สิ่งที่ทำให้สังคมโลกแตกแยกกัน และสิ่งที่ทำให้สังคมสามัคคี



                 

           ในการพิจารณาจากการสังเกตการณ์ความเป็นไปของทั้งโลก  เราจะพบว่าสิ่งที่ทำให้สังคมในทั่วโลกแตกแยกกัน หรือมีลักษณะที่ถดถอยลงนั้น มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้คนในสังคมแตกแยก หรือเศรษฐกิจถดถอย หรือการเมืองที่ครอบงำด้วยผลประโยชน์มีดังนี้
           การแตกทางด้านเศรษฐกิจ  พบว่าหลายประเทศทั่วโลกในแถบประเทศยุโรป และอเมริกาอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่ำย่ำแย่ และเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีปัญหาอย่างมาก  ทั้งนี้เพราะว่าอเมริกานั้นมีลักษณะต้องการเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณอย่างมหาศาลกับการผลิตอาวุธ และบางครั้งก็กระตุ้นให้คนในโลกเกิดสงครามเพื่อให้มีโอกาสในการขายอาวุธ   แต่ผู้นำของประเทศที่ค้าอาวุธหรือน้ำมันมีองค์กรบริษัทของตนเองเป็นผู้เสวยความมั่งคั่งแต่เพียงฝ่ายเดียว  และประกอบกับนายทุนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปลงทุนต่างประเทศ ทำให้เิงินทุนหลั่งไหลไปนอกประเทศ   ทำให้พื้นฐานในประเทศกลวงเนื่องจากคนรวยนำเงินไปลงทุน และประกอบกับการที่อเมริกาเน้นการซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร    ทำให้เงินทุนกระจัดกระจายหลายประเทศ  ผลพวงคือพวกเศรษฐีเอาตัวรอดได้ แต่คนชั้นกลางอยู่ในสภาพที่ตกต่ำลง เนื่องจากสหรัฐอเมริกาต้องแก้ปัญหาในการก่อหนี้สาธารณะซึ่งอยู่ในสภาพเหมือนประเทศใกล้ล้มละลายเต็มที   คนกลุ่มหนึ่งที่ร่ำรวยก็ยิ่งรวยขึ้น   ทำให้เศรษฐกิจของอเมริกาอยู่ในสภาพที่วิกฤติมาก  ประกอบกับผู้นำประเทศบางคนหากินกับการค้ายาเสพติด เช่นโคเคน,อาวุธยุทโธปกรณ์ ฯลฯ  ทำให้เงินไม่ได้หมุนเวียนในประเทศอย่างพอเพียง  ผู้ที่ลงทุนในต่างประเทศต่างก็ไม่ได้เสียภาษีให้แก่รัฐสมกับความร่ำรวย และมีการปิดบังตัวเลขกำไร  ทำให้สหรัฐไม่สามารถจะให้สวัสดิการทางสังคม เหมือนดังเช่นประเทศกรีซ และในแถบยูโรหลายประเทศก็เจอกับพิษภัยเศรษฐกิจเหมือนกัน ซึ่งจะกลายเป็นโดมิโนตาม ๆ กัน รวมทั้งจีนผืนแผ่นดินใหญ่ที่ได้ปล่อยเงินกู้ในรูปของพันธบัตร ให้กับสหรัฐอเมริกา และยุโรป เมื่อค่าของเงินตกต่ำลงย่อมกระทบต่อมูลค่าการถือครองพันธบัตรด้วย   หากจีนเร่งรัดเรื่องหนี้สินก็อาจกระเทือนต่อความสัมพันธ์ และอาจเป็นที่มาของการก่อสงคราม เพราะประเทศใหญ่อย่างอเมริกานั้นย่อมล้มไม่ได้
            การแตกทางด้านการเมือง  ประเทศพัฒนาแล้วจะมีการเมืองที่ดีมีเสถียรภาพ มีลักษณะการเมืองนิ่ง ไม่ทะเลาะแบบรายวัน   ดังเช่นประเทศไทยการวิวาทะทางการเมืองเิกิดขึ้นอย่างไม้เว้นแต่ละวัน กลายเป็นสงครามน้ำลาย  และทำให้ประชาชนคนไทยเบื่อหน่ายทางการเมือง  แต่หากเกิดความเบื่อหน่ายก็จะกลายเป็นเหยื่อของเผด็จการที่จ้องล้มอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน   การวิวาทะก็เป็นเพียงตัวบทกฎหมายที่ถกเถียงกันไม่รู้จบ  ทั้งนี้เป็นเพราะว่ารัฐธรรมนูญนั้นที่มาจากการรัฐประหารไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยทั่วไป  ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ   การเมืองไทยยังมีลักษณะไม่ยอมรับหรือให้เกียรติกับคนส่วนใหญ่  แต่ที่มาการเมืองของบทบัญญัติกลายเป็นดังอุปมา "การชิงด้ามจับทัพพี"  ดูประหนึ่งว่ารัฐธรรมนูญแอบซ่อนด้วยผลประโยชน์ทางการเมือง,เศรษฐกิจ และชนชั้น ซึ่งไม่ลงตัว  ซึ่งทางการเมืองควรจะประนีประนอม แต่ไม่ได้ทำให้ประโยชน์ของประเทศชาติเสียหาย   การที่คนเราคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเอง หรือพวกพ้องหรือความเห็นแก่ตัวเป็นที่มาของความแตกแยก และบ่อนทำลายประเทศชาติได้เป็นอย่างดี    ในประเทศพม่าเริ่มมีสีสันการเมืองดีขึ้น  หลังจากมีการกักกันอองซาน ซูจี ผู้นำพม่าที่เรียกร้องประชาธิปไตย  ซึ่งกว่าจะได้มีการเลือกตั้งกันก็ทำให้ประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก  สร้างความร้าวฉานของคนในประเทศ  จึงได้ผ่อนบรรยากาศประเทศโดยให้มีการเลือกตั้ง   แต่ก็ยังคงกีดกันออง ซานซูจี  ที่มีคะแนนเสียงท่วมท้นถึง 90 % หากให้เธอได้มีสิทธิ์ลงเลือกตั้ง   แต่ฝ่ายปฏิปักษ์กับออง ซานซูจีนั้นก็พยายามกีดกัน, กักกันไม่ให้มีบทบาททางการเมือง  โดยใ้ช้กฎหมายที่ออกโดยกลุ่มรัฐบาลทหารที่ริดรอนเสรีภาพของเธอ แต่ชาวโลกทั้งหลายประท้วง และการประชุมในเวทีโลกต่าง ๆ ได้หยิบยกประเทศพม่ามาวิพากย์วิจารณ์อย่างมาก     การแตกแยกมักจะเกิดจากความคิดทางการเมืองมีลักษณะสวนทาง หรือต่างความคิดซึ่งมีพื้นฐานของวัฒนธรรมในประเทศที่แตกต่างกัน และมีความหลากหลาย  ประเทศใดที่คนมีทักษะเข้ากันได้กับความหลากหลายก็ย่อมลดช่องว่างของความแตกแยกไปได้มากทีเดียว
              การแตกแยกทางสังคม    เมื่อสภาพเศรษฐกิจมีปัญหา แต่การเมืองยังดีอยู่นั้นก็ยังประคองตัวได้   แต่เมื่อสภาพเศรษฐกิจไปสู่วิกฤติการณ์ความแตกร้าวหรือรอยแยกทางสังคมก็ปรากฎเด่นชัด เช่นที่ประเทศอังกฤษนักเรียน,นักศึกษาที่ประสบปัญหาค่าเล่าเรียนแพง  หรือบางประเทศประสบปัญหากับการลดสวัสดิการของประชาชน  ก็ทำให้เิิกิดการลุกฮือเดินขบวนต่อต้านนโยบาย, รวมถึงการเผาเมืองที่ลิเวอร์พูลที่ก่อหวอดโดยวัยรุ่น    ในตะวันออกกลางมีการลุกฮือของสังคมที่มีความคิดต่างกันถึงขนาดก่อสงครามและไล่ผู้นำประเทศเช่นลิเบียที่ต่อต้านกัดดาฟี และลูกชายต้องถูกเนรเทศ  และในตะวันออกกลางก็กลายเป็นโดมิโนที่เกิดการลอกเลียนแบบ  แม้กระทั่งประเทศไทยก็ควรระวังอย่างยิ่งที่แนวคิดทางสังคมแตกเป็นสองขั้ว  นั่นคือแนวคิดการปกครองแบบประชาธิปไตย กับแบบดั้งเดิม ซึ่งควรจะหันหน้ามาถกเถียงกัน หรือมีที่ปรึกษาชั้นดีจากต่างประเทศหรือประเทศไทยที่แสวงหาวิธีการในการปรองดองสมานฉันท์เพื่อให้สังคมลดความขัดแย้งลงได้  และสังคมไทยยังมีลักษณะของความขัดแย้งในเรื่องรัฐธรรมนูญ, กฎหมายที่เขียนโดยชนชั้นหนึ่งกระทำต่ออีกชนชั้นหนึ่ง, นโยบายที่มีมุมมองต่างกัน, ความคิดทางการเมืองที่ต่างกัน,  ดังนั้นสังคมที่มีสิ่งที่ตรงกันข้าม คนละขั้ว ก็จำเป็นต้องนั่งถกเถียงหาข้อสรุป  แต่เราจะพบว่าเราไม่เคยมีการวิวาทะที่เปิดเผยต่อหน้าสื่อมวลชน และพูดคุยกันแบบคนไทยด้วยกัน ในการประนีประนอมผลประโยชน์โดยนำเอาชาติหรือประเทศมาก่อน มิใช่มองประโยชน์เฉพาะหน้าของตนหรือของกลุ่มตนเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องรอง      ดังนั้นการปรับทัศนคติและอุดมการณ์ทางสังคมจึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะหลักสูตรการศึกษาควรสอนในเชิงบูรนาการ มิใช่สอนแบบต่างคนต่างวิชาชีพ ถนัดไปแต่ละด้าน ก็จะทำให้คนในสังคมรู้รักสามัคคีจากการร่วมกันคิด,ร่วมกันทำ และมิใช่การเล่นพรรคเล่นพวกทำให้เกิดกลุ่มเอออ่อห่อหมก (Groupthink)    ทำให้เกิดการแบ่งกลุ่ม,แบ่งสี,แบ่งเหล่า ฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ควรล้มเลิกไปแล้วในยุคสมัยใหม่นี้
              การแตกทางภูมิศาสตร์โลก  เช่นสึนามิ, ภัยจากภูเขาไฟระเบิด,ลมพายุหมุน,ไต้ฝุ่น, แผ่นดินไหว,น้ำท่วมโลก, และธารน้ำแข็งกาแล๊คซี่ละลายอันเนื่องจากภาวะโลกร้อนที่ต่อเนื่อง   ทำให้สภาพธรรมชาติของโลกขาดความสมดุล   คนตัดไม้ทำลายป่าก็สร้างปัญหาน้ำท่วม, การสร้างพลังงานนิวเคลียร์ที่ไม่สามารถป้องกันการรั่วไหล หรือภัยธรรมชาติทำให้โรงงานพลังงานนิวเคลียร์มีปัญหา, โรงงานถ่านหินที่ทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อม    ภัยจากธรรมชาติดังกล่าวก็อาจพลิกวิกฤติเป็นโอกาสในการที่ทำให้สังคมโลกหันมาร่วมมือสามัคคีเพื่อต่อสู้กับภัยธรรมชาติที่เิกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งมีผู้ทำนายมากมายว่าโลกจะแตกในปี ค.ศ.2012 นี้เอง   ซึ่งถึงเวลาที่โลกควรกลับสามัคคี คืนความแตกกันสู่ความร่วมมือตามธรรมชาติ, คืนความโหดร้ายทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมสุดโต่งสู่ทุนนิยมยั่งยืน, คืนความโหดร้ายต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยการขจัดกิเลสของความไม่พอเพียง, คืนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับโลก, คืนโอกาสที่ดีของผู้ร่ำรวยสู่คนยากจน, คืนการปกครองที่เลวร้ายสู่การปกครองที่ดี ฯลฯ
          สรุป สิ่งนี้สะท้อนสัญญาที่พระเจ้าได้เตือนกับมนุษยโลกทั้งหลายว่าถึงเวลาที่มนุษย์เราควรหันมาให้ความสนใจเยียวยาสิ่งเลวร้ายให้กลายเป็นสิ่งดี  และใช้หลักธรรมะชนะอธรรม หากคนในโลกยังเห็นแก่ตัวกันก็จะทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ยิ่งกว่าภัยธรรมชาติ  เพราะการที่มนุษย์ยังมองเฉพาะส่วนตนมากกว่าส่วนรวม    อาจจะถึงกาลวิบัติหากมนุษย์ในโลกเราประมาทกัน

               

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง