูงใจให้ สส.หรือ สว.ช่วยวก้นเสนอแนะ   ดังนั้นเพื่อออกแบบความคิดในการจัดการข้อเสนอแนะ (Suggesting System) และรัฐบาลควรมีคณะกรรมาธิการรับฟังข้อเสนแแนะเพื่อถกเถียงว่าความคิดนั้นเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องถือว่่าคำแนะนำ หรือการระดมสมองในสภาผู้แทนราษฎรนั้น หรือข้อเสนอแนะทั่วไปของนักวิชาการ หรือนักเขียนจากสื่อต่าง ๆ ที่ระดมความคิดนั้น   ควรมีการจูงใจผู้เสนอแนะและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ  และบางครั้งก็แต่งตั้ง สส.ฝายค้านหรือ สว.เป็นคณะอนุกรรมการ หรือกรรมาธิการเพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ เพื่อให้ สส.มีส่วนร่วม  เพราะธรรมชาติของ สส.ฝายค้านไม่ค่อยมีใครรอยากเป็น เพราะ สส.เกือบทุกคนอยากเป็นฝ่ายรัฐบาล  ดังนั้นจึงควรมีการปฏิรูประบบข้อเสนอแนะเพื่อจูงใจให้ สส.แสดงความคิดเห็นที่เป้นประโยชน์ต่อประเทศชาติ, ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และความร่วมมือซึ่งกันและกัน  ก็จะลดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งในสภา และการรู้สึกว่าฝายรัฐบาลกับฝ่ายค้านเป็นคนละพวกเดียวกัน ต้องสร้างความรู้สึกว่าในสภา สส., สว.คือพวกเดียวกัน ทุกคนเป็นประโยชน์ต่อรัฐสภา
         2. ทำให้ได้รับความกระจ่างของงบประมาณว่าจะนำไปใช้ในเรื่องอะไร มีนโยบายใดที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วน  และนโยบายใดที่ไม่เร่งด่วนและไม่จำเป็น   การสำรองเงินงบประมาณฉุกเฉินกว่าแสนล้านบาทนั้น  เป็นงบฉุกเฉิน  ดังนั้นรัฐบาลควรกำหนดวงเงินงบประมาณแบบกว้าง ๆ ไม่ได้ลงรายละเอียด แต่สามารถใช้งบประมาณยืดหยุ่น 
         3. ทำให้ได้รับความกระจ่างเกี่ยวกับการบริจาคสิ่งของ หรือเงินทองเพื่อนำไปช่วยเหลือราษฎร ซึ่งได้รู้ถึงวิธีการทำงานของภาครัฐในการแบ่งงานกันทำ   จากสภาพวิกฤตินั้นเป็นสภาวะการจัดทำโครงสร้างที่เร่ง่ด่วน และไม่ได้มีการเตรียมพร้อมมาก่อน  ไม่ว่ารัฐบาลใดหากเจอปัญหามหาวิกฤติครั้งนี้คงทำอเะไรไม่ถูก  และผู้ที่คัดค้านก็อาจทำได้ไม่ดีเท่ากับสิ่งที่สะท้อนคำพูดออกไป
          ข้อเสียของการประชุมรํฐสภาวาระแรก
         1. มีการโจมตีของฝ่ายค้านค่อนข้างรุนแรง และมักเป็นเรื่องเล็กน้อย มิใช่ปัญหาใหญ่  ซึ่งประชาชนต้อกงารให้ สส.หรือ สว. ได้มีความรู้สึกที่ไว้วางใจกัน, เชื่อใจกัน, ไม่ควรใช้คำพูดดูหมิ่น, เหยียดหยาม, หรือเสียดสีด้วยถ้อยคำในเชิงด่าทอ เพราะประชาชนที่รับฟังจากทีวีทั่วไประเทศอาจเกิดความเบื่อหน่าย   ซึ่งจะสังเกตว่าคนโดยทั่้วไปไม่ค่อยมีใครเปิดฟังการประชุมรัฐสภาเท่าที่ควร  เพราะมีอรรถรสที่เหมือนการประชุมที่ผ่านมา  ประชาชนมีความรู้สึกว่าเป็นการสูญเสียเวลาในการมานั่งฟัง เพรระขาดการเสนอแนะ หรือการมีความหวังดีต่อกันและเชื่อใจในการทำงานของรัฐบาล    ซั่งหากสังคมรัฐสภามีความไม่ไว้วางใจ หรือไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกันเช่นนี้ก็จะกลายเป็นการเป็นปฏิปักษ์อย่างไม่มีสิ้นสุด  ถึงเวลาที่รัฐสภาควรปฏิรูปพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรกันได้แกล้ว ว่าเราจะเปลี่ยนแปลงให้สภาเป้นสภาสร้างสรรค์ได้อย่างไร, ฝ่ายค้านควรจะเป็นฝ่ายค้านเชิงสร้างสรรค์อย่างไร? , ฝ่ายรัฐบาลควรจะแสดงถึงความโปร่งใส, ซื่อสัตย์ หรือแสดงความรับผิดชอบอย่างไร หรือการแสดงสปิริคหากมีการกระทำความผิดจริง    ดังนั้นฝ่ายค้านควรคำนวณว่าสมัยตนเองเป้นรัฐบาลตนเองได้ทำหน้าที่ได้ดีมีประสิทธิภาพเพียงใด หรือทำงานมีความบกพร่องมากน้อยเพียงใด  เพราะเราจะหาคนที่ทำงานบริสุทธิ์ปราศจากมลทินมัวหมองนั้น คงเป็นเรื่องในอุดมคติ เพียงแต่ทำให้การคอรัปชั่นมีน้อยลงให้มากที่สุด ดังนั้นจึงไม่อยากให้ฝายค้านเล็งผลเลิศกับนักการเมืองว่าจะต้องมีความดี,ความงาม,และความบริสุทธิ์อย่างหมดจดนั้นคงเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่มองว่าหากผลประโยชน์ส่วนใหญ่ไม่เสียหายมากนัก มีมากกว่าการสูญเสียบ้างไม่มาก ก็ถือว่าการทำงานนั้นได้รับความสำเร็จ หรือมีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล เพราะหากเราคาดหวังว่าคนต้องดีไปหมด คงต้องให้พระมาเป็นนักการเมืองเป้นแน่แท้  เพียงแต่ว่ารัฐบาลควรกำหนดนโยบายการป้องปราบคอรัป่ชั่น โดยให้ข้ารากชการระดับผู้บริหารระดับสูง ตั้งแต่อธิบดี,ผู้ว่าการรัฐวิสาหกกิจ, ปลัดกระทรวง และรวมถึงภาคเอกชนให้ความร่วมมือในการหยุดยั้งการทุจริตคอรัปชั่น  ก็จะเป็นการช่วยป้องกันได้มาก   โดยให้มีการแสดงสาบานตนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิต่อหน้าคณำะรัฐบาล ก็มีส่วนช่วยให้ป้องกันได้ในระดับหนึ่งแล้ว
             2. การสูญเสียเวลากับการใช้ถ้อยคำที่ค้านไม่สร้างสรรค์ เพราะเวลาของรัฐสภามีจำกัดควรใช้ในการให้ข้อคิด, สะกิดการระวังมากกว่าการโจมตีเพื่อทำลายภาพพจน์ฝ่ายตรงข้ามหรือหาคะแนนนิยมในทางที่ไม่สร้างสรรค์  ดังนั้นสิ่งสำคัญว่าหากเราโจมตีเรื่องใดก็ตามจะต้องมีหลักฐาน,ข้อเท็จจริง, หรือมิใช่เป็นข่่าวโคมลอย และต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจมิใช่เป็นเพราะมีความรู้สึกว่าไม่ใช่พวกเดียวกัน
             3. ประเด็นที่มีการโจมตี ไม่ตรงกับประเด็นทีรัฐสภาเปิดอภิปรายกัน หรือประชุมประเด็นถกเถียงกัน ควรกล่าวในเรื่องที่ตรงประเด็น,ตรงญัตติ   การมุ่งโจมตี่ส่วนตัว หรือโจมตีบุคคลที่ไม่อยู่ในรัฐสภาเป็นการหมิ่นเกียรติกับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในสภา เป็นการทำลายคุณค่าความเป้นมนุษย์เท่่ากับทำลายตนเอง เพราะตนเองก็เป็นมนุษย์เช่นเดี่ยวกัน   หากเราเป็น สส.ที่ดีสักวันหนึ่งความดีของท่านจะได้รับการตอบสนอง และผลงานที่ตนเองได้ทำอย่างมีประสิ่ทธิภาพ,ประสิ่ทธิผล และประหยัด รวมทั้งมี่คุณธรรมมิใช่เพียงเพราะคำพูด    ผู้คนก็จะสรรเสริญยกย่องเราเอง และเป็นที่รักของประชาชน เพราะได้ทำตนเหมือนกับรัฐบุรุษ ที่ไม่ได้มองการเลือกตั้งสมัยหน้า แต่มุ่งถึงประโยชน์ของคนร่นต่อไป
           สรุป ถึงเวลาที่รัฐสภา โดยการบริหารของรัฐบาลควรมีการปฏิรูปสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ในการเปลี่ยนแปลงวิธี่การ,บทบาท,พฤติกรรม และเป้าหมายที่นำไปสู่ความร่วมมือร่่วมใจ  ด้วยพยายามลดข้อขัดแย้งให้มากที่สุด และหาวิธีาที่จะทำงานร่วมกัน และจูงใจในการทำงานเพื่อให้รัฐสภาซึ่งเป้นความหวังของปวงชนชาวไทยได้เป็นที่พึ่งของประชาชนตลอดไป
         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง