ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนา

          พวกเราส่วนใหญ่รู้ว่าความสำเร็จในการจัดการภาครัฐ และธุรกิจจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำที่แข็งแกร่ง และคุณสมบัติที่แฝงเร้นที่จำเป็นสำหรับบุคคลที่่เป็นผู้นำที่ดีที่ให้คำอธิบายโดย นายไอร์แลนด์ และฮิตต์ ในบทสรุปว่าภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์นั้นหมายถึงวิสัยทัศน์ และทิศทางสำหรับความเติบโตและความสำเร็จขององค์การ  ดังคำกล่าวที่ดูดีโดยอีริค ฮอฟเฟอร์ที่ว่า "ผู้นำจะต้องมีการฝึกฝนและเป็นผู้แสวงหาความจริง อย่างไรก็ดีต้องสามารถกล่าวเป็นภาษาของผู้มีวิสัยทัศน์และผู้มีอุดมคติ ฮิตต์,ไอร์แลนด์ และฮอสคิสสัน (1995) ได้มีการพัฒนาแบบจำลองภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ซึ่งได้แก่องค์ประกอบสำคัญ 6 ประการ ได้แก่
       1. การพิจารณาทิศทางกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงวิสัยระยะยาว  วิสัยทัศน์หมายถึงข้อความเกี่ยวกับสิ่งที่องค์การต้องการจะให้เป็นไป ควรสะท้อนเกี่ยวกับสมาชิกทั้งหมดขององค์การที่ต้องการในอนาคต และยังช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจ, มีความตื่นเต้น และเป็นส่วนหนึ่งของการทำสิ่งที่มากกว่าที่เป็นอยู่ ตัวอย่างเช่นวิสัยทัศน์ของบิลเกตต์ที่ว่า "ทุกครัวเรือนในโลก จะต้องมีคอมพิวเตอร์ไมโครซอฟฟ์เชิงปฏิบัติการ 1 เครื่อง" ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการผลักดันให้พนักงานของบริษัทไมโครซอฟท์มีความรู้สึกท้าทาย และทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่
       หากเรามีเป้าหมายบางประการและวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตแล้ว เราก็สามารถวางแผนกลยุทธ์เพื่อตอบสนองตามเป้าหมายที่ได้ระบุไว้  หากบุคคลากรเข้าใจวิสัยทัศน์บริษัท และมีส่วนร่วมในการปรับปรงุบริษัทเล้ว  พวกเขาจะทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
       2.การผลักดันและรักษาสมรรถนะแก่นแกน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในองค์การ และมีส่วนร่วมในการหาวิธีประสานงานในทักษะการผลิตที่แตกต่างกัน และบูรนาการตามกระแสเทคโนโลยีที่หลากหลาย โดยทั่วไปสมรรถนะแก่นแกนที่สำคัญมากที่สุดเป็นพื้นฐานมาจากทรัพยากรที่ไม่สามารถสัมผัสได้ ซึ่งคู่แข่งมองไม่เห็นเพราะว่าพวกเขามีความสัมพันธ์กับความรู้หรือทักษะของบุคลากร ดังที่บริษัทฮินดาลโก้เชื่อว่า "บริษัทของเราเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โดยพลังจูงใจเกิดขึ้นจากกลุ่มบุคคลที่มีสมรรถนะ และมีทักษะที่มาจากบุคลากรระดับล่างจนถึงเจ้าหน้าที่สำนักงาน"
       3.การปรับปรุงทุนมนุษย์  เป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดในทุกองค์การ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก,ขนาดใหญ่ เป็นบริษัทตั้งใหม่และบริษัทที่เปิดมานานแล้ว ทุนมนุษย์หมายถึงความรู้,ทักษะ และสมรรถภาพของบุคลากร ความสามารถในการจัดการทุนมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดถือเป็นทักษะของผู้นำ  โปรแกรมการฝึกอบรมและพัฒนาจะต้องสามารถสร้างผู้บริหารที่เป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ได้สำเร็จ ตามที่ฮิตต์กล่าวไว้ว่า "บริษัทที่มีการลงทุนที่สูงกว่าในการนำประสบการณ์ทุนมนุษย์ไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับประสบการณ์ทุนมนุษย์ในผลการปฏิบัติงานระดับสูง   ผู้นำเชิงกลยุทธ์รู้ถึงประเภทความรู้และทักษะตามที่ต้องการเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของบริษัท   สมรรถนะแก่นแกนไม่สามารถพัฒนาได้หากปราศจากการพัฒนาทุนมนุษย์
       4. การดำรงรักษาวัฒนธรรมทางธุรกิจที่ี ประกอบด้วยชุดของความซับซ้อนเกี่ยวกับอุดมคติที่มีการแลกเปลี่ยน,สัญญาลักขณ์ และค่านิยมที่มีอิทธิพลต่อแนวทางบริษัทที่นำมาใช้กับองค์การธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเป็นเรื่องยุ่งยางมากกว่าการรักษาวัฒนธรรม บุคลากรทั้งหมดของบริษัทควรแบ่งปันค่าินิยมร่วมกัน การกระทำเช่นนี้ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมของความร่วมมือในองค์การ  ฝ่ายจัดการระดับสูงควรจะเป็นพันธมิตรกับค่านิยมที่เป็นแก่นแกนของบริษัท และส่งเสริมบุคลากรในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี
      5. การมุ่งเน้นการปฏิบัติงานที่มีจริยธรรม ภายในองค์การเป็นองค์ประกอบสำคัญของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์  จริยธรรมอธิบายถึงบรรทัดฐานของสิ่งที่เรียกว่า "อย่าทำสิ่งที่นำไปสู่หายนะ" จริยธรรมเป็นแนวปฏิบัติในการกระทำของปัจเจกชนที่ขึ้นอยู่กับหลักการที่มีอิทธิพลในระยะยาวซึ่งขอบเขตอย่งนอกเหนือองค์การ พฤติกรรมเชิงจริยธรรมเป็นสิ่งดีำสำหรับธุรกิจทางอ้อมในฐานะที่เพิ่มความพึงพอใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และในทางกลับกันประสิทธิภาพที่มีผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการทำกำไร ตามทัศนะของเบอร์รอน พี เป็นต้น
      6. การกำหนดการควบคุมเชิงกลยุทธ์ หมายถึงความเข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ผู้นำธุรกิจที่นำไปใช้ในทางปฏิบัิติภายในหน่วยธุรกิจที่แตกต่างกัน   การใช้เกี่ยวกับการควบคุมกลยุทธ์ที่ดีโดยผู้นำธุรกิจที่มีลักษณะบูรนาการด้วยความมีอิสระอย่างเหมาะสมสำหรับหน่วยธุรกิจโดยที่องค์การได้เปรียบเชิงแข่งขันในตลาดที่มุ่งหมาย  โดยสรุปภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์มีบทบาทอย่างสำคัญในเส้นทางความสำเร็จขององค์์การ   บทบาทสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางสังคมซึ่งเป็นผลประโยชน์สำหรับวิสัยทัศน์ในระยะยาวที่ไม่สามารถสัมผัสได้ของบริษัท การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ได้แก่บุคลากร,ลูกค้า,ผู้จัดหาสินค้า ฯลฯ) จะเป็นการเพิ่มมูลค่าสำหรับผลผลิต และความเติบโตของบริษัท
       7. การประเมินเปรียบเทียบระหว่างองค์การในลักษณะองค์การว่า ผู้บริหารมีการใช้กลยุทธ์มากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง มีกลยุทธ์ใดที่นำไปใช้ประสบความสำเร็จ ภายใต้สถานการณ์ใด เพราะกลยุทธ์สามารถปรับเปลี่ยยได้ตลอดเวลา  ดังนั้นผู้บริหารระดับสูงจะเป็นโค้ชคอยชี้แนะ และประเมินกลยุทธ์แก่ผู้บริหารระดับรอง ๆ ลงมา
        โดยสรุปในปัจจุบันภาครัฐเองก็มีการจัดการเชิงยุทธศาสตร์นำมาใช้ โดยเฉพาะระดับคณะรัฐมนตรีควรมีการวางกรอบยุทธศาสตร์ และแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จ และองค์กรภาคธุรกิจในปัจจุบันของไทยยังมีการจัดการเชิงกลยุทธ์ไม่มากนัก ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารมีเวลาวางกลยุทธ์เพื่อพัฒนาองค์การให้เจริญยิ่งขึ้น
shed on February 16, 2011 by cakeshav in Management

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง