ปัญหาและสิ่งท้าทายผู้ประกอบการปัจจุบัน


         สิ่งที่ผู้ประกอบการกังวลเกี่ยวกับอนาคตของการประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ
ขนาดเล็กที่เริ่มต้นประกอบธุรกิจ ซึ่งคาดว่าจะมีปัญหาที่รัฐบาลควรนำไปแก้ปัญหาซึ่งเป็นเรื่องท้าทายของผู้ประกอบรุ่นบุกเบิก หรือผู้ประกอบการที่ได้ล้มเลิกไปเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา  ซี่งก่อนที่จะพูดถึงปัญหา  เรามาทำความรู้จักกับความหมายของผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ซึ่งตามความหมายของนักวิชาการที่ชื่อว่าชาร์มา และคริสแมนได้นิยามผู้ประกอบการ "คือบุคคลที่ปฏิบัติงานได้อย่างอิสระ หรือในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการ เป็นผู้ที่ลงทุนรายใหม่ หรือมีการพัฒนานวัตกรรมและเสี่ยงต่อการก้าวเข้าสู่ผู้ประกอบการในตลาดแข่งขัน" การตีความหมายมองได้หลายทัศนะซึ่งทำให้ได้รับคุณสมบัิติที่ทำให้บุคคลที่เป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ กับผู้ประกอบการที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญของผู้ประกอบที่ก้าวเข้าสู่การลงทุนนั้นจะมีปัจจัยที่เป็นปัญหาในการก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการที่ยืนหยัดได้ในก้าวแรกของการลงทุน  การปฏิบัิติการของบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการประกอบด้วยองค์ประกอบของการปฏิบัติงานที่สำคัญ 3 ประการได้แก่ ประการแรกการริเริ่มสร้างแผนธุรกิจ และการต่อยอดเชิงนวัตกรรม  ประการที่สองเป็นคนกล้าเสี่ยงอย่างสมเหตุสมผล และประการสุดท้ายมีความสามารถในการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการที่มีความมั่นใจว่าจะบรรลุความสำเร็จ  สำหรับปัญหาที่เผชิญหน้าผู้ประกอบการในยุคปัจจุบันมีดังนี้
         1. การไร้เสถียรภาพทางการเมืองที่ต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี ทำให้ผู้ประกอบการที่ผ่านมาประสบปัญหาการขาดทุน และประกอบกับต้นทุนสินค้าที่ราคาแพงปรกติทำให้ผู้ประกอบการที่อยู่รอดได้พอที่จะทรงตัวได้ เว้นแต่ผู้ประกอบการที่แข็งแรงและมีทุนประกอบการเข้มแข็งเท่านั้นจึงจะอยู่รอดได้ และการที่การเมืองไม่สงบทำให้ขาดบรรยากาศการลงทุนทั้งผู้ประกอบการจากภายในประเทศ และต่างประเทศ
         2. ปัญหาเงินตึงตัว ทำให้ขาดสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ เช่นธนาคารเคร่งครัดกับการปล่อยเงินเพราะไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาพรวม การปล่อยสินเชื่อมักจะเป็นลูกค้ารายเก่า และมีความมั่นคงเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการรายใหม่จะได้รับการสนับสนุนน้อยกว่า  อีกทั้งราคาสินค้าและค่าของเงินลดลงนำไปสู่เงินเฟ้ออันเนื่องจากราคาน้ำมันและแก๊สสูงขึ้น เป็นผลทำให้ต้นสินค้าราคาแพงขึ้นส่งผลกระทบต่อการกำหนดราคาในตลาดมีความผันผวนไม่แน่นอน
         3. ข้อมูลข่าวสารมีไม่พอเพียงต่อการวิเคราะห์, และมีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพื่อช่วยให้มีการวางแผนและพยากรณ์ธุรกิจได้ดี ทำให้ผู้ประกอบการขาดความเข้าใจในกฎอุปสงค์และอุปทาน หรือความต้องการของผู้ซื้อ และความต้องการของผู้ขายซึ่งมีผลกระทบทั้งโดยตรงและทางอ้อมต่อพฤติรรมผู้บริโภค (จุดนี้ผู้ประกอบการไม่สามารถกำหนดสต๊อคสินค้าได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง)
         4. ปัญหาที่ผู้ประกอบการขาดแคลนเงินทุน หรือเงินทุนไม่เพียงพอในการผลักดันธุรกิจ ทำให้บางรายต้องขาดทุนและถอนตัวจากการเป็นผู้ประกอบการ เมื่อขาดเงินทุนก็ไม่สามารถขยายกิจการ
หรือไม่สามารถตอบสนองต่อลูกค้าที่อยู่สถานการณ์ไม่แน่นอน
         5. มีิสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นโครงสร้างขั้นพื้นฐานไม่เพียงพอ ที่อำนวยความสะดวกต่อการประกอบการธุรกิจไม่ครบครัน ทำให้การดำเนินธุรกิจติดขัดไม่สะดวก
         6. ไม่ได้ัรับการสนับสนุน หรือได้รับแรงจูงใจจากรัฐบาล และจากการดำเนินของรัฐบาลที่ผ่านมาการสนับสนุนจากภาครัฐมีน้อย และแต่สนับสนุนสถาบันการเงินให้ดำเนินการกันเอง โดยรัฐไม่ไ้ด้เข้าแทรกแซงอย่างเหมาะสม ทำให้ปริมาณการสร้างผู้ประกอบการไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่กลับลดลง
         7. ผุ้ประกอบการรายใหม่ขนาดเล็กยังขาดประสบการณ์กับการแก้ปัญหา และกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจที่ยังไม่ชำนาญ ประกอบกับกับเผชิญปัญหาการแข่งขันธุรกิจที่มีมากขึ้น และรวมทั้งขาดความรู้ในเชิงการจัดการ
         8. ความสามารถในการจัดการแก้ปัญหาภาครัฐต่อการสร้างความสงบสุขของประเทศไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะทำให้มีการกระตุ้นและสร้างบรรยากาศในการสร้างสมานฉันท์ปรองดองแก่ประชาชนทุกฝ่ายให้เป็นที่พอใจ  แต่มีลักษณะที่คนกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ได้ประโยชน์ อีกกลุ่มเป็นผู้เสียประโยชน์
          ถึงเวลาที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องเข้ามาเยียวยาแก้ปัญหา ใช้หลักสงบสยบความเคลื่อนไหว และปรับสภาพชัยภูมิศาสตร์ของทำเนียบรัฐบาล และที่ทำการพรรคให้ดีเสียก่อน รวมทั้งการปรับชัยภูมิศาสตร์ของประเทศ เพื่อพลิกสถานการณ์ประเทศให้ดีขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง