สื่อทีวีต่าง ๆ ควรสร้างความหลากหลายโดยการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้ายุคใหม่

ปัจจุบันสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อทางทีวี, วิทยุ, และหนังสือพิมพ์ ควรสร้างมาตรฐานในการนำเสนอสื่อด้วยความเป็นกลาง และยืนหยัดบนข้อเท็จจริงให้มากที่สุด เช่นการสัมภาษณ์ในการลงพื้นที่ควรสัมภาษณ์กับบุคคลหลายกลุ่มหลายอาชีพ เพื่อให้ข้อเท็จจริงในการแสดงออกอยู่ในขอบเขตที่มองได้กว้างขวาง   หรือการจัดให้มีการอภิปราย หรือพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นควรเชิญบุคคลหน้าใหม่ ๆ บ้าง หรือการแสดงถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งเป็น ในทางวิชาการ เพราะเราจะพบว่าข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของโลกนั้นในเชิง วิทยาการมีน้อยมาก  แต่ข่าวที่เห็นจะมีแต่ภัยพิบัติธรรมชาติ, น้ำท่วม,ฯลฯ ซึ่งเป็นข่าวที่จำเป็นต้องเผยแพร่ แต่่ข่าวสารประเภทผลงานวิจัยของโลก หรือความรู้ใหม่ ๆหรือวิทยาการใหม่ ๆ รวมทั้งสารสนเทศยังไม่ค่อยมีการเผยแพร่  ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นวิสัยทัศน์ของโลก หรือแนวทางของการพัฒนาประเทศในเชิงบูรนาการ ที่สื่อมวลชนสามารถเสนอแนะแก่รัฐบาล  เพราะสื่ออยู่กับความจริงในสังคม และก้าวหน้ากว่าอาชีพอื่น ๆ แต่สื่อควรมีนักวิชาการประจำสื่อเพื่อช่วยค้นคว้าวิเคราะห์เกี่ยวกับความ เป็นไปของสังคม หรือการสร้างสรรค์ประดิษฐ์เกี่ยวกับการคิดค้นผลงานต่าง ๆ
หรือกระตุ้นให้สถาบันอุดมศึกษามีการปรับเปลี่ยนทิศทางที่ประเทศยังไม่ได้ทำ หรือยังไม่พัฒนา การนำเสนอทางออก หรือการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับระบบมหาวิทยาลัยที่ยังขาดประสิทธิภาพในการ จัดการเรียนการสอน หรือการเอาใจใส่ต่อการทำงานในระบบมหาวิทยาลัยเพื่อกระตุ้น และส่งเสริมแรงจูงใจให้กับครูอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่สังคมไทยยังรับรู้น้อย มาก  การเชิญวิทยากรมาพูดมักจะเป็นหน้าเดิม ๆ ไม่ค่อยมีการเชิญคนหน้าตาใหม่ ๆ หรือคนรุ่นใหม่ มาแสดงออกหรือแสดงความเห็น   นอกจากนี้สื่อไม่ควรมีอคติทางการเมืองเช่นกลายเป็นสื่อเลือกข้าง หรือเอนเอียงพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด แต่ควรแสดงออกในลักษณะที่สร้างสรรค์ในลักษณะช่วยกันพัฒนาประเทฅชาติ แต่ไม่ควรส่งเสริมภาพลักษณ์ของบุคคลที่ทำให้เกิดความวุ่นวายสับสนในทางการ เมือง เว้นเสียแต่ว่าต้องการนำเสนอความจริง  สื่อที่ดีควรเป็นสื่อสีขาว ไม่ใช่สื่อสีเทา ทำให้ผู้รับฟังสื่อเกิดความรู้สึกว่าไม่เป็นกลาง และสื่อไม่ได้นำ้ข้อเท็จจริงมาพูด หรือเชื่อแหล่งข่าวมากเกินไป   ดังนั้นจึงปรารถนาให้สื่อได้นำเสนอที่เป็นกลาง, ยึดถือข้อเท็จจริงแบบวิทยาศาสตร์, รักษาความถูกต้องของบ้านเมือง และความเป็นธรรม และเป็นสื่อที่ให้ความสำคัญกับภาคประชาชน ดังนั้นการบรรจุบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับสื่อต้องเป็นคนทันสมัย, ทันโลก และรู้เท่าทันกับสิ่งเลวร้ายไม่ว่าทุกกรณี จึงจะเป็นสื่อที่มีคุณภาพ และครองใจประชาชน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง